การค้าไตรภาคี

ภาพโมเดลคลาสสิกของการค้าไตรภาคี
ภาพการค้าไตรภาคีของทาส น้ำตาล และรัม โดยมีนิวอิงแลนด์เป็นมุมที่สามแทนที่จะเป็นยุโรป

การค้าไตรภาคี (อังกฤษ: Triangular trade หรือ Triangle trade) เป็นคำทางประวัติศาสตร์ซึ่งระบุถึงการค้าระหว่างเมืองท่าหรือภูมิภาคสามแห่ง การค้าไตรภาคีมักจะพัฒนาขึ้นเมื่อภูมิภาคหนึ่งมีสินค้าส่งออกซึ่งไม่จำเป็นในภูมิภาคซึ่งสินค้าเข้าหลักมาถึง การค้าไตรภาคีจึงเป็นวิธีการสำหรับแก้ไขการเสียดุลการค้าระหว่างภูมิภาคเหล่านี้

การค้าทาสไตรภาคีแอตแลนติก

ระบบการค้าไตรภาคีอันเป็นที่รู้จักกันมาที่สุด คือ การค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตอลนติก ซึ่งดำเนินการระหว่างคริสต์ทศวรรษที่ 17-19 โดยขนส่งทาส พืชผลทางการเกษตร และสินค้าหัตถกรรมระหว่างแอฟริกาตะวันตก แคริบเบียนหรืออาณานิคมอเมริกาและเจ้าอาณานิคมทวีปยุโรป โดยมีอาณานิคมเหนือของอเมริกาเหนือของอังกฤษ โดยเฉพาะอยางยิ่งนิวอิงแลนด์ บางครั้งได้มีบทบาทมากกว่าเมืองท่าในทวีปยุโรป[1]

การค้าเที่ยวแรกลากจากเมืองท่ายุโรปไปยังทวีปแอฟริกา ซึ่งเรือจะบรรทุกสินค้าสำหรับขายและแลกเปลี่ยน อย่างเช่น ทองแดง เสื้อผ้า สิ่งประดับเล็กน้อย ลูกปัดทาส ปืนและเครื่องกระสุน[2] เมื่อเรือทาสมาถึง สินค้าบรรทุกจะถูกขายหรือแลกเปลี่ยนกับทาส ซึ่งจะถูกมัดติดกันอย่างแน่นหนาเช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้มากที่สุด

การค้าเที่ยวที่สอง เรือได้เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจากแอฟริกาสู่โลกใหม่ เมื่อเรือทาสมาถึงโลกใหม่ ผู้รอดชีวิตจะถูกขายในแคริบเบียนหรือทวีปอเมริกา

เรือจะถูกจัดเตรียมเพื่อที่จะทำให้เรือทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง ระบายน้ำออก และบรรทุกด้วยสินค้าส่งออกสำหรับเที่ยวเรือขากลับ เพื่อกลับไปยังเมืองท่าของตน[3] จากหมู่เกาะอินเดียตะวันตก สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ น้ำตาล รัม และกากน้ำตาล จากเวอร์จิเนีย สินค้าส่งออกได้แก่ยาสูบและป่าน

อ้างอิง

  1. About.com: The Trans-Atlantic Slave Trade. Accessed 6 November 2007.
  2. Scotland and the Abolition of the Slave Trade เก็บถาวร 2012-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Accessed 28 March 2007.
  3. A. P. Middleton, Tobacco Coast.

แหล่งข้อมูลอื่น