การสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์
การสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์[Note 1] (อังกฤษ: presumption of innocence) เป็นหลักกฎหมายซึ่งถือว่า ทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา จะต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผิดจริง ตามหลักนี้ผู้กล่าวหามีภาระต้องพิสูจน์ข้อกล่าวหานั้นด้วยการเสนอพยานหลักฐานที่ทำให้ผู้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเชื่อมั่นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดจริง ถ้าไม่สามารถพิสูจน์เช่นนั้นจนสิ้นข้อสงสัยตามสมควร ก็จะต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่ผู้ถูกกล่าวหา โดยตัดสินว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่มีผิด และปล่อยตัวผู้ถูกกล่าวหาไป[1] หลักนี้มีหลักตรงกันข้าม คือ การสันนิษฐานว่าผิด
ในทางประวัติศาสตร์ หลักกฎหมายนี้ปรากฏในระบบกฎหมายของหลายอารยธรรม เช่น ใน ประชุมกฎหมายแพ่ง ของพระเจ้าจัสติเนียนที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 6 นั้น มีหลักทั่วไปในเรื่องพยานหลักฐานว่า "การพิสูจน์ตกอยู่กับผู้กล่าวอ้าง มิใช่ผู้ปฏิเสธข้อกล่าวอ้าง"[2][3] และต่อมาจักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุสแห่งจักรวรรดิเดียวกัน ได้นำหลักการนี้เข้าบรรจุไว้ในกฎหมายอาญา[4] ในปัจจุบันหลายประเทศที่ใช้กฎหมายระบบซีวิลลอว์ซึ่งแตกแขนงออกมาจากกฎหมายโรมันนั้น ได้รับหลักกฎหมายนี้ไว้ในกฎหมายของตน ในจำนวนนี้รวมถึงประเทศจีน[5] ประเทศบราซิล[6] ประเทศโปแลนด์[7] ประเทศฝรั่งเศส[8] ประเทศฟิลิปปินส์[9] ประเทศโรมาเนีย[10] ประเทศสเปน[11] และประเทศอิตาลี[12][13]
ส่วนในประเทศไทยนั้น ถือหลักตรงกันข้ามมาแต่โบราณว่า "ให้สันนิษฐานว่าผิดไว้ก่อน" ทำให้ทันทีที่บุคคลถูกกล่าวหาก็จะถูกปฏิบัติราวกับเป็นผู้ผิด และมีการพิสูจน์ความผิดด้วยการทรมานอันเรียกว่า จารีตนครบาล หรือการอ้างอำนาจเหนือธรรมชาติ[14][15] จนกระทั่งยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่อ พ.ศ. 2439 โดยทรงเห็นว่า เป็นวิธีที่ "เสื่อมเสียยุติธรรม"[16] แต่ก็มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า ประเทศไทยในปัจจุบันยังมีการปฏิบัติต่อบุคคลโดยขัดต่อหลักการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์[17][18]
ในระดับสากลนั้น การสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์เป็นสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 11[19]
หมายเหตุ
อ้างอิง
- ↑ Mueller, Christopher B.; Laird C. Kirkpatrick (2009). Evidence; 4th ed. Aspen (Wolters Kluwer). ISBN 978-0-7355-7968-2. pp. 133–34.
- ↑ "Digesta seu Pandectae 22.3.2". Grenoble: Université Pierre-Mendès-France. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-28. สืบค้นเมื่อ 2010-10-13.
- ↑ Watson, Alan, บ.ก. (1998) [1985]. "22.3.2". The Digest of Justinian. Philadelphia: University of Pennsylvania Press. ISBN 0-8122-1636-9.
- ↑ See Bury, p. 527
- ↑ "CRIMINAL PROCEDURE LAW OF THE PEOPLE'S REPUBLIC OF CHINA|date=August 2001". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-24. สืบค้นเมื่อ 2021-12-24.
- ↑ Decree-Law 3689|date=August 2012
- ↑ "National Constitutional Law Related to Article 48 – Presumption of Innocence and Right to Defence". European Union Agency for Fundamental Rights. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-11. สืบค้นเมื่อ 2011-05-16.
- ↑ Code de procédure pénale, article préliminaire (ในภาษาฝรั่งเศส)
- ↑ People vs. Masalihit, decision of the Supreme Court of The Philippines เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Constitution of Romania, Article 23". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-04. สืบค้นเมื่อ 2013-06-13.
- ↑ Valentin Anders (2010-09-08). "Latin legal maxims in Spanish". Latin.dechile.net. สืบค้นเมื่อ 2010-10-13.
- ↑ "ForoEuropo Italia". Foroeuropeo.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-11. สืบค้นเมื่อ 2010-10-13.
- ↑ "Assomedici.It". Assomedici.It. 1993-01-29. สืบค้นเมื่อ 2010-10-13.
- ↑ "ปมใน "กฎหมายสยาม" ตั้งแต่ปลายอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ ที่ล่อเป้าฝรั่งผิวขาว". ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มติชน. 2563-08-30. สืบค้นเมื่อ 2564-12-24.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อาทิตย์ ศรีจันทร์ (2564-05-05). ""ดำน้ำลุยเพลิง" วิธีพิจารณาคดีความสมัยโบราณของไทย สิ่งศักดิ์สิทธิ์คือผู้พิพากษา". ศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มติชน. สืบค้นเมื่อ 2564-12-24.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชบัญญัติยกเลิกวิธีพิจารณาโจรผู้ร้ายตามจารีตนครบาล ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ. 115". ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ. 13 (48): 573–576. 2439-03-08.
- ↑ เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล (2564-09-29). "การพิจารณาคดีอย่าง (ไม่) เป็นธรรม ในระบบกฎหมายสมัยใหม่ของไทย". The Momentum. กรุงเทพฯ: The Momentum. สืบค้นเมื่อ 2564-12-24.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "6 ส.ส. 'ก้าวไกล' หนุน พ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมานและอุ้มหาย – 'โรม' ย้ำ เป็นกฎหมายสำคัญต่อการคุ้มครองประชาชน เหน็บยุค คสช. หาย 9 ราย แต่รอจนมีเหตุ 'ผู้กำกับโจ้' สภาจึงพิจารณา". พรรคก้าวไกล. กรุงเทพฯ: พรรคก้าวไกล. 2564-09-16. สืบค้นเมื่อ 2564-12-24.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (2557). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (PDF) (2 ed.). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. pp. 20–21. ISBN 9789749477489.
- ↑ สุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล (ม.ป.ป.). "การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของเหยื่อหรือผู้เสียหายโดยกระบวนการยุติธรรม" (PDF). สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. p. 19. สืบค้นเมื่อ 2564-12-24.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|year=
(help) - ↑ ไกรพล อรัญรัตน์ (2555-12-02). "ผลกระทบของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 12/2555 ต่อความสามารถในการแสวง หาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยในคดีอาญา". public-law.net. กรุงเทพฯ: public-law.net. สืบค้นเมื่อ 2564-12-24.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พีระศักดิ์ พอจิต (ม.ป.ป.). "สิทธิมนุษยชนในหลายมิติ" (PDF). สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. p. 3. สืบค้นเมื่อ 2564-12-24.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|year=
(help) - ↑ ปกป้อง ศรีสนิท (2563-02-24). "สิทธิของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ: หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์". the101.world. กรุงเทพฯ: ดิ วันโอวัน เปอร์เซนต์. สืบค้นเมื่อ 2564-12-24.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชบัณฑิตยสถาน (2545-03-11). "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". dict.longdo.com. กรุงเทพฯ: Metamedia Technology. สืบค้นเมื่อ 2564-12-24.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ admin010 (2564-05-05). "หลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์: ความหมายเชิงหลักการและความเป็นจริงในคดีที่เกี่ยวข้องกับการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ". ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน. สืบค้นเมื่อ 2564-12-24.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ศาสตรกวิน ลภัสรดาเศรษฐ์ (2560-02-24). "ศาลเปิดโมเดลการฝากขังและปล่อยชั่วคราวใหม่ นำร่อง 5 จังหวัด ชี้ต้องรื้อระบบเงินซื้ออิสรภาพได้ "คุกมีไว้ขังคนจน"". ไทยพับลิก้า. กรุงเทพฯ: ไทยพับลิก้า. สืบค้นเมื่อ 2564-12-24.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)