การปิดล้อมพอร์ตอาร์เธอร์
การล้อมพอร์ตอาร์เธอร์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ญี่ปุ่น | รัสเซีย | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
Nogi Maresuke Kodama Gentarō Tōgō Heihachirō |
Roman Kondratenko † Anatoly Stessel Alexander Fok Konstantin Smirnov Joseph Trumpeldor | ||||||
กำลัง | |||||||
150,000 นาย ปืนใหญ่ 474 กระบอก |
50,000 นาย ปินใหญ่ 506 กระบอก | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ทหาร 57,780 เสียชีวิต ป่วยตายอีก 33,769 คน[1] | ทหาร 31,306 คนเสียชีวิตจากการปิดล้อม ยอมจำนน 24,369 คน.[2] |
การปิดล้อมพอร์ตอาร์เธอร์ (ญี่ปุ่น: 旅順攻囲戦, Ryojun Kōisen; รัสเซีย: Оборона Порт-Артура, Oborona Port-Artura, 1 สิงหาคม 1904 – 2 มกราคม 1905),คือการปิดล้อมเมืองท่าน้ำลึกของรัสเซียบนคาบสมุทรเหลียวตงในแมนจูเรีย นอกจากนี้การปิดล้อมพอร์ตอาร์เธอร์ยังเป็นการต่อสู้บนพื้นดินที่กินเวลานาที่สุดในสงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่นอีกด้วย
พอร์ตอาร์เธอร์ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นเมืองที่มีป้อมปืนใหญ่แข็งแกร่งที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 กองทัพญี่ปุ่นภายใต้การนำของโนกิ มาเรสุเกะ ได้เข้าโจมตีเมืองนี้ที่มีทหารของจีนสมัยราชวงศ์ชิงควบคุมอยู่ได้ โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน และด้วยชัยชนะอย่างง่ายดายที่ญี่ปุ่นสู้รบกับจีนทำให้ทางญี่ปุ่นคาดว่าจะสามารถเอาชนะรัสเซียได้พอร์ตอาร์เธอร์ได้อย่างง่ายดาย แต่ว่าทางญี่ปุ่นประเมินความสามารถของป้อมปืนใหญ่ทางรัสเซียน้อยไป ทำให้การต่อสู้กินเวลานานกว่า 5 เดือน และสูญเสียไปอีกจำนวนมาก
การปิดล้อมพอร์ตอาร์เธอร์นั้นแสดงถึงความก้าวหน้าในเทคโนโลยีสงครามสมัยต้นศตวรรษที่ 20 อย่างเช่น มีการใช้ปืนใหญ่28 cm howitzer L/10 ที่สามารถยิงกระสุนได้ไกลถึง 8 กิโลเมตร ปืนกลแมกซิม การฉายไฟ การติดต่อสื่อสารทางวิทยุ การใช้ทุ่นระเบิด การใช้ระเบิดมือ รวมถึงการขุดสนามเพลาะในการต่อสู้อีกด้วย
อ้างอิง
- ↑ Clodfelter, Micheal, Warfare and Armed Conflicts, a statistical reference, Volume II 1900-91, pub McFarland, ISBN 0-89950-815-4 p648.
- ↑ Clodfelter, Micheal, Warfare and Armed Conflicts, a statistical reference, Volume II 1900-91, pub McFarland, ISBN 0-89950-815-4 p648.