การส่งผู้ร้ายข้ามแดน

การส่งผู้ร้ายข้ามแดน (อังกฤษ: extradition) เป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งประเทศหนึ่งส่งส่งตัวผู้ต้องสงสัยหรือผู้ต้องโทษไปประเทศอื่น การส่งผู้ร้ายข้ามแดนปกติมีสนธิสัญญาระหว่างประเทศวางระเบียบ เมื่อกฎหมายบังคับให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน เช่น ในระหว่างเขตอำนาจต่ำกว่าชาติ มโนทัศน์นี้ทั่วไปอาจรู้จักว่า การส่งผู้ร้ายข้ามรัฐ (rendition) เป็นกลไกโบราณ สืบย้อนไปถึงศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสตกาล เมื่อฟาโรห์อียิปต์ แรเมซีสที่ 2 ทรงเจรจาสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับพระมหากษัตริย์ฮิตไทต์ ฮัททูซิลีที่ 3

รัฐเอกราช (รัฐที่ขอ) ตรงแบบยื่นคำขออย่างเป็นทางการต่อรัฐเอกราชอีกรัฐหนึ่ง (รัฐที่ถูกขอ) ผ่านกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดน หากพบผู้หลบหนีคดีอาญาในดินแดนขอรัฐที่ถูกขอ แล้วรัฐที่ถูกขออาจจับกุมผู้หลบหนีคดีอาญาและทำให้ผู้นั้นอยู่ใต้บังคับแห่งกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดน กระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่จะใช้กับผู้หลบหนีคดีอาญานั้นขึ้นอยู่กับกฎหมายและการปฏิบัติของรัฐที่ถูกขอ

ประวัติ

การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเริ่มมีตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 โดยสนธิสัญญาอียิปต์กับฮิทไทท์ สนธิสัญญาแรเมซีส-ฮัททูซิลี ที่ทำขึ้นในปี 1280 ที่กล่าวถึงให้ประเทศส่งศัตรูทางการเมืองที่หลบหนีไปอยู่ในประเทศ

การส่งผู้ร้ายข้ามแดนในประเทศไทย

เริ่มบังคับใช้ครั้งแรก ปรากฎในสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทยกับอังกฤษ ร.ศ. 129 (พ.ศ.2453)[1]ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการระบุฐานความผิดไว้ 31 ความผิด เช่นความผิดฆ่าคนตายโดยเจตนา ปลอมเงินตรา ข่มขืนกระทำชำเรา เป็นต้น[2] และตราเป็นพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 และถูกยกเลิกเป็นพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551[3]