กวางดาว

กวางดาว
ตัวผู้
ตัวเมียและลูก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Cervidae
วงศ์ย่อย: Cervinae
สกุล: Axis
(Hamilton-Smith, 1827)
สปีชีส์: A.  axis
ชื่อทวินาม
Axis axis
(Erxleben, 1777)
สปีชีส์ย่อย
  • Axis axis axis
  • Axis axis ceylonensis
การกระจายพันธุ์

กวางดาว หรือ กวางทอง (อังกฤษ: Chital, Cheetal, Spotted deer, Axis deer)[2] เป็นกวางที่มีถิ่นอาศัยในพื้นที่ป่าของประเทศศรีลังกา, ประเทศเนปาล, ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศภูฏาน, ประเทศอินเดีย, และมีประชากรกลุ่มเล็ก ๆ ในประเทศปากีสถาน กวางดาวมีความสูงจรดหัวไหล่ประมาณ 90 ซม. หนักประมาณ 85 กก. ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย มีช่วงอายุประมาณ 8–14 ปี

ลักษณะ

กวางดาวมีขนสีน้ำตาลแกมเหลืองออกสีชมพู มีจุดสีขาว ส่วนท้องมีสีขาว เขามีสามกิ่ง โค้งคล้ายพิณ มีการผลัดเขาทุกปี ยาวได้ถึง 75 ซม. (2.5 ฟุต) เมื่อเทียบกับเนื้อทรายซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดแล้ว กวางดาวถูกสร้างมาให้เหมาะสำหรับการวิ่งมากกว่า และมีสัณฐานที่พัฒนาสูงกว่าคือปลายเขาสั้นตามส่วน และกล่องหู มีขนาดเล็กกว่า มีโพรงจมูกขนาดใหญ่ ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย สูงประมาณ 90 ซm (35 in) จรดไหล่ หัวถึงลำตัวยาว 170 ซm (67 in) หางยาว 20 ซม. (7.9 นิ้ว) หนัก 30 ถึง 75 กก. (66 ถึง 170 ปอนด์) ตัวเมียหนัก 25 ถึง 45 กก. (55 ถึง 99 ปอนด์)[3] ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่มากๆ หนักได้ถึง 98 ถึง 110 กก. (220 ถึง 240 ปอนด์)[4] มีช่วงชีวิต 8–14 ปี

กวางดาวมีการวิวัฒต่อมกลิ่นบริเวณดวงตาสูง ซึ่งมีขนแข็งที่คล้ายกิ่งไม้เล็กๆ[5] รวมทั้งต่อมกลิ่นที่หลังขา ตัวผู้มีต่อมกลิ่นบริเวณดวงตาใหญ่กว่าตัวเมียและเปิดออกบ่อยครั้งเมื่อตอบสนองสิ่งเร้า[6][7]

การกระจายพันธุ์

กวางดาวมีการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย ตลอดไปจนถึงเนปาล ภูฏาน บังกลาเทศ และศรีลังกา[8] ทางตะวันตกสิ้นสุดที่ทางตะวันออกของรัฐราชสถานและรัฐคุชราต ทางเหนือสิ้นสุดไปตามแนวเข็มขัดบาบาร์-เทไร ตีนเขาของเทือกเขาหิมาลัยและจากรัฐอุตตรประเทศและรัฐอุตตราขัณฑ์ผ่านไปถึงเนปาล ตะวันตกเฉียงเหนือของเบงกอลและรัฐสิกขิม และต่อจากนั้นไปทางตะวันตกของรัฐอัสสัมและป่าชุมชนของประเทศภูฏานที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 1,100 เมตร[1] จุดสิ้นสุดทางตะวันออกนั้น ผ่านทางตะวันตกของรัฐอัสสัม[9][10] ถึงป่าซันเดอร์แบน ของเบงกอลตะวันตกและบังกลาเทศ[1] ทางใต้สิ้นสุดที่ศรีลังกา[11] มีการพบกวางดาวเป็นช่วง ๆ ตามพื้นที่ป่าที่วางตัวตลอดแหลมอินเดีย[12] แต่ปัจจุบันพบได้แค่ในป่าซันเดอร์แบนในบังกลาเทศเท่านั้น ส่วนพื้นอื่นได้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว[1]

ในที่เลี้ยง

กวางดาวถือเป็นสัตว์ชนิดแรกที่มีจัดแสดงในสวนสัตว์ดุสิต หรือ เขาดินวนา สวนสัตว์แห่งแรกในประเทศไทย[13]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Duckworth, J.W., Kumar, N.S., Anwarul Islam, Md., Hem Sagar Baral & Timmins, R.J. (2008). Axis axis. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 8 April 2009. Database entry includes a brief justification of why this species is of least concern.
  2. Grubb, Peter (16 November 2005). Wilson, Don E., and Reeder, DeeAnn M., eds. ed. Mammal Species of the World (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2 vols. (2142 pp.). ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494
  3. Axis Deer (Cervus axis) เก็บถาวร 2017-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Nsrl.ttu.edu. Retrieved on 2012-08-23.
  4. Preliminary study of the behavior and ecology of axis deer on Maui, Hawaii เก็บถาวร 2023-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Hear.org. Retrieved on 2012-08-23.
  5. Deer of the world: their evolution, behaviour, and ecology. Valerius Geist. Stackpole Books. 1998. Pg. 58-73.
  6. Groves, C. P. and P. Grubb (1987). "Relationships of living deer". pp. 21–59 in Biology and management of the Cervidae: a conference held at the Conservation and Research Center, National Zoological Park, Smithsonian Institution, Front Royal, Virginia, August 1–5, 1982. Smithsonian Institution Press ISBN 0874749808.
  7. Müller-Schwarze, D (1987). "Evolution of cervid olfactory communication". pp. 223–234, in Biology and management of the Cervidae: a conference held at the Conservation and Research Center, National Zoological Park, Smithsonian Institution, Front Royal, Virginia, August 1–5, 1982. Smithsonian Institution Press ISBN 0874749808.
  8. Grubb, P. 2005. Artiodactyla. In: D. E. Wilson and D. M. Reeder (eds), Mammal Species of the World. A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed), pp. 637–722. Johns Hopkins University Press, Baltimore, USA.
  9. Gee, E.P. (1964). The wild life of India, Collins, London
  10. Choudhury, A.U. (1994). Checklist of the mammals of Assam. Gibbon Books, Guwahati, India. ISBN 81-900866-0-X.
  11. The Deer and the Tiger: A Study of Wildlife in India. George Schaller. University Of Chicago Press. 1967. Pg. 37-92. (Midway Reprint)
  12. Sankar, K. and Acharya, B. 2004. Chital (Axis axis (Erxleben, 1777)). ENVIS Bulletin (Wildlife Institute of India, Dehra Dun) 7: 171–180.
  13. "สารเขาดินวนา @ Dusit Zoo" (PDF). เว็บไซต์สวนสัตว์ดุสิต. March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 3 July 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Axis axis ที่วิกิสปีชีส์