กระบวนการระงับข้อพิพาทนอกศาล

กระบวนการระงับข้อพิพาทนอกศาล หรือ การระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative dispute resolution - ADR) หมายถึง การระงับข้อพิพาทโดยไม่ใช้วิธีฟ้องศาล ซึ่งโดยหลักๆจะแบ่งได้ 4 วิธีได้แก่ การเจรจา (negotiation) การไกล่เกลี่ย (mediation) การประนีประนอมข้อพิพาท (conciliation) และ การใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ (arbitration)

กระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือกเจริญขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1970 - ค.ศ. 1980 ในสหรัฐอเมริกาอันเนื่องมาจากความต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ต้องเสียค่าทนายแพงเพราะการพิจารณาแบบกล่าวหาและการคิดว่าความตามสัดส่วนของทุนทรัพย์[1]


ความหมายโดยย่อของการระงับข้อพิพาท

ทางเลือกทั้ง 4 แบบข้างต้นมีดังนี้

  • การเจรจา (negotiation) คู่กรณียินยอมที่จะหันหน้ามาเจรจากันเองโดยไม่มีบุคคลที่ 3 มาเกี่ยวข้องทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา แต่หากการเจรจาไม่ลงตัวก็อาจทำให้หาข้อสรุปไม่ได้ ล่าช้า หากจะตกลงทำการเจรจากันอาจต้องกำหนดเวลาให้แน่นอนว่าจะต้องเจรจากันให้เสร็จสิ้นเมื่อใด

ข้อดีอีกประการหนึ่งของแนวทางนี้ก็คือ สามารถรักษาความลับระหว่างคู่เจรจาไว้ได้เนื่องจากไม่มีบุคคลที่สามมาเกี่ยวข้อง

  • การไกล่เกลี่ย (mediation) มีบุคคลที่ 3 มาเกี่ยวข้องคือ ผู้ไกล่เกลี่ย (mediator)
  • การประนีประนอมข้อพิพาท (conciliation)
  • การอนุญาโตตุลาการ (arbitration)

อ้างอิง

  1. พจนานุกรมการอนุญาโตตุลาการ, พิชัยศักดิ์ หรยางกูร