การเมืองฝ่ายซ้าย–ฝ่ายขวา
คำว่า ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวา (อังกฤษ: left-right politics) เป็นระบบจำแนกจุดยืน อุดมการณ์ทางการเมืองและพรรคการเมือง การเมืองฝ่ายซ้ายและการเมืองฝ่ายขวามักถูกนำเสนอว่าขัดแย้งกัน แม้ว่าปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มอาจมีจุดยืนฝ่ายซ้ายในประเด็นหนึ่ง และจุดยืนฝ่ายขวาในอีกประเด็นหนึ่งก็ได้ ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นที่กำเนิดของคำดังกล่าว ฝ่ายซ้ายถูกเรียกว่า "ขบวนการเคลื่อนไหว" (party of movement) และฝ่ายขวาถูกเรียกว่า "ขบวนการระเบียบ" (party of order)[1][2][3][4] จุดยืนแบบเป็นกลางเรียกว่า สายกลาง (centrism) และบุคคลที่มีจุดยืนดังกล่าวเรียกว่า กลุ่มสายกลางหรือผู้เดินสายกลาง (moderate)
มีความเห็นพ้องทั่วไปว่า
- ฝ่ายซ้าย รวมถึง คอมมิวนิสต์ กลุ่มก้าวหน้า เสรีนิยมคลาสสิค สังคมนิยมเสรี สังคมนิยม อิสรนิยมฝ่ายซ้าย ฆราวาสนิยม ลัทธิต่อต้านทุนนิยม และอนาธิปไตย[5][6][7][8]
- ฝ่ายขวา รวมถึง ทุนนิยม อนุรักษนิยม อนุรักษนิยมใหม่ ประเพณีนิยม เสรีนิยมใหม่ อิสรนิยมฝ่ายขวา อำนาจนิยมฝ่ายขวา กษัตริย์นิยม เทวาธิปไตย ชาตินิยม นาซี (รวมถึงนาซีใหม่) การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ และ ฟาสซิสต์[9]
อ้างอิง
- ↑ Knapp & Wright, p. 10
- ↑ Adam Garfinkle, Telltale Hearts: The Origins and Impact of the Vietnam Antiwar Movement (1997). Palgrave Macmillan: p. 303.
- ↑ "Left (adjective)" and "Left (noun)" (2011), Merriam-Webster Dictionary.
- ↑ Roger Broad, Labour's European Dilemmas: From Bevin to Blair (2001). Palgrave Macmillan: p. xxvi.
- ↑ JoAnne C. Reuss, American Folk Music and Left-Wing Politics, The Scarecrow Press, 2000, ISBN 978-0-8108-3684-6
- ↑ Van Gosse, The Movements of the New Left, 1950 – 1975: A Brief History with Documents, Palgrave Macmillan, 2005, ISBN 978-1-4039-6804-3
- ↑ Berman, Sheri. "Understanding Social Democracy". http://www8.georgetown.edu/centers/cdacs//bermanpaper.pdf เก็บถาวร 2009-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved on 2007-08-11.
- ↑ Brooks, Frank H. (1994). The Individualist Anarchists: An Anthology of Liberty (1881–1908). Transaction Publishers. p. xi. "Usually considered to be an extreme left-wing ideology, anarchism has always included a significant strain of radical individualism...
- ↑ The Concise Columbia Encyclopedia, Columbia University Press, ISBN 0-231-05678-8