การพิชิตมะละกา

การพิชิตมะละกา
ส่วนหนึ่งของ การล่าอาณานิคมของโปรตุเกสในนูซันตารา

ภาพวาดมะละกาโดยชาวโปรตุเกสใน ค.ศ. 1511 หลังการพิชิตเพียงไม่นาน
วันที่21 ญุมาดัลเอาวัล ฮ.ศ. 917 หรือ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1511[1][2]
สถานที่
มะละกา (ปัจจุบันอยู่ในประเทศมาเลเซีย)
2°12′20″N 102°15′22″E / 2.20556°N 102.25611°E / 2.20556; 102.25611
ผล ชาวโปรตุเกสพิชิตรัฐมะละกา
คู่สงคราม
จักรวรรดิโปรตุเกส
รัฐสุลต่านมะละกา
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อาฟงซู ดึ อัลบูแกร์กึ มะห์มุด ชาห์
กำลัง

ทหารโปรตุเกส 700 นาย[3]
ทหารชาวมะละบาร์ 300 นาย[3]

เรือใบคาร์แร็ก 11 ลำ
เรือใบคาราเวล 3 ลำ
เรือแจวโบราณ 2 ลำ[4]
ชาย 20,000 คน[5]
ทหารปืนใหญ่ 2,000 หรือ 3,000 นาย[5]
ช้างศึก 20 เชือก
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 28 นาย[6] ไม่ทราบ
ปอร์ตาดูซังตียากู ประตูของป้อมมะละกาที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

การพิชิตมะละกา (โปรตุเกส: conquista de Malaca; มลายู: Penaklukan Melaka) เกิดขึ้นเมื่ออาฟงซู ดึ อัลบูแกร์กึ ผู้ว่าการอินเดียของโปรตุเกส พิชิตเมืองมะละกาใน ค.ศ. 1511

เมืองท่ามะละกาควบคุมบริเวณช่องแคบมะละกาที่ซึ่งการค้าขายทางทะเลระหว่างประเทศจีนกับอินเดียกระจุกตัวหนาแน่น[7] การยึดครองมะละกาเป็นผลจากแผนของพระเจ้ามานูแวลที่ 1 แห่งโปรตุเกสซึ่งทรงหมายมั่นจะเอาชนะชาวกัสติยาในตะวันออกไกลมาตั้งแต่ ค.ศ. 1505 และโครงการวางรากฐานที่มั่นคงในอินเดียของโปรตุเกสร่วมกับฮอร์มุซ, กัว และเอเดนของอัลบูแกร์กึเอง เพื่อควบคุมการค้าขายและขัดขวางการขนส่งของมุสลิมในมหาสมุทรอินเดีย[8]

หลังออกเรือจากโคชินในเดือนเมษายน ค.ศ. 1511 แล้ว กองเรือโปรตุเกสจะไม่สามารถหันเรือกลับได้อีกเนื่องจากลมมรสุมพัดไปทางตรงข้าม หากภารกิจล้มเหลว ลูกเรือโปรตุเกสก็หมดหวังที่จะได้กำลังเสริมและจะไม่สามารถกลับไปยังฐานที่มั่นในอินเดียได้ นี่จึงเป็นการพิชิตดินแดนที่ไกลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติจนถึงสมัยนั้น[9]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Bosworth, Clifford Edmund (2007). Historic cities of the Islamic world. BRILL. p. 317. ISBN 978-90-04-15388-2. สืบค้นเมื่อ 23 August 2011.
  2. van Gent, Robert Harry. "Islamic–Western Calendar Converter". Universiteit Utrecht. สืบค้นเมื่อ 23 August 2011.
  3. 3.0 3.1 [1] Cartas de Afonso de Albuquerque, Volume 1, pp. 396–397
  4. [2] Cartas de Afonso de Albuquerque, Volume 1 p. 65
  5. 5.0 5.1 Diffie, Winius, p. 256
  6. Diffie, Winius, p. 258
  7. The Cambridge History of the British Empire Arthur Percival Newton p. 11 [3]
  8. João Paulo de Oliveira e Costa, Vítor Luís Gaspar Rodrigues (2012) Campanhas de Afonso de Albuquerque: Conquista de Malaca, 1511 p. 13
  9. João Paulo de Oliveira e Costa, Vítor Luís Gaspar Rodrigues (2012) Campanhas de Afonso de Albuquerque: Conquista de Malaca, 1511 p. 7

บรรณานุกรม

  • Bailey W. Diffie, George D. Winius, Foundations of the Portuguese Empire, 1415–1580 (1977) ISBN 9780816608508