การล่าวาฬในญี่ปุ่น

การล่าวาฬในญี่ปุ่น หมายถึงกรณีที่ไม่ได้เป็นไปเพื่ออุตสาหกรรม มีขึ้นในศตวรรษที่ 12[1] ส่วนการล่าวาฬญี่ปุ่น (Japanese whaling) หมายถึงกรณีที่เป็นไปเพื่ออุตสาหกรรม มีขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1890 ในสมัยนั้นมีหลายชาติเข้าร่วม[2] และปัจจุบันเกิดขึ้นแม้กระทั่งนอกเหนือน่านน้ำญี่ปุ่น
ในศตวรรษที่ 20 ญี่ปุ่นล่าวาฬเพื่อการค้าอย่างมาก จนคณะกรรมการการล่าวาฬระหว่างประเทศ (International Whaling Commission) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อควบคุมการล่าวาฬ (International Convention for the Regulation of Whaling ) ต้องสั่งระงับตั้งแต่ปี 1986 อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นยังคงล่าวาฬต่อไปโดยอาศัยข้อบทแห่งความตกลงระหว่างประเทศที่เปิดให้กระทำได้เพื่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และได้จัดตั้งสถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล (Institute of Cetacean Research) ขึ้นเพื่อรับผิดชอบการล่าวาฬ แต่เนื้อของวาฬที่ล่ามาเพื่อวิทยาศาสตร์นั้นกลับนำออกขายตามภัตตาคารร้านรวงทั่วไป[3] แม้การกระทำดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการการล่าวาฬระหว่างประเทศ แต่กรรมการส่วนใหญ่คัดค้าน[4] การล่าวาฬนี้ยังก่อให้เกิดความบาดหมางระหว่างประเทศและองค์การที่สนับสนุนและต่อต้านการล่าวาฬ บรรดาประเทศ องค์การ และนักวิทยาศาสตร์ที่คัดค้านการล่าวาฬมองว่า โครงการวิจัยของญี่ปุ่นนั้นไม่จำเป็นแม้แต่น้อย ทั้งปฏิบัติการล่าวาฬของญี่ปุ่นที่แฝงความมุ่งหมายทางการค้าเอาไว้นั้นยังเลวร้ายอย่างถึงที่สุด[5][6][7][8] ฝ่ายญี่ปุ่นยืนยันว่า การล่าวาฬทุกปีนั้นจำเป็นเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และการบริหารจำนวนวาฬ ญี่ปุ่นยังโต้แย้งว่า การคัดค้านการล่าวาฬนั้นมีเหตุผลเป็นเพียงความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความรู้สึกนึกคิด[9][10]
วันที่ 31 พฤษภาคม 2010 ประเทศออสเตรเลียฟ้องญี่ปุ่นต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ[11] ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม 2014 ศาลพิพากษาว่า การที่ญี่ปุ่นล่าวาฬในมหาสมุทรใต้นั้นไม่ได้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์ และสั่งให้เลิกโดยพลัน[12] ญี่ปุ่นแถลงว่า จะปฏิบัติตามคำพิพากษา[13][14]
อ้างอิง
- ↑ "History of whaling". Japan Whaling Association. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.
- ↑ "The Truth about "Traditional" Japanese Whaling". Sea Shepherd France. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-01. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
- ↑ "Anti-whaling activist faces arrest on arrival in Japan". AFP. March 11, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-31. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
- ↑ Kirby, Alex (June 11, 2000). "Whaling ban set to end". BBC News.
- ↑ Briand, F; Colborn, T; Dawkins, R; Diamond, J; Earle, S; Gomez, E; Guillemin, R; Klug, A; Konishi, M (May 20, 2002). "An Open Letter to the Government of Japan on "Scientific Whaling"" (PDF). New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-08-19. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
{cite web}
:|display-authors=9
ไม่ถูกต้อง (help) - ↑ Larter, Paul (February 8, 2008). "Australia condemns bloody killing of whale and calf by Japanese fleet". The Times. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-03. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
- ↑ Biggs, Stuart (May 30, 2007). "Kyokuyo Joins Maruha to End Whale Meat Sales in Japan". Bloomberg.
- ↑ Sekiguchi, Toko (November 20, 2007). "Why Japan's Whale Hunt Continues". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-24. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
- ↑ "The Position of the Japanese Government on Research Whaling". Ministry of Foreign Affairs of Japan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-06-07. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
- ↑ "The Japanese Government's position on whaling" (PDF). Consulate-General of Japan, Melbourne. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-10. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
- ↑ Commonwealth of Australia (May 31, 2010). "Application Instituting Proceedings" (PDF). Whaling in the Antarctic (Australia v Japan). The Hague: International Court of Justice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-09. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
- ↑ "Japan ordered to immediately stop whaling in Antarctic as International Court of Justice rules program was not carried out for scientific purposes". Australia: ABC News. March 31, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-31. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
- ↑ "Japan accepts court ban on Antarctic whaling". BBC News. March 31, 2014.
- ↑ Sterling, Toby. "World court: Japanese whaling not scientific". MSN News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-02. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.