การปะทะที่มัสยิดอัลอักศอ พ.ศ. 2566
การปะทะที่มัสยิดอัลอักศอ พ.ศ. 2566 | |||
---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ | |||
เนินพระวิหาร หรือ อัลฮะเราะมุชชะรีฟ สถานที่เกิดการปะทะ | |||
วันที่ | 5 เมษายน พ.ศ. 2566 | (ก่อนรุ่งอรุณ)||
สถานที่ | เนินพระวิหาร/ฮะเราะมุชชะรีฟ เยรูซาเลม | ||
คู่ขัดแย้ง | |||
| |||
ความสูญเสีย | |||
| |||
ชาวปาเลสไตน์ถูกจับกุม 400 คน |
เกิดการประจันหน้าด้วยความรุนแรงหลายครั้งระหว่างชาวปาเลสไตน์และตำรวจอิสราเอลที่บริเวณมัสยิดอัลอักศอในกรุงเยรูซาเลมในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 หลังจากการละหมาดเดือนเราะมะฎอนในช่วงเย็น ชาวปาเลสไตน์ได้กักตัวเองภายในมัสยิด โดยพวกเขาได้รับแจ้งจากรายงานข่าวว่าชาวยิววางแผนที่จะบูชายัญแพะที่บริเวณนั้น (ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายอิสราเอล) ต่อมาตำรวจอิสราเอลได้บุกเข้าไปในมัสยิดพร้อมอุปกรณ์ปราบจลาจล ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 50 ราย[1] และมีผู้ถูกจับกุม 400 คน
หลังจากการปะทะ กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์[2] ยิงจรวดเข้าใส่อิสราเอลจากฉนวนกาซาและประเทศเลบานอน ซึ่งได้รับการตีความว่าเป็นการตอบโต้ต่อเหตุการณ์ที่อัลอักศอ[3]
ภูมิหลัง
การปะทะกันเกิดขึ้นในช่วงที่ความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์เพิ่มขึ้น เนื่องจากใน พ.ศ. 2566 เดือนเราะมะฎอนของชาวมุสลิม เทศกาลปัสกาของชาวยิว และสัปดาห์อีสเตอร์ของชาวคริสเตียน เวียนมาถึงในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน[4]
นับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเราะมะฎอนเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ผู้ละหมาดชาวมุสลิมได้พยายามที่จะสวดมนต์ข้ามคืนในมัสยิดอัลอักศอ ซึ่งปกติแล้วจะอนุญาตให้ทำได้เฉพาะในช่วง 10 วันสุดท้ายของเดือน (ในปี 2566 คือวันที่ 11–21 เมษายน) ตำรวจอิสราเอลได้เข้าไปในมัสยิดเพื่อขับไล่ผู้ละหมาดทุกคืนในช่วงเดือนดังกล่าว[2]
เมื่อวันที่ 3 เมษายน ตำรวจอิสราเอลได้จับกุมนักเคลื่อนไหวชาวยิวคนหนึ่งโดยฝ่ายบริหารของเนินพระวิหารพยายามที่จะสกัดกั้นความต้องการของกลุ่มชาวยิวที่จะฝ่าฝืนคำสั่งห้ามชาวยิวสวดมนต์ในบริเวณมัสยิดอัลอักศอ และประกอบพิธีกรรมบูชายัญในเทศกาลปัสกา ซึ่งจะเริ่มขึ้นในช่วงเย็นวันที่ 4 เมษายน[5] ในวันเดียวกันนั้น อิตามาร์ เบน-กวีร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติอิสราเอล ได้สนับสนุนให้กลุ่มชาวยิวไปที่เนินพระวิหารในช่วงเทศกาลปัสกา แต่งดเว้นพิธีกรรมบูชายัญ[6] ตามสภาพการณ์ปัจจุบันชาวยิวได้รับอนุญาตให้เข้าชมบริเวณเนินพระวิหารแต่ไม่ให้สวดมนต์ที่นั่น[7]
เหตุการณ์
การเผชิญหน้าเริ่มขึ้นในคืนวันที่ 4 เมษายน เมื่อชาวปาเลสไตน์สองสามร้อยคนขังตัวเองอยู่ในมัสยิดอัลอักศอหลังจากการละหมาดในเดือนเราะมะฎอน ท่ามกลางความกังวลว่าชาวยิวอาจมุ่งหน้าไปที่เนินพระวิหาร เพื่อประกอบพิธีกรรมบูชายัญแม้ว่าจะมีข้อห้ามก็ตาม[8] ตำรวจอิสราเอลตอบสนองสถานการณ์โดยบุกเข้าไปในมัสยิดพร้อมอุปกรณ์ปราบจลาจล ชาวปาเลสไตน์ในเหตุการณ์ระบุว่า ตำรวจได้ขว้างระเบิดแสง ยิงกระสุนยาง และทุบตีชาวปาเลสไตน์บนพื้นด้วยกระบอง ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 50 คน และผู้ถูกจับกุม 400 คน ตามการระบุของตำรวจอิสราเอล ชาวปาเลสไตน์ได้ขว้างก้อนหินและจุดพลุดอกไม้ไฟใส่ตำรวจ วีดิทัศน์ที่เผยแพร่โดยตำรวจอิสราเอลแสดงให้เห็นว่ามีการใช้ดอกไม้ไฟภายในมัสยิด และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ[1][8] เหตุการณ์ดังกล่าวเพิ่มความตึงเครียดระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ และดึงดูดความสนใจจากนานาชาติต่อความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ในภูมิภาคนี้[3]
คืนถัดมา ผู้ละหมาดชาวปาเลสไตน์กักกันตัวเองในมัสยิดอีกครั้ง และได้ถูกตำรวจอิสราเอลกวาดต้อนออกไป[2]
ปฏิกิริยา
หนังสือพิมพ์ เดอะไทมส์ออฟอิสราเอล รายงานการประเมินของเจ้าหน้าที่อาวุโสของอิสราเอลระบุว่า ตำรวจ "ทำเกินกว่าเหตุ" ในการปฏิบัติต่อชาวปาเลสไตน์ จากการให้น้ำหนักว่าอัลอักศอกำลังตกอยู่ในอันตรายจากการเรียกชุมนุม ซึ่งเป็นการสนับสนุนศัตรูของอิสราเอลและทำให้ชื่อเสียงของอิสราเอลเสียหาย ผู้ประเมินเรียกให้ตรวจสอบแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ซึ่งพวกเขาถูกสั่งให้ปฏิบัติด้วยความยับยั้งชั่งใจ อย่างไรก็ตาม เขาระบุว่าตำรวจถูกบังคับให้เข้าไปในมัสยิดหลังจากได้รับข่าวว่าชาวปาเลสไตน์จำนวนมากเก็บอาวุธไว้ที่นั่นโดยมีจุดประสงค์เพื่อโจมตีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและพลเรือนชาวอิสราเอล เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของอิสราเอลอีกคนหนึ่งกล่าวโทษองค์กรเยรูซาเลมวักฟ์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากจอร์แดนในการดูแลมัสยิดอัลอักศอว่าไม่มีมาตรการที่เพียงพอในการจัดการกับผู้ก่อการจลาจลชาวปาเลสไตน์[9] ทางการปาเลสไตน์และฮามาสประณามการกระทำของตำรวจอิสราเอล ซึ่งพวกเขาอธิบายว่าเป็นการก่ออาชญากรรม ทางการอิสราเอลปกป้องการกระทำของตนว่าเป็นการกระทำเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน[10]
ปีเตอร์ สตาโน โฆษกหัวหน้าฝ่ายกิจการภายนอกของสหภาพยุโรปกล่าวว่า สหภาพยุโรป "กังวลอย่างยิ่ง" ต่อความรุนแรงที่มัสยิดอัลอักซอในกรุงเยรูซาเลม และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายแสดงความยับยั้งชั่งใจในช่วงวันหยุดทางศาสนา[11]
เคมัล คือลึชดาโรลู ผู้นำพรรคฝ่ายค้านของตุรกีประณามการโจมตีดังกล่าว[12]
นาวาฟ อัลอะห์มัด อัลญาบิร อัศเศาะบาห์ เจ้าผู้ครองนครรัฐคูเวต ทรงประณามการรุกรานของอิสราเอลต่อมัสยิดอัลอักศอ
นายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด แสดงความกังวลและเรียกร้องให้ลดความรุนแรงลง[13]
แถลงการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ "ประณามอย่างรุนแรงต่อการบุกโจมตีมัสยิดอัลอักศอโดยตำรวจอิสราเอล ... และย้ำว่าผู้ละหมาดไม่ควรกักกันตัวเองภายในมัสยิดและสถานที่สักการะโดยมีอาวุธและวัตถุระเบิด"[14]
กระทรวงการต่างประเทศโอมานออกแถลงการณ์ประณามและกล่าวโทษการโจมตีมัสยิดอัลอักศอของกองกำลังยึดครองของอิสราเอล[15]
นอกจากนี้ การกระทำของตำรวจอิสราเอลยังถูกประณามในแถลงการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศของกาตาร์,[16] ตุรกี,[17] จอร์แดน,[18] ซาอุดิอาระเบีย,[19] บาห์เรน,[20] อิหร่าน,[21] โมร็อกโก,[22] แอลจีเรีย,[23] ปากีสถาน,[24] อัฟกานิสถาน,[25] บังกลาเทศ[26] และมาเลเซีย[27]
ผลที่ตามมา
หลังเหตุการณ์ดังกล่าว กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์เตือนถึงการเผชิญหน้ากันที่จะตามมา[2] กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล (IDF) กล่าวว่ามีการยิงจรวดเก้าลูกจากฉนวนกาซาสู่อิสราเอล[3]
เมื่อวันที่ 6 เมษายน กองกำลังป้องกันประเทศระบุว่ามีการยิงจรวดบางส่วนจากเลบานอน[28] มีรายงานว่าจรวดดังกล่าวถูกยิงโดยกลุ่มปาเลสไตน์[2][28] ไม่มีความเห็นในทันทีจากกองทัพเลบานอน[28] ในแถลงการณ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร กองกำลังชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในเลบานอน (UNIFIL) กล่าวถึงสถานการณ์ดังกล่าวว่า "ร้ายแรงอย่างยิ่ง" และเรียกร้องให้มีความยับยั้งชั่งใจ โดยระบุว่า อารอลโด ลาซาโร (Aroldo Lazaro) ผู้บัญชาการ UNIFIL กำลังติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย[29]
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 กลุ่มฮามาสได้เปิดฉากการโจมตีครั้งใหญ่ต่ออิสราเอลด้วยการรุกรานและโจมตีด้วยจรวด โมฮัมเมด เดอิฟ ผู้บัญชาการกองพลน้อยอิซซ์ อัดดิน อัลกัสซาม อ้างว่าการโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อตอบโต้ต่อ "การดูหมิ่นมัสยิดอัลอักศอ"[30]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Al-Aqsa mosque: Violence as Israeli police raid Jerusalem holy site". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2023.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Debre, Isabel (5 เมษายน 2023). "Violence erupts at Jerusalem holy site for a 2nd night". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2023.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Salma, Abeer; Tawfeeq, Mohammed; Hauser, Jennifer (5 เมษายน 2023). "Israeli police storm al-Aqsa mosque during Ramadan prayers, sparking rocket fire from Gaza". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2023.
- ↑ Gritten, David; Lukov, Yaroslav (5 เมษายน 2023). "Jerusalem: Clashes erupt at al-Aqsa mosque". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2023.
- ↑ Williams, Dan (3 เมษายน 2023). "Israel detains Passover sacrifice campaigner as Al Aqsa tensions simmer". Reuters – โดยทาง www.reuters.com.
- ↑ Obel, Ash (3 เมษายน 2023). "Police minister: Jews must go to Temple Mount on Passover — but no animal sacrifice". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2023.
- ↑ ToI Staff (9 เมษายน 2023). "Hundreds of Jews tour tense Temple Mt.; Jordan warns against violations of status quo". The Times of Israel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2023.
- ↑ 8.0 8.1 "Ramadan and Passover raise tensions at Jerusalem holy site". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 5 เมษายน 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2023.
- ↑ "Top Israeli official admits police overreacted in beating Palestinians inside al-Aqsa". The Times of Israel. 9 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2023.
- ↑ "Israeli forces storm Al-Aqsa, attack worshippers during Ramadan". Al Jazeera. 5 เมษายน 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2023.
- ↑ "EU 'deeply concerned' by violence at Jerusalem's Al-Aqsa Mosque". www.aa.com.tr. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2023.
- ↑ "Kılıçdaroğlu'ndan tepki: Mescid-i Aksa'daki saldırıyı şiddetle lanetliyorum". www.cumhuriyet.com.tr (ภาษาตุรกี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2023.
- ↑ Raycraft, Richard. "Trudeau calls for peace following Israeli raid of mosque". Canadian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2023.
- ↑ "UAE condemns storming of Al-Aqsa Mosque by Israeli police". www.mofaic.gov.ae. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2023.
- ↑ "Oman denounces occupation forces' storming of Al Aqsa Mosque". Foreign Ministry of Oman. 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2023.
- ↑ "Qatar condemns in the strongest terms the Israeli occupation forces storming of Al-Aqsa Mosque and attacking worshippers". www.mofa.gov.qa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
- ↑ Republic of Türkiye Ministry of Foreign Affairs (5 เมษายน 2023). "Press Release Regarding the Attacks and Provocations On Al-Aqsa Mosque". สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
- ↑ الأردن يحذر من استمرار اعتداءات شرطة الاحتلال الإسرائيلي على المصلين. mfa.gov.jo (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
- ↑ توضح وزارة الخارجية أن المملكة العربية السعودية تتابع بقلقٍ بالغ اقتحام قوات الاحتلال الإسرائيلي لباحات المسجد الأقصى الشريف، والاعتداء على المصلين، واعتقالها عددٍ من المواطنين الفلسطينيين. www.mofa.gov.sa (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
- ↑ "Bahrain condemns Israeli police raiding Al-Aqsa Mosque". www.mofa.gov.bh (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
- ↑ "Tweet of the Foreign Ministry spokesman". Ministry of Foreign Affairs of the Islamic Republic of Iran (ภาษาอังกฤษ). 5 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
- ↑ "Statement". Ministry of Foreign Affairs, African Cooperation and Moroccan Expatriates (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
- ↑ "Algeria condemns storming of Al-Aqsa Mosque by the Israeli occupation authority". Ministry of Foreign Affairs and National Community Abroad. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
- ↑ "Pakistan strongly condemns Israeli raid on Al-Aqsa Mosque – Ministry of Foreign Affairs" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
- ↑ "د ااا د بهرنیو چارو وزارت په الاقصی جومات کي په بې دفاع لمونځ کوونکو د اسرائیلي ځواکونو ظالمانه برید په کلکو ټکو غندي". mfa.gov.af. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023. (ในภาษาปาทาน).
- ↑ "Ministry of Foreign Affairs". Ministry of Foreign Affairs- Bangladesh. 6 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2023.
- ↑ "Malaysia strongly condemns the attacks by Israeli occupation forces on worshippers in the Al-Aqsa mosque". Ministry of Foreign Affairs - Malaysia. 6 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2023.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 "Israel intercepts rocket fire from southern Lebanon". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). 6 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2023.
- ↑ "UNIFIL urges restraint after Israel intercepts rockets fired from southern Lebanon". Al Arabiya English (ภาษาอังกฤษ). 6 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2023.
- ↑ חלבי, עינב (7 ตุลาคม 2023). "מוחמד דף על מתקפת הרקטות: ישראל חיללה את אל-אקצא, קורא לערביי ישראל להצטרף". Ynet. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2023. (ในภาษาฮีบรู).