กรมศิลปากร
The Fine Arts Department | |
![]() | |
![]() อาคารกรมศิลปากร | |
ภาพรวมกรม | |
---|---|
ก่อตั้ง | 27 มีนาคม พ.ศ. 2454 |
กรมก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ |
|
บุคลากร | 2,504 คน (พ.ศ. 2565)[1] |
งบประมาณต่อปี | 2,624,521,700 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารกรม |
|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงวัฒนธรรม |
ลูกสังกัดกรม | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
กรมศิลปากร (อังกฤษ: The Fine Arts Department) เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีภารกิจคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ จัดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาติ
ประวัติ
ในอดีตก่อนพุทธศักราช 2454 ประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เกี่ยวกับมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ บรรดาโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม การดนตรี นาฏศิลป์ งานช่างประณีตศิลป์ หอสมุด จดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์ ฯลฯ กิจการดังกล่าวจึงกระจายการจัดการไว้ตามหน่วยงานต่างๆ ทำให้ราชการบางอย่างยังไม่เป็นระเบียบอันดี หรือมีงานที่ก้าวก่ายกันอยู่
ด้วยเหตุนี้ ในวันที่ 27 มีนาคม 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนกิจการของช่างมหาดเล็กจากกระทรวงวัง และกรมพิพิธภัณฑ์ จากกระทรวงธรรมการ มารวมกันตั้งเป็น “กรมศิลปากร” โดยให้มีผู้บัญชาการขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ใดในกระทรวงหรือกรมใดเป็นผู้บัญชาการเมื่อใดก็ได้ สุดแต่จะทรงพระราชดำริเห็นเหมาะสม ทั้งนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ทรงเป็นผู้บัญชาการกรมศิลปากรพระองค์แรก
จากพระราชญาณทัศนะของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของมรดกศิลปวัฒนธรรม อันเป็นมูลฐานแสดงให้เห็นถึงความเจริญของชาติ จึงก่อกำเนิดเป็น “กรมศิลปากร” ซึ่งดำเนินภารกิจดูแลมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติมาจนถึงปัจจุบัน
- พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้โอนกิจการของช่างมหาดเล็ก จากกระทรวงวัง และกรมพิพิธภัณฑ์ จากกระทรวงธรรมการ มาจัดตั้งเป็น "กรมศิลปากร"
- พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนงานพิพิธภัณฑ์ ไปอยู่ในความควบคุมดูแลของ กรรมการหอพระสมุดฯ และได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งราชบัณฑิตยสภา เรียกว่า "ศิลปากรสถาน" ดังนั้น กรมศิลปากร จึงถูกยกเลิกไป
- พ.ศ. 2476 มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกรมศิลปากร ขึ้นมาใหม่ โดยสังกัดกระทรวงธรรมการ และมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ส่วนราชการภายใน และย้ายสังกัด เพื่อความเหมาะสมหลายครั้ง
- พ.ศ. 2501 มีพระราชบัญญัติ โอนกรมศิลปากร มาสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ และต่อมาได้โอนมาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
บทบาท และหน้าที่
กรมศิลปากรเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ในการสร้างสรรค์ บำรุงรักษา อนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปวิทยาการและวัฒนธรรมของชาติในด้านศิลปกรรม พิพิธภัณฑ์ โบราณคดีและโบราณสถาน วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ รวมทั้งนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ คีตศิลป์ สถาปัตยกรรม และช่างศิลป์ ให้คงอยู่อย่างมั่นคงถาวร
- ปกป้อง คุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมธำรงจารีตประเพณี พระราชพิธี และรัฐพิธีให้คงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติเพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศไทย
- สืบทอด สร้างสรรค์ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
- ปรับเปลี่ยนระบบและกลไกการบริหารจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรม
- บริหารจัดการองค์ความรู้และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยว
- จัดการศึกษาเฉพาะด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์ สืบทอดและพัฒนาอย่างยั่งยืน
การแบ่งส่วนราชการ
พ.ศ. 2545 มีการปฏิรูประบบราชการของประเทศครั้งใหญ่ กรมศิลปากรย้ายสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการไปสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม และ แบ่งส่วนราชการเป็น 9 หน่วยงาน คือ สำนักเลขานุการกรม สำนักการสังคีต สำนักโบราณคดี สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ สำนักสถาปัตยกรรมและหัตถศิลป์ ต่อมา พ.ศ. 2548 แบ่งส่วนราชการเป็น 10 หน่วยงาน โดยแยกเป็น สำนักสถาปัตยกรรม และ สำนักช่างสิบหมู่
พ.ศ. 2549 กรมศิลปากรปรับปรุงโครงสร้างและการบริหารของสำนักงานศิลปากร ที่ 1-15 จากหน่วยงานในสังกัดสำนักโบราณคดี เป็นราชการส่วนภูมิภาคขึ้นตรงต่อกรมศิลปากร เรียกว่า "สำนักศิลปากรที่ 1-15"
พ.ศ. 2550 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป และ วิทยาลัยช่างศิลป แยกไปขึ้นตรงต่อกระทรวงวัฒนธรรม
พ.ศ. 2557 กระทรวงวัฒนธรรม ออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากรใหม่ โดยแยกกลุ่มโบราณคดีใต้น้ำออกจากสำนักโบราณคดี ยกขึ้นเป็น กองโบราณคดีใต้น้ำ แล้วเปลี่ยนสำนักโบราณคดีเป็นกองโบราณคดี พร้อมทั้งแยกงานเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม
พ.ศ. 2560 กระทรวงวัฒนธรรมออกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากรใหม่โดยยุบรวมปรับลดส่วนราชการส่วนภูมิภาคจากสำนักศิลปากรที่ 1-15 เป็น สำนักศิลปากรที่ 1-12
หน่วยงานในสังกัด
สำนักบริหารกลาง
เป็นหน่วยงานกลางที่ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไปของกรม
กองโบราณคดี
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า วิจัยด้านโบราณคดี ตลอดจนการอนุรักษ์และบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน
กองโบราณคดีใต้น้ำ
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า วิจัยด้านโบราณคดีใต้น้ำ ทั้งทางทะเลและแหล่งน้ำในแผ่นดิน
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมรดกทางศิลปวัฒนธรรม
สำนักการสังคีต
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ตลอดจนอนุรักษ์และสืบทอดด้านศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์ของชาติ มีหน่วยงานในสังกัดที่สำคัญ ได้แก่
- โรงละครแห่งชาติ
- โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี
- โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนางานด้านช่างศิลปกรรมของชาติ ตลอดจนการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และออกแบบงานช่างฝีมือ
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเกี่ยวกับโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ตลอดจนงานอนุรักษ์ สงวนรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และบริหารงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมีหน้าที่บริหารจัดการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก จังหวัดปทุมธานี ส่วนพิพิธภัณฑถานแห่งชาติแห่งอื่นจะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของสำนักศิลปากรในแต่ละท้องที่ โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในสังกัดกรมศิลปากรมีดังนี้
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภาคกลาง
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ริมคลองบางกอกน้อย แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ในบริเวณกรมศิลปากร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น บริเวณรัฐสภา ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร บริเวณวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภาคเหนือ
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระพุทธชินราช บริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภาคใต้
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดมัชณิมาวาส อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า วิจัยงานวิชาการด้านภาษา วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ และจารีตประเพณี ตลอดจนการแปล เรียบเรียง ตรวจสอบและชำระเอกสารดังกล่าวออกเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ
สำนักสถาปัตยกรรม
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และมัณฑนศิลป์ รวมไปถึงงานสำรวจ การประมาณราคา และควบคุมงานก่อสร้างตามที่ได้รับมอบหมาย
สำนักหอสมุดแห่งชาติ
เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจ รวบรวม จัดเก็บและสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เอกสารโบราณ เป็นต้น รวมไปถึงการให้บริการทรัพยากรดังกล่าวแก่ประชาชน นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการศึกษาวิจัยการดำเนินงานด้านบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ และเทคโนโลยีสารนิเทศ
สำหรับการบริหารจัดการของสำนักหอสมุดแห่งชาติ มีหอสมุดแห่งชาติในสังกัด ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร ส่วนหอสมุดแห่งชาติแห่งอื่นจะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของสำนักศิลปากรในแต่ละท้องที่ โดยหอสมุดแห่งชาติในสังกัดกรมศิลปากรมีดังนี้
- หอสมุดแห่งชาติ
- หอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา[3]
- หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา
- หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ
- หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี[4]
- หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
- หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ตรัง
- หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
- หอสมุดแห่งชาติชลบุรี
- หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช
- หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี
- หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
- หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
- ศูนย์นราธิปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์
- ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิริธร
- หอวชิราวุธานุสรณ์
- หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
- หอสมุดดำรงราชานุภาพ
- หอสมุดปิยมหาราชรฦก
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เชียงใหม่ พื้นที่รับผิดชอบ : เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก และนครสวรรค์
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตรัง พื้นที่รับผิดชอบ : ตรัง กระบี่ ภูเก็ต พังงา และระนอง
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ยะลา พื้นที่รับผิดชอบ : ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสตูล
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สงขลา พื้นที่รับผิดชอบ : สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช สตูล สุราษฎร์ธานี และชุมพร
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา พื้นที่รับผิดชอบ : พะเยา เชียงราย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร และเพชรบูรณ์
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี พื้นที่รับผิดชอบ : อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่รับผิดชอบ : สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดจันทบุรี พื้นที่รับผิดชอบ : จันทบุรี ตราด ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว
- หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทำหน้าที่รวบรวมเก็บรักษาเอกสารและสิ่งของที่เนื่องในภารกิจของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
- หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ทำหน้าที่รวบรวมเก็บรักษาเอกสารรวมทั้งการจัดนิทรรศการประวัติผลงานและสิ่งของที่เนื่องในภารกิจของนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งอยู่ที่บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี (ดอนย่างแย้)
สำนักศิลปากร
เป็นหน่วยงานของกรมศิลปากรที่มีหน้าที่บริหารจัดการหน่วยงานของกรมศิลปากรที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ รวม 12 สำนัก ดังนี้
อุทยานประวัติศาสตร์
อุทยานประวัติศาสตร์ หมายถึง บริเวณสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี โดยมีความหมายครอบคลุมทั้งโบราณสถาน และสภาพแวดล้อมหรือภูมิทัศน์ที่เกี่ยวเนื่องกับโบราณสถาน โดยอุทยานประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรจะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของสำนักศิลปากรในแต่ละท้องที่
- อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
- อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
- อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
- อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
- อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
- อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
- อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
- อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
- อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
- อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
ส่วนเกี่ยวข้อง
อ้างอิง
- ↑ กรมศิลปากร, รายงานประจำปี 2565 กรมศิลปากร, สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๐, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ "หอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา".
- ↑ "หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร". www.nlt.go.th.
แหล่งข้อมูลอื่น
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4c/Wikisource-logo.svg/38px-Wikisource-logo.svg.png)