ข้อมูลมหัต

ภาพข้อมูลการแก้ไขวิกิพีเดีย สร้างโดยไอบีเอ็ม ข้อมูลหลายเทราไบต์ที่มีทั้งข้อความและรูปภาพของวิกิพีเดียเป็นตัวอย่างที่แพร่หลายของ big data

ในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลมหัต หรือ ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือนิยมทับศัพท์ บิ๊กเดทา, บิ๊กดาต้า (อังกฤษ: Big data) [1][2][3] คือชุมนุมของชุดข้อมูลที่มีขนาดและความซับซ้อนมาก จนมันยากที่จะประมวลผลได้ด้วยเครื่องมือจัดการฐานข้อมูลที่มีอยู่ ความท้าทายนี้รวมถึงการจับบันทึก การจัดเก็บ[4] การค้นหา การแบ่งปัน การวิเคราะห์[5] และการวาดภาพข้อมูล แนวโน้มของชุดข้อมูลต่าง ๆ ที่ใหญ่ขึ้นเป็นผลจากสารสนเทศเพิ่มเติมที่ได้มาจากการวิเคราะห์ชุดข้อมูลชุดใหญ่ชุดเดียวของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน เทียบกับชุดข้อมูลย่อยๆ หลายชุดที่แยกจากกันที่มีขนาดรวมกันแล้วเท่ากัน สิ่งนี้อนุญาตให้ความเชื่อมโยงถูกค้นพบได้ เพื่อ "หาแนวโน้มทางธุรกิจ ตัดสินคุณภาพของงานวิจัย ป้องกันโรค วิเคราะห์การอ้างอิงกฎหมาย ต่อสู้กับอาชญากรรม และบอกสภาพการจราจรตามเวลาจริง"[6][7][8]

อ้างอิง

  1. White, Tom (10 May 2012). Hadoop: The Definitive Guide. O'Reilly Media. p. 3. ISBN 978-1-4493-3877-0.
  2. "MIKE2.0, Big Data Definition". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-25. สืบค้นเมื่อ 2012-10-09.
  3. Grobelnik, Marko. "Big Data Tutorial".
  4. Kusnetzky, Dan. "What is "Big Data?"". ZDNet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-21. สืบค้นเมื่อ 2012-10-09.
  5. Vance, Ashley (22 April 2010). "Start-Up Goes After Big Data With Hadoop Helper". New York Times Blog.
  6. Cukier, K. (25 February 2010). "Data, data everywhere". The Economist.
  7. "E-Discovery Special Report: The Rising Tide of Nonlinear Review". Hudson Global. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-03. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012. by Cat Casey and Alejandra Perez
  8. "What Technology-Assisted Electronic Discovery Teaches Us About The Role Of Humans In Technology — Re-Humanizing Technology-Assisted Review". Forbes. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น