การกลืนกลายทางวัฒนธรรม

การกลืนกลายทางวัฒนธรรม[1] หรือ การผสานกลืนทางวัฒนธรรม (อังกฤษ: cultural assimilation) คือการโต้ตอบทางการเมืองต่อสถานการณ์ในด้านที่เกี่ยวกับความแตกต่างของชาติพันธุ์ ที่เป็นนโยบายในการส่งเสริมการกลืนชนกลุ่มน้อยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของชนหมู่มาก การผสานทางวัฒนธรรมเป็นปรัชญาที่ตรงกันข้ามกับปรัชญาของการยอมรับความแตกต่าง (affirmative philosophy) เช่นในปรัชญาคตินิยมวัฒนธรรมหลากหลาย (multiculturalism) ที่เป็นปรัชญาที่แสวงหาการดำรงความแตกต่างของชนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม

คำว่า "การกลืนกลาย" หรือ "assimilation" มักจะเป็นคำที่ใช้กับชนอพยพ เข้าไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนใหม่ เช่นกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสหรัฐ ประเพณีใหม่และทัศนคติก็จะได้รับจากการติดต่อและการสนทนาปราศรัย แต่การรับวัฒนธรรมใหม่ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทางเดียว ชนอพยพแต่ละกลุ่มต่างก็มีส่วนในการนำวัฒนธรรมของตนเองเข้ามาผสานกับวัฒนธรรมในสังคมใหม่ด้วย การกลืนกลายมักจะเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไปและมากน้อยตามแต่สถานการณ์ การการผสานกลืนที่สมบูรณ์เกิดขึ้นเมื่อสังคมไม่อาจจะแยกระหว่างผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่เดิมและผู้ที่เข้ามาใหม่ได้

อ้างอิง

  1. จากศัพท์บัญญัติ assimilation = การกลืนกลาย ใน สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์มานุษยวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 26.
  • Julius Drachsler. (1920) Democracy and Assimilation. The Blending of Immigrant Heritages in America, Macmillan, 275 pages

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น