การท่องเที่ยวในประเทศออสเตรเลีย

นักโต้คลื่นในโกลด์โคสต์ ที่ภาพลักษณ์ระดับโลกอันโดดเด่นของการท่องเที่ยวออสเตรเลียมุ่งเน้นไปที่ชายหาด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเอกลักษณ์ประเทศออสเตรเลีย[1]
การขับรถบนทางหลวงลาสซีเตอร์ใกล้อุทยานแห่งชาติอุลูรู-เคเต จูตา ในนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี
หมู่เกาะวิตซันเดย์ในรัฐควีนส์แลนด์
ลานสกีบนภูเขาฮอตแธม ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐวิกทอเรีย
ชายหาดเกาะเกรตเคปเปล

การท่องเที่ยวในประเทศออสเตรเลียเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจออสเตรเลีย ซึ่งประกอบด้วยผู้มาเยือนทั้งในและต่างประเทศ โดยออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่สี่สิบของโลกตามข้อมูลขององค์การการท่องเที่ยวโลก[2] ในปีงบประมาณ 2018/19 การท่องเที่ยวเป็นการส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศออสเตรเลีย และในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาก็เติบโตเร็วกว่าการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ[3] ซึ่งในเวลานั้นคิดเป็น 3.1 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของออสเตรเลียซึ่งสร้างมูลค่า 60.8 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ[4]

ในปีปฏิทินจนถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8.7 ล้านคนในประเทศออสเตรเลีย[5] การท่องเที่ยวจ้างงาน 666,000 คนในออสเตรเลียเมื่อ ค.ศ. 2018–2019 ซึ่งเป็น 1 ใน 21 ของแรงงานทั้งหมด[4] คนที่ทำงานด้านการท่องเที่ยวประมาณ 48 เปอร์เซ็นต์เป็นพนักงานประจำ และ 54 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้หญิง[3] นอกจากนี้ การท่องเที่ยวยังมีส่วนสนับสนุน 8.2 เปอร์เซ็นต์ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมดของออสเตรเลียใน ค.ศ. 2018–2019[4]

จุดหมายปลายทางยอดนิยมของประเทศออสเตรเลีย ได้แก่ เมืองชายฝั่งอย่างซิดนีย์, บริสเบน และเมลเบิร์น รวมถึงจุดหมายปลายทางที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ประกอบด้วยภูมิภาครัฐควีนส์แลนด์ อย่างโกลด์โคสต์ และเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ซึ่งเป็นพืดหินใต้น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนสถานที่ยอดนิยมอื่น ๆ ได้แก่ โขดหินอุลูรู, ชนบทออสเตรเลีย และดินแดนแทสเมเนีย นอกจากนี้ ความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของออสเตรเลียยังเป็นอีกจุดสำคัญที่น่าสนใจในการท่องเที่ยวของประเทศ

แนวโน้ม

แม้จะมีความท้าทายทางเศรษฐกิจทั่วโลกและภัยพิบัติทางธรรมชาติใน ค.ศ. 2010–2011 แต่การเติบโตของการท่องเที่ยวของประเทศออสเตรเลียได้รับการสนับสนุนจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้น 4.4 เปอร์เซ็นต์ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เนื่องมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น) และจากค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียที่แข็งค่า ใน ค.ศ. 2010–2011 มีผู้พักอาศัยในระยะสั้นออกจากออสเตรเลียเป็นประวัติการณ์ถึง 7.4 ล้านคน โดยเพิ่มขึ้น 9.9 เปอร์เซ็นต์จาก ค.ศ. 2009–2010 ซึ่งการบริโภคของนักท่องเที่ยวในประเทศขยายตัวน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของนักท่องเที่ยวต่างชาติใน ค.ศ. 2010–11 (เพิ่มขึ้น 2.1 เปอร์เซ็นต์โดยเทียบกับ 4.4 เปอร์เซ็นต์)[6]

อ้างอิง

  1. "The Beach". Australian Government: Culture Portal. Department of the Environment, Water, Heritage and the Arts, Commonwealth of Australi tatti a. 17 March 2008. Retrieved 13 January 2013.
  2. "World Tourism Barometer (International Tourist Arrivals by Country of Destination)". World Tourism Organization. December 2020. doi:10.18111/wtobarometereng.2020.18.1.7. S2CID 241989515. สืบค้นเมื่อ 10 March 2023.
  3. 3.0 3.1 Tourism Research Australia. "Tourism Satellite Account 2018-2019". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-17. สืบค้นเมื่อ 9 January 2022.
  4. 4.0 4.1 4.2 Value of Tourism (20 August 2021). "Tourism Australia tourism statistics". สืบค้นเมื่อ 9 January 2022.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. International Visitors in Australia Year Ending Dec 2019 (December 2019). "TRA IVS data". TRA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-08. สืบค้นเมื่อ 9 January 2022.
  6. "5249.0 – Australian National Accounts: Tourism Satellite Account, 2010–11". Australian Bureau of Statistics. 12 October 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น