การกุเหตุความจำเสื่อม
ในจิตวิทยาหรือจิตเวชศาสตร์ การกุเหตุความจำเสื่อม[1] (อังกฤษ: confabulation มากจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า "การเล่าเรื่อง"[2]) เป็นความปั่นป่วนของความจำที่ปรากฏโดยคำพูดหรือการกระทำที่ไม่ตรงกับประวัติ ภูมิหลัง หรือสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยที่ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลอกลวง[3] การกุเหตุความจำเสื่อมต่างจากการโกหกเพราะไม่มีเจตนาที่จะหลอกลวง และบุคคลนั้นไม่รู้ว่า ข้อมูลของตนนั้นไม่ตรงกับความจริง[4] แม้ว่า บุคคลนั้นอาจจะแสดงเนื้อความที่ปรากฏอย่างโต้ง ๆ ว่าไม่จริง แต่ว่า เรื่องที่กุขึ้นบางครั้งอาจจะเชื่อมโยงกัน สอดคล้องกัน และไม่มีอะไรแปลก[4] บุคคลที่กุความขึ้นอาจจะมีความจำที่ไม่ถูกต้อง "เริ่มตั้งแต่เป็นความเพี้ยนไปเพียงเล็กน้อย จนถึงเป็นเรื่องกุที่แปลกประหลาด"[5] และมักจะมั่นใจถึงความจำของตน แม้ว่าจะมีหลักฐานที่ขัดแยังกัน[6] เหตุที่ปรากฏของการกุโดยมากมาจากความเสียหายในสมองหรือภาวะสมองเสื่อม เช่นที่เกิดจากโรคพิษสุรา[7] (alcoholism) จากหลอดเลือดโป่งพอง หรือจากโรคอัลไซเมอร์
รูปแบบ
การกุเหตุความจำเสื่อมโดยทั่วไปมีสองแบบคือ แบบเกิดขึ้นเอง (spontaneous) หรือแบบมีการชักนำ (provoked)
การกุเหตุความจำเสื่อมแบบเกิดขึ้นเอง (อังกฤษ: spontaneous confabulation) หรือ การกุเหตุความจำเสื่อมปฐมภูมิ (อังกฤษ: primary confabulation) ไม่ได้เกิดขึ้นตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น[8] และปรากฏเหมือนกับไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ[9] การกุแบบเกิดขึ้นเองค่อนข้างจะมีน้อย และอาจเป็นผลจากการทำงานร่วมกันของพยาธิในสมองกลีบหน้าและภาวะเสียความจำแบบ dissociative[10] และเกิดขึ้นบ่อยในคนไข้ภาวะสมองเสื่อม[11]
ส่วน การกุเหตุความจำเสื่อมแบบมีการชักนำ (อังกฤษ: provoked confabulation) หรือ การกุเหตุความจำเสื่อมแบบชั่วขณะ (อังกฤษ: momentary confabulation) หรือ การกุเหตุความจำเสื่อมทุติยภูมิ (อังกฤษ: secondary confabulation) เป็นเรื่องสามัญสำหรับคนไข้มีความจำเสื่อม และเกิดขึ้นบ่อย ๆ ทั้งในภาวะเสียความจำและทั้งในภาวะสมองเสื่อม[11] การกุแบบมีการชักนำจะปรากฏชัดเจนด้วยการทดสอบความจำ[8]
การจำแนกการกุเหตุความจำเสื่อมอีกอย่างหนึ่งก็คือแยกเป็นทางวจีกรรม (verbal) และทางกายกรรม (behavioral) การกุทางวจีกรรมเป็นการกล่าวคำโดยใช้ความจำที่ผิดพลาด และเกิดขึ้นบ่อยกว่า ในขณะที่การกุทางกายกรรมเกิดขึ้นเมื่อบุคคลนั้นกระทำการโดยใช้ความจำที่ผิดพลาดนั้น[9]
ลักษณะ
ความจำที่นำไปสู่การกุมักจะอยู่ในส่วนของระบบความจำเกี่ยวกับอัตชีวประวัติ (autobiographical memory) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงกระบวนการที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนที่สามารถเกิดความผิดพลาดขึ้นในช่วงเข้ารหัส (encoding) ช่วงบันทึก (storage) และช่วงระลึกถึง (recall) ความจำอย่างใดอย่างหนึ่ง ช่วงใดช่วงหนึ่งก็ได้[6] การกุเหตุความจำเสื่อมแบบนี้พบได้บ่อยในคนไข้ที่มี Korsakoff's syndrome[12][13]
อาการที่เป็นลักษณะเฉพาะ
การกุเหตุความจำเสื่อมมีลักษณะเฉพาะหลายอย่าง
- ทั่วไปมักเกิดทางคำพูด แต่เกิดขึ้นได้ด้วยทางการทำท่าทางที่แสดงความหมาย หรือทางการกระทำ
- สิ่งที่กุอาจจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับอัตชีวประวัติและเกี่ยวกับข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับตนอื่น ๆ เช่นประวัติศาสตร์ นิทาน และที่เกี่ยวกับ semantic memory แบบอื่น ๆ
- เรื่องที่พูดถึงอาจจะแปลกประหลาดหรือคล้องจองกัน
- ประเด็นและรายละเอียดของเรื่องที่พูดอาจจะไม่เป็นความจริง
- เรื่องที่พูด มาจากความจำของคนไข้เกี่ยวกับประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ รวมทั้งความคิดในอดีตและในปัจจุบัน
- คนไข้ไม่มีความสำนึกถึงความผิดปกติหรือความไม่สมควรของเรื่องที่พูด และไม่มีความสนใจหรือความวิตกกังวลถ้าบอกความผิดพลาดนั้นต่อคนไข้
- คนไข้ไม่มีจุดประสงค์ที่ซ่อนเร้นอะไร ๆ ในการเล่าเรื่องนั้น
- บุคลิกของคนไข้อาจจะมีอิทธิพลต่อความพร้อมที่จะกุเรื่อง[4]
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถและอ้างอิง
- ↑ "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"
- ↑ Merriam-Webster Collegiate Dictionary, 11th Edition
- ↑ Fotopoulou, A., Conway, M. A., & Solms, M. (2007) . "Confabulation: Motivated reality monitoring". Neuropsychologia, 45 (10), 2180-2190.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Moscovitch M. 1995. "Confabulation". In (Eds. Schacter D.L., Coyle J.T., Fischbach G.D., Mesulum M.M. & Sullivan L.G.), Memory Distortion (pp. 226–251) . Cambridge, MA: Harvard University Press.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-03. สืบค้นเมื่อ 2014-02-20.
- ↑ 6.0 6.1 Nalbantian, edited by Suzanne (2010). The memory process : neuroscientific and humanistic perspectives. Cambridge, Mass.: MIT Press. ISBN 978-0-262-01457-1.
{cite book}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ ICD-10 F10.2 ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการเสพสุรา (แบบติด)
- ↑ 8.0 8.1 Metcalf, Kasey (1 February 2007). "Models of confabulation: A critical review and a new framework". Cognitive Neuropsychology. 24 (1): 23–47. doi:10.1080/02643290600694901.
{cite journal}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ 9.0 9.1 Gilboa, A. (13 April 2006). "Mechanisms of spontaneous confabulations: a strategic retrieval account". Brain. 129 (6): 1399–1414. doi:10.1093/brain/awl093.
- ↑ dissociative amnesia หรือ organic amnesia เป็นภาวะเสียความจำที่เกิดจากสภาวะทางจิต ไม่ใช่เกิดจากความเสียหายโดยตรงต่อสมองที่เกิดจากความบาดเจ็บที่ศีรษะ จากการบาดเจ็บที่กาย หรือจากโรค
- ↑ 11.0 11.1 Kopelman, M.D. Two types of confabulation. J Neurol Neurosurg Psychiatry 1987a; 50: 1482–7.
- ↑ ICD-10 F10.6 กลุ่มอาการหลงลืมซึ่งเป็นความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการเสพสุรา
- ↑ D. Kopelman, Michael. "The Korsakoff Syndrome: Clinical Aspects, Psychology and Treatment". oxford journals. 44 (2): 148–154. doi:10.1093/alcalc/agn118. PMID 19151162. สืบค้นเมื่อ 5 March 2012.
{cite journal}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
- Hirstein, William (2005), Brain Fiction: Self-deception and the riddle of confabulation, Cambridge, Massachusetts: MIT Press, ISBN 0-262-08338-8, สืบค้นเมื่อ 21 March 2012
- Sacks, Oliver (1985), The Man Who Mistook His Wife for a Hat (PDF), New York: Perennial Library, ISBN 0-06-097079-0, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-10-01, สืบค้นเมื่อ 21 March 2012