การล้อมมอลตา (สงครามโลกครั้งที่สอง)
การล้อมมอลตา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ เขตสงครามเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลางใน สงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
![]() บุคลากรทหารและพลเรือนกำลังกวาดเศษซากระเบิดจาก Kingsway ในวัลเลตตา ในปี ค.ศ. 1942 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สนับสนุนทางเรือ:
|
![]() ![]() | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() | ||||||
กำลัง | |||||||
เครื่องบินขับไล่ 716 ลำ ตลอดช่วงเวลาของการทัพ[2] | เครื่องบินขับไล่ ป. 2,000 ลำ ตลอดช่วงเวลาของการทัพ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เครื่องบินขับไล่ 369 ลำ(อากาศ) เครื่องบินขับไล่ 64 ลำ (พื้นดิน)[2] เรือรบ 1 ลำ[3] เรือบรรทุกอากาศยาน 2 ลำ[3] เรือลาดตระเวน 4 ลำ[4] เรือพิฆาต 19 ลำ[4] เรือดำน้ำ 38 ลำ[3] นักบิน 2,301 นายที่เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ[5] อาคารบ้านเรือน 30,000 หลังที่ถูกทำลายหรือเสียหาย[6] พลเรือน 1,300 คนที่เสียชีวิต[6] |
เครื่องบินเยอรมัน 357 ลำ เครื่องบินอิตาลี 175 ลำ[2] สูญเสียกองเรือขนส่งของกองทัพเรืออิตาลี คิดเป็น 72 เปอร์เซ็นต์ สูญเสียกองเรือเดินสมุทรของฝ่ายอักษะ คิดเป็น 23 เปอร์เซ็นต์[7] จมเรือเดินสมุทร 2,304 ลำ[8] มีผู้เสียชีวิตที่ทะเล 17,240 คน[9] ~เรืออูของเยอรมัน 50 ลำ(ในปฏิบัติการในเขตสงครามเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลางทั้งหมด)[3] เรือดำน้ำอิตาลีสูญเสีย~16 ลำ[3] |
การล้อมมอลตา ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการทัพทางทหารในเขตสงครามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ถึง เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1942 การสู้รบเพื่อควบคุมเกาะมอลตาที่มีสำคัญทางยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นดินแดนอาณานิคมของบริติช การสู้รบระหว่างกองทัพอากาศและกองทัพเรือของอิตาลีและเยอรมันเข้าปะทะกับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร (RAF) และราชนาวี
การเปิดฉากแนวรบใหม่ในแอฟริกาเหนือในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ได้เพิ่มความสำคัญต่อมอลตามากขึ้นแล้ว กองทัพอากาศและกองทัพเรือบริติชบนเกาะได้เข้าโจมตีเรือฝ่ายอักษะที่ขนเสบียงทีสำคัญและการเสริมกำลังจากยุโรป เชอร์ชิลได้เรียกเกาะแห่งนี้ว่า"เรือบรรทุกเครื่องบินที่ไม่มีวันจม"[10] นายพลแอร์วีน ร็อมเมิล ในฐานะผู้บัญชาการภาคสนามโดยพฤตินัยของกองทัพฝ่ายอักษะในแอฟริกาเหนือ ได้ตระหนักความสำคัญอย่างรวดเร็ว ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1941 เขาได้กล่าวเตือนว่า "หากปราศจากมอลตา ฝ่ายอักษะจะต้องพบจุดจบโดยสูญเสียการควบคุมแอฟริกาเหนือ"[1]
ฝ่ายอักษะได้ตัดสินใจที่จะทำการทิ้งระเบิดหรือไม่ก็ปิดล้อมเกาะมอลตาจนกว่าฝ่ายตรงข้ามจะยอมจำนน โดยทำการโจมตีท่าเรือ เมือง นคร และเรือขนส่งของฝ่ายสัมพันธมิตรที่คอยส่งเสบียงมายังเกาะ มอลตาเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนาแน่นที่สุดในสงคราม ลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากาศเยอรมัน) และ Regia Aeronautica (กองทัพอากาศอิตาลี) ได้ทำการบินทิ้งระเบิดทั้งหมด 3,000 ครั้ง ทิ้งระเบิดจำนวน 6,700 ตัน บริเวณแกรนด์ฮาร์เบอร์เพียงลำพัง ในช่วงเวลาสองปีในความพยายามทำลายการป้องกันของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรและท่าเรือ ความสำเร็จที่น่าจะเป็นไปได้ที่จะทำการยกพลขึ้นบกของกองกำลังผสมของเยอรมัน-อิตาลี (ปฏิบัติการเฮอร์คิวริส) ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทหารโดดร่มเยอรมัน (ฟัลเชียร์มเยเกอร์) แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้น ในเหตุการณ์นี้ กองเรือขนส่งของฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถขนส่งเสบียงและเสริมกองกำลัง ในขณะที่กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรทำการปกป้องน่านฟ้าบนเกาะ แม้ว่าราคาที่ดีในวัสดุและชีวิต ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1942 ฝ่ายอักษะได้พบความปราชัยที่ยุทธการที่อัลอะละมัยน์ครั้งที่สอง และกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรทำการยกพลขึ้นบกในโมร็อกโกและอัลจีเรียของวิชีฝรั่งเศส ภายใต้ปฏิบัติการคบเพลิง ฝ่ายอักษะได้หันเหความสนใจไปที่ยุทธการที่ตูนีเซียและการโจมตีมอลตาก็ได้ลดความสำคัญอย่างรวดเร็ว การปิดล้อมได้สิ้นสุดลงอย่างมีประสิทธิภาพในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1942[1]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1942 กองทัพอากาศและกองทัพเรือได้เปิดฉากจากมอลตาเพื่อทำการรุก เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 พวกเขาได้จมเรือฝ่ายอักษะ 230 ลำใน 164 ลำ อัตราการจมเรือที่สูงของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงคราม ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในมอลตามีบทบาทสำคัญในความสำเร็จในแอฟริกาเหนือ[11]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Taylor 1974, p. 182.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Bungay 2002, p. 64.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Spooner 1996, p. 5.
- ↑ 4.0 4.1 Spooner 1996, p. 3.
- ↑ Spooner 1996, p. 8.
- ↑ 6.0 6.1 Spooner 1996, p. 11.
- ↑ Bungay 2002, p. 66.
- ↑ Spooner 1996, p. 343.
- ↑ Spooner 1996, p. 326.
- ↑ Nora Boustany (July 13, 2001). "The Consummate Diplomat Wants Malta on the Map". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
- ↑ Spooner 1996, p. 337.