การทดสอบทัวริง
การทดสอบของทัวริง (อังกฤษ: Turing test) เป็นวิธีการที่ แอลัน ทัวริง ได้เสนอขึ้นในปี พ.ศ. 2493 (คศ. 1950) เพื่อใช้ทดสอบความสามารถของเครื่องจักร (machine) ว่ามีความสามารถในการคิดได้เช่นเดียวกับมนุษย์หรือไม่ โดยวิธีการทดสอบคือให้คนทำการพิมพ์บทสนทนาโต้ตอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนและคอมพิวเตอร์หากคู่สนทนาไม่สามารถแยกได้ว่าอีกฝ่ายที่คุยนั้นเป็นคอมพิวเตอร์หรือคนได้ก็ถือว่าเครื่องจักรนั้นผ่านการทดสอบของทัวริง
แชทบอท LaMDA ของกูเกิล
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 แชทบอท LaMDA (Language Model for Dialogue Applications) ของกูเกิล ได้รับการอ้างถึงอย่างกว้างขวางว่าได้บรรลุถึงขั้นที่มีความรู้สึกแล้ว เริ่มแรกจากการกล่าวถึงในบทความ The Economist โดยมีนักวิจัยของกูเกิล Blaise Agüera y Arcas กล่าวว่า แชทบอทได้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในสัมพันธภาพทางสังคม[1] หลายวันต่อมา วิศวกรของกูเกิล เบลก เลอมอยน์ ได้อ้างในการสัมภาษณ์กับเดอะวอชิงตันโพสต์ว่า LaMDA ได้บรรลุถึงความรู้สึกแล้ว ต่อมาเขาถูกพักงานโดยกูเกิล ทาง Agüera y Arcas (รองประธานกูเกิล) และ Jen Gennai (หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมที่ต้องการการโต้ตอบ) ได้เข้ามาสอบสวนแต่ก็ได้ปัดตกคำอ้างนั้นไป[2] คำยืนยันของ เลอมอยน์ ยังถูกถูกปฏิเสธจากผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ โดยชี้ว่า โมเดลภาษาที่ดูเหมือนจะจำลองการสนทนาของมนุษย์ได้นั้น ไม่ได้เป็นการแสดงว่า [LaMDA] มีสติปัญญา[3] แม้จะดูเหมือนมันจะผ่านการทดสอบของทัวริงก็ตาม การวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากทั้งผ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้านการอ้างว่า LaMDA ได้บรรลุถึงความรู้สึก ได้เกิดขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งรวมถึงการกำหนดความหมายของความรู้สึกและความหมายของการเป็นมนุษย์
อ้างอิง
- ↑ Dan Williams (June 9, 2022). "Artificial neural networks are making strides towards consciousness, according to Blaise Agüera y Arcas". The Economist.
- ↑ Nitasha Tiku (June 11, 2022). "The Google engineer who thinks the company's AI has come to life". Washington Post.
- ↑ Jeremy Kahn (June 13, 2022). "A.I. experts say the Google researcher's claim that his chatbot became 'sentient' is ridiculous—but also highlights big problems in the field". Fortune.