คริปโทเคอร์เรนซี

คริปโทเคอร์เรนซี[1] หรือ เงินตราเข้ารหัสลับ (อังกฤษ: cryptocurrency, crypto currency) เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งออกแบบให้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ที่ใช้วิทยาการเข้ารหัสลับเพื่อรับประกันธุรกรรม เพื่อควบคุมการสร้างหน่วยเงินเพิ่ม และเพื่อยืนยันความถูกต้องของการโอนทรัพย์[2][3][4] เป็นรูปแบบหนึ่งของเงินดิจิทัล (digital currency) เงินทางเลือก (alternative currency) และเงินเสมือน (virtual currency) เป็นเงินที่ควบคุมโดยกระจายศูนย์กลาง[5] เทียบกับเงินดิจิทัลที่ควบคุมโดยศูนย์กลาง หรือกับระบบธนาคารกลาง[6] การควบคุมแบบกระจายศูนย์จะทำผ่านบล็อกเชน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลธุรกรรมสาธารณะ โดยใช้เป็นบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย[7]

บิตคอยน์ที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2009 เป็นคริปโทเคอร์เรนซีแบบกระจายศูนย์สกุลแรก[8] ตั้งแต่นั้นมา ก็มีคริปโทเคอร์เรนซีสกุลอื่น ๆ ที่สร้างขึ้นอีกมากมาย[9] บ่อยครั้งเงินสกุลเหล่านี้จะเรียกในภาษาอังกฤษว่า altcoins โดยเป็นคำผสมจากคำว่า alternative coin (เหรียญทางเลือก)[10][11][12]

นิยาม

แผนผังแบบทำให้ง่ายซึ่งแสดงโซ่ความเป็นเจ้าของหน่วยเงินบิตคอยน์[13] แต่ในบล็อกเชนของบิตคอยน์จริง ๆ ธุรกรรมหนึ่ง ๆ สามารถมีข้อมูลธุรกรรมขาเข้ามากกว่าหนึ่ง และมีข้อมูลขาออกมากกว่าหนึ่ง

ตามนักวิชาการผู้หนึ่ง คริปโทเคอร์เรนซีเป็นระบบที่เข้าเกณฑ์ 6 อย่าง คือ[14]

  1. ระบบไม่จำเป็นต้องมีศูนย์กลาง ข้อมูลที่กระจายจะทำให้สามารถถึงความเห็นพ้อง/ความเห็นข้างมากเกี่ยวกับสถานะปัจจุบัน (ดูตัวอย่างที่ การตราเวลาสำหรับบิตคอยน์)
  2. ระบบจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยคริปโทเคอร์เรนซีและผู้ที่เป็นเจ้าของ
  3. ระบบจะกำหนดว่า หน่วยคริปโทเคอร์เรนซีใหม่จะสร้างขึ้นได้หรือไม่ ถ้าหน่วยเงินใหม่สามารถสร้างได้ ระบบจะกำหนดแหล่งกำเนิดและกำหนดว่าใครเป็นเจ้าของหน่วยเงินใหม่
  4. ความเป็นเจ้าของในหน่วยเงินแต่ละหน่วยจะสามารถพิสูจน์อย่างสิทธิ์ขาดตามวิทยาการเข้ารหัสลับ
  5. ระบบจะอนุญาตให้ทำธุรกรรมที่สามารถเปลี่ยนเจ้าของหน่วยเงินได้ โดยข้อความสั่งธุรกรรมจะสามารถทำได้โดยบุคคลที่สามารถพิสูจน์ความเป็นเจ้าของหน่วยเงินเหล่านั้น
  6. ถ้ามีคำสั่งเปลี่ยนเจ้าของสำหรับเงินหน่วยหนึ่ง ๆ เข้ามาในระบบพร้อม ๆ กัน ระบบจะทำการตามคำสั่งเดียวเท่านั้นเป็นอย่างมาก (ดูตัวอย่างที่ การตราเวลาสำหรับบิตคอยน์)

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2018 คำว่า cryptocurrency ก็ได้เพิ่มเข้าในพจนานุกรม Merriam-Webster[15]

ภาพรวม

คริปโทเคอร์เรนซีที่กระจายศูนย์จะสร้างโดยระบบคริปโทเคอร์เรนซีรวม ๆ กัน ในอัตราที่กำหนดเมื่อสร้างระบบและเป็นเรื่องที่รู้กันโดยสาธารณะ ในระบบธนาคารกลาง คณะกรรมการบริษัทหรือรัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมอุปทานของเงินโดยออกเงินตราที่ไม่มีมูลค่าในตัวเอง หรือโดยสั่งให้เพิ่มเงินในบัญชีแยกประเภทของธนาคารดิจิทัล เทียบกับคริปโทเคอร์เรนซีที่กระจายศูนย์ ซึ่งบริษัทและรัฐบาลจะไม่สามารถสร้างหน่วยใหม่ ๆ และยังไม่รับประกันให้แก่องค์กรต่าง ๆ รวมทั้งบริษัทหรือธนาคารซึ่งมีสินทรัพย์เป็นคริปโทเคอร์เรนซี เทคนิคที่ใช้ควบคุมคริปโทเคอร์เรนซีแบบกระจายศูนย์ เป็นผลงานของกลุ่มบุคคลหรือบุคคลที่รู้จักว่าซะโตชิ นะกะโมโต[16] โดยเดือนกันยายน ค.ศ. 2017 มีคริปโทเคอร์เรนซีกว่าพันสกุล ส่วนมากจะคล้ายกับและเป็นเงินอนุพันธ์ของคริปโทเคอร์เรนซีที่สร้างอย่างสมบูรณ์สกุลแรก คือ บิตคอยน์

ภายในระบบคริปโทเคอร์เรนซี ความปลอดภัย บูรณภาพ และดุลของบัญชีแยกประเภท จะดำรงเก็บรักษาโดยกลุ่มบุคคลที่ไม่ไว้ใจซึ่งกันและกันที่เรียกว่า ไมเนอร์/คนขุดหาเหรียญ ส่วนบุคคลทั่วไปจะใช้คอมพิวเตอร์ของไมเนอร์/คนขุดหาเหรียญ เพื่อยืนยันความถูกต้องของและตราเวลาแก่ธุรกรรม เป็นการเพิ่มธุรกรรมลงยังบัญชีแยกประเภทตามกระบวนการตราเวลาบางอย่าง[17] คนขุดหาเหรียญได้ผลประโยชน์ในการดำรงรักษาความปลอดภัยของบัญชีแยกประเภท[16] คือได้เหรียญที่ขุดได้และ/หรือค่าธรรมเนียมของธุรกรรม[18]

คริปโทเคอร์เรนซีโดยมากได้ออกแบบให้ค่อย ๆ ลดการสร้างหน่วยเงินใหม่ ซึ่งเท่ากับกำหนดจำนวนเงินมากที่สุดที่จะมีให้ใช้ เป็นการเลียนแบบสถานการณ์ของโลหะมีค่า[2][19] เช่น บิตคอยน์ออกแบบให้มีเงินในระบบมากที่สุด 21 ล้านเหรียญ[20]

เทียบกับเงินธรรมดาที่เก็บโดยสถาบันการเงินหรือบุคคลต่าง ๆ เจ้าหน้าที่บ้านเมืองอาจเข้ายึดคริปโทเคอร์เรนซีได้ยากกว่า[2] ซึ่งเกิดจากการใช้เทคโนโลยีวิทยาการเข้ารหัสลับ

สถาปัตยกรรม

บล็อกเชน

แผนภาพของบล็อกเชน (หรือโซ่บล็อก) สายโซ่หลักมีบล็อกต่อกันยาวสุดตั้งแต่บล็อกเริ่มต้น (สีเขียว) จนถึงบล็อกปัจจุบัน บล็อกกำพร้า (สีม่วง) จะอยู่นอกโซ่หลัก

ความถูกต้องของหน่วยคริปโทเคอร์เรนซีแต่ละหน่วยจะยืนยันโดยบล็อกเชน ซึ่งเป็นรายการระเบียนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเรียกว่า บล็อก ที่เชื่อมกันเป็นลูกโซ่และรับประกันโดยวิทยาการเข้ารหัสลับ[16][21] บล็อกแต่ละบล็อกปกติจะมีตัวชี้แบบแฮชไปยังบล็อกที่มาก่อน[21] ตราเวลา และข้อมูลธุรกรรม[22]

ตามการออกแบบ บล็อกเชนจะทนทานต่อการเปลี่ยนข้อมูล คือมันเป็น "บัญชีแยกประเภทแบบกระจายและเปิด ที่สามารถบันทึกธุรกรรมระหว่างคู่กรณีสองบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพและโดยวิธีที่พิสูจน์ความถูกต้องได้และถาวร"[23]

เพื่อใช้เป็นบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย บล็อกเชนจะบริหารจัดการโดยเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ที่ร่วมใช้เกณฑ์วิธีเดียวกันเพื่อยืนยันพิสูจน์บล็อกใหม่ ๆ เมื่อบันทึกแล้ว ข้อมูลที่อยู่ในบล็อกไม่สามารถแก้ย้อนหลังโดยไม่เปลี่ยนบล็อกที่เชื่อมต่อ ๆ มาทั้งหมด ซึ่งจำเป็นต้องได้การสมรู้ร่วมคิดของสถานีโดยมากในเครือข่าย

บล็อกเชนออกแบบตั้งแต่ต้นให้ปลอดภัยรับประกันได้ (secure by design) และเป็นตัวอย่างของระบบคอมพิวเตอร์แบบกระจายที่ทนความผิดพร่องแบบไบแซนไทน์ (Byzantine fault tolerance)[A] ได้สูง ดังนั้น บล็อกเชนจึงสามารถให้ความเห็นพ้องแบบไม่รวมศูนย์ได้[27] เป็นระบบที่แก้ปัญหาใช้จ่ายเกินครั้ง (Double-spending)[B] โดยไม่จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามที่เชื่อใจหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง

การตราเวลา (Timestamping)

คริปโทเคอร์เรนซีจะใช้แผนการตราเวลาต่าง ๆ เพื่อเลี่ยงความจำเป็นต้องมีบุคคลที่สามที่เชื่อใจเพื่อตราเวลาธุรกรรมที่จะเพิ่มใส่ในบัญชีจำแนกประเภทคือบล็อกเชน

แผนการ Proof-of-work

แผนการตราเวลาแรกที่ประดิษฐ์ขึ้นก็คือ วิธี proof-of-work[C] และวิธีการคำนวณที่ใช้มากที่สุดจะเป็นแบบ SHA-256 และ scrypt[29] โดยแบบหลังปัจจุบันเป็นแบบที่ใช้มากที่สุดในระบบคริปโทเคอร์เรนซี คือมีการประยุกต์ใช้ถึง 480 ระบบ[30]

ฟังก์ชันแฮชอื่น ๆ ที่ใช้สำหรับ proof-of-work รวมทั้ง CryptoNight, Blake, SHA-3, และ X11

Proof-of-stake และแผนผสมต่าง ๆ

คริปโทเคอร์เรนซีบางสกุลใช้แผน proof-of-work[C]/proof-of-stake[D] ผสมกัน[29] proof-of-stake เป็นวิธีการรับประกันเครือข่ายคริปโทเคอร์เรนซีให้ได้ความเห็นพ้องแบบกระจาย ผ่านการบังคับให้ผู้ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของเงินจำนวนหนึ่ง (คือให้แสดง stake)[32] เป็นวิธีที่แตกต่างจาก proof-of-work ซึ่งต้องกราดคำนวณหาค่าแฮชที่ยากเพื่อยืนยันพิสูจน์ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แผนการจะขึ้นอยู่กับสกุลเงิน และปัจจุบันก็ยังไม่มีมาตรฐานของขั้นตอนวิธีนี้

ฮาร์ดแวร์พิเศษที่ใช้เพื่อ "ขุดหา" คริปโทเคอร์เรนซี

การขุดหาเหรียญ (Mining)

ในเครือข่ายคริปโทเคอร์เรนซี mining (การขุดหาเหรียญ) เป็นการยืนยันพิสูจน์ธุรกรรม เนื่องกับการทำงานให้เช่นนี้ ผู้ขุดหาเหรียญก็จะได้คริปโทเคอร์เรนซีใหม่เป็นรางวัล รางวัลจะลดค่าธรรมเนียมธุรกรรมโดยสร้างแรงจูงใจเสริมให้ออกแรงประมวลผลเพื่อเครือข่าย

อัตราการคำนวณค่าแฮช ซึ่งเป็นตัวยืนยันพิสูจน์ธุรกรรม ได้เพิ่มขึ้น (คือการคำนวณใช้เวลาน้อยลง) เนื่องจากการใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น เอฟพีจีเอ และ Application-specific integrated circuit (ASIC) เพื่อคำนวณขั้นตอนวิธีแฮชที่ซับซ้อน เช่น SHA-256 และ Scrypt[33] การแข่งขันในทางอาวุธเพื่ออุปกรณ์ที่ถูกกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่การเริ่มใช้คริปโทเคอร์เรนซีแรก คือ บิตคอยน์ ตั้งแต่ปี 2009[33] เมื่อมีคนมากขึ้นลงทุนในวงการเงินเสมือน การคำนวณค่าแฮชเพื่อยืนยันพิสูจน์เช่นนี้ก็เพิ่มความซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ ตามปีที่ผ่านไปและตามเกณฑ์กำหนดของระบบ โดยคนขุดหาเหรียญก็จำต้องลงทุนมากขึ้นเพื่อใช้ ASIC ความเร็วสูงเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เงินที่ได้เนื่องจากการคำนวณค่าแฮชบ่อยครั้งไม่คุ้มกับทุนที่ใช้เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ เพื่ออุปกรณ์ลดความร้อนมหาศาลที่สร้างโดยอุปกรณ์พิเศษ และเพื่อค่าไฟฟ้า[33][34]

คนขุดหาเหรียญบ่อยครั้งจะใช้ทรัพยากรร่วมกัน คือ แชร์กำลังการประมวลผลร่วมกันทางเครือข่ายและแบ่งรางวัลอย่างเสมอภาคกันตามงานที่ตนทำเพื่อสร้างบล็อกใหม่ ดังนั้น ก็จะมีการให้แชร์แก่คนขุดหาเหรียญที่แสดง proof-of-work ได้เป็นบางส่วน

บริษัทหนึ่งได้ตั้งศูนย์ข้อมูลเพื่อขุดหาเหรียญ ณ ที่ขุดเจาะหาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในแคนาดา เพราะได้ราคาแก๊สที่ถูกกว่า[35]

เพราะปัญหาทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่อาจมีเนื่องกับการขุดหาเหรียญ จึงกำลังมีการพัฒนาระบบคริปโทเคอร์เรนซีที่ไม่จำเป็นต้องมีผู้ขุดหาเหรียญ[36][37][38] ไม่เหมือนกับบล็อกเชนธรรมดา คริปโทเคอร์เรนซีแบบ directed acyclic graph บางประเภทจะใช้ระบบ pay-it-forward ที่แต่ละคนจะต้องคำนวณอะไรที่ค่อนข้างยากเกี่ยวกับธุรกรรมสองอย่างที่เกิดล่วงหน้าเพื่อพิสูจน์ยืนยัน

โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2018 รัฐบาลจีนได้ระงับการแลกเปลี่ยนเงินเสมือน ห้ามการเสนอขายเบื้องต้น (ICO) และปิดบริษัทที่ขุดหาเหรียญ ดังนั้น ผู้ขุดหาเหรียญชาวจีนบางพวกจึงได้ย้ายบริษัทไปยังประเทศแคนาดา[39]

ตามรายงานของนิตยสาร ฟอร์ชูน เดือนกุมภาพันธ์ 2018[40] ประเทศไอซ์แลนด์ได้กลายเป็นแหล่งรวมผู้ขุดหาคริปโทเคอร์เรนซี โดยส่วนหนึ่งก็เพราะค่าไฟฟ้าราคาถูก ค่าใช้จ่ายจะจำกัดเพราะพลังงานในประเทศเกือบทั้งหมดมาจากแหล่งพลังงานทดแทน ทำให้บริษัทขุดหาเหรียญพิจารณาย้ายที่ไปยังประเทศเป็นจำนวนมากขึ้น อย่างไรก็ดี ความบ้าคริปโทเคอร์เรนซีอาจจะเกินไปหน่อยในประเทศ บริษัทพลังงานจึงกล่าวว่า การขุดหาเหรียญได้กลายเป็นเรื่องยอดฮิตจนกระทั่งว่า ได้ใช้พลังงานมากกว่าบ้านช่อง

ในเดือนมีนาคม 2018 เมืองในรัฐนิวยอร์กตอนเหนือได้พักการทำการของการขุดหาคริปโทเคอร์เรนซีเป็นเวลา 18 เดือนเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ "แบบลักษณะและทิศทาง" ของเมือง[41]

วอลเลต

คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต (cryptocurrency wallet) จะเก็บรหัสทั้งที่เป็นสาธารณะและส่วนตัว หรือเก็บ "เลขที่อยู่ต่าง ๆ " เพื่อสามารถใช้รับหรือใช้จ่ายคริปโทเคอร์เรนซี คือด้วยรหัสส่วนตัว ก็จะสามารถบันทึกธุรกรรมในบัญชีแยกประเภทที่เป็นสาธารณะ ซึ่งเท่ากับใช้จ่ายคริปโทเคอร์เรนซีที่สัมพันธ์กัน และด้วยรหัสสาธารณะ ก็จะทำให้ผู้อื่นส่งเงินมาที่วอลเลตนั้นได้

สภาวะนิรนาม

บิตคอยน์เป็นเงินแบบนิรนามเทียมเพราะคริปโทเคอร์เรนซีที่อยู่ในวอลเลตไม่ได้สัมพันธ์กับบุคคล แต่สัมพันธ์กับรหัสหนึ่งรหัสหรือมากกว่านั้น (หรือสัมพันธ์กับเลขที่อยู่ต่าง ๆ )[42] ดังนั้น เจ้าของบิตคอยน์จึงไม่สามารถระบุได้ แต่ธุรกรรมทั้งหมดก็จะปรากฏอยู่ในบล็อกเชนที่เป็นสาธารณะ[42] อย่างไรก็ดี ศูนย์แลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีบ่อยครั้งจะบังคับโดยกฎหมายให้เก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการ[42] มีการเสนอการเพิ่มบริการ เช่น Zerocoin ซึ่งจะทำให้ได้สภาวะนิรนามจริง ๆ[43][44][45] เมื่อไม่นานนี้ เทคโนโลยีนิรนามอื่น ๆ เช่น zero-knowledge proofs และ ring signatures ก็ได้นำมาใช้ในระบบคริปโทเคอร์เรนซีเช่น Zcash และ Monero ตามลำดับ

เศรษฐกิจ

มูลค่าตามราคาตลาดของคริปโทเคอร์เรนซี โดยวันที่ 27 มกราคม 2018 หน่วยเป็นพันล้านดอลลาร์สหรัฐ[46]

คริปโทเคอร์เรนซีจะใช้โดยหลักนอกสถาบันคือธนาคารและองค์กรของรัฐและมักจะแลกเปลี่ยนผ่านอินเทอร์เน็ต แม้การแลกเปลี่ยนมูลค่าแบบกระจายศูนย์นี้จะอยู่ในระยะพัฒนาการต้น ๆ แต่ก็มีโอกาสกลายเป็นตัวท้าท้ายระบบเงินตราและการแลกเปลี่ยนที่มีอยู่ โดยเดือนธันวาคม 2017 มูลค่าตามราคาตลาดของคริปโทเคอร์เรนซีมากกว่า 600,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 18.7 ล้านล้านบาท) และปริมาณแลกเปลี่ยนสูงสุดต่อวันได้เกิน 500,000 ล้านเหรียสหรัฐ (ประมาณ 15.6 ล้านล้านบาท) แล้ว[47]

การแข่งขันระหว่างคริปโทเคอร์เรนซี

โดยเดือนมกราคม 2018 มีคริปโทเคอร์เรนซีกว่า 1,384 สกุล[48] ที่อยู่ในตลาดและก็ยังมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ค่าธรรมเนียมสำหรับธุรกรรม

ค่าธรรมเนียมสำหรับธุรกรรมจะขึ้นอยู่กับอุปทานของสมรรถภาพเครือข่ายในเวลานั้น ๆ เทียบกับอุปสงค์ของเจ้าของเงินที่ต้องการทำธุรกรรมให้สำเร็จอย่างรวดเร็ว เจ้าของเงินสามารถเลือกจ่ายค่าธรรมเนียมตามความจำเป็น และสถานีในเครือข่ายก็สามารถเลือกทำธุรกรรมตามลำดับค่าธรรมเนียมตั้งแต่สูงสุดไปยังต่ำสุด ศูนย์แลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีสามารถทำให้ง่ายสำหรับเจ้าของเงินโดยให้บริการด่วน และดังนั้น เท่ากับกำหนดค่าธรรมเนียมที่ธุรกรรมน่าจะสำเร็จตามเวลาที่ต้องการ

สำหรับคริปโทเคอร์เรนซีอีเธอร์ (ether) ค่าธรรมเนียมธุรกรรมจะต่างกันขึ้นอยู่กับความซับซ้อนในการคำนวณ อัตราการส่งถ่ายข้อมูลและขนาดหน่วยเก็บข้อมูลที่ต้องใช้ เทียบกับบิตคอยน์ที่ธุรกรรมต่าง ๆ จะแข่งขันกันเพื่อการประมวลผลอย่างเท่าเทียมกัน[49] ในเดือนธันวาคม 2017 ค่าธรรมเนียมมัธยฐานของอีเธอร์อยู่ที่ $0.33 (ประมาณ 10 บาท) เทียบกับบิตคอยน์ที่ $23 (ประมาณ 693 บาท)[50]

ความถูกต้องตามกฎหมาย

ความถูกต้องตามกฎหมายของคริปโทเคอร์เรนซีจะต่างกันอย่างสำคัญระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยยังไม่ชัดเจนหรือยังเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ในหลายประเทศ แม้จะมีบางประเทศที่อนุญาตให้ใช้และแลกเปลี่ยนได้อย่างชัดแจ้ง[51] บางประเทศก็ได้ห้ามหรือจำกัดการใช้ และคล้าย ๆ กัน องค์กรของรัฐบาลต่าง ๆ รวมทั้งศาลก็พิจารณาบิตคอยน์ต่าง ๆ กัน ธนาคารกลางจีนได้ห้ามสถาบันการเงินในจีนไม่ให้บริหารจัดการบิตคอยน์ในช่วงการยอมรับที่เกิดอย่างรวดเร็วต้นปี 2014[52] ในรัสเซีย แม้คริปโทเคอร์เรนซีจะถูกกฎหมาย แต่การซื้อสินค้าด้วยเงินตรานอกเหนือจากรูเบิลก็ยังผิดกฎหมาย[53]

Cryptocurrency Alliance Super PAC เป็นองค์กรหนึ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภคเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี

สถานะทางภาษีในสหรัฐอเมริกา

วันที่ 25 มีนาคม 2014 หน่วยเก็บภาษีสหรัฐ (IRS) ได้ตัดสินว่า บิตคอย์จะปฏิบัติเหมือนกับทรัพย์สินเมื่อพิจารณาในเรื่องภาษี ซึ่งก็หมายความว่า อาจจะถูกเก็บภาษีกำไรส่วนทุน[54] ในงานศึกษาปี 2014 นักวิจัยได้แสดงว่า บิตคอยน์มีลักษณะบางอย่างเหมือนกับโลหะมีค่ามากกว่าเงินปกติ ดังนั้น จึงเข้ากับการตัดสินใจของ IRS แม้จะมีเหตุผลต่างกัน[55] โดยเป็นการตอบสนองต่อการตัดสินใจของ IRS จึงเกิดองค์กรต่าง ๆ มากมายเพื่อเป็นเสียงให้แก่ผู้บริโภค ตัวอย่างเด่นที่สุดก็คือ Cryptocurrency Alliance ในวอชิงตัน ดี.ซี. ที่มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีและเทคโนโลยีบล็อกเชน[56]

ยังมีปัญหาทางกฎหมายอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลต่าง ๆ โดยตรง เช่น เงินสกุล Coinye ได้ใช้นักร้องแร็ป คานเย เวสต์ เป็นโลโกโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อได้ยินถึงแผนการวางตลาดเงินสกุล Coinye ซึ่งดั้งเดิมเรียกว่า Coinye West (ฟังคล้ายชื่อนักร้อง) ทนายของคานเยได้ส่งจดหมายเพื่อให้หยุดและงดเว้นแก่ผู้พัฒนา Coinye ในวันที่ 6 มกราคม 2014 จดหมายอ้างว่า Coinye เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้า เป็นการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรม เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ต เป็นการละลายชื่อเสียง และสั่งให้ Coinye หยุดใช้ภาพเหมือนและชื่อของนักร้อง[57] ต่อมาวันที่ 17 มกราคม Coinye ก็ถึงจุดจบ[58]

ตัวอย่างหลักเรื่องปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีมาจากตลาดนิรนาม Silk Road ที่เจ้าของตลาดได้ซ่อนบิตคอยน์โดย "เก็บไว้ต่างหาก ๆ และ...เข้ารหัสลับ"[59]

ปัญหาเศรษฐกิจแบบไม่ควบคุม

เมื่อเงินออนไลน์ได้เพิ่มความนิยมและความต้องการเรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นใช้บิตคอยน์ในปี 2009[60] ก็เกิดความกังวลว่า เศรษฐกิจแบบทั่วโลกระหว่างบุคคลต่อบุคคลและคริปโทเคอร์เรนซีจะกลายเป็นอันตรายต่อสังคม โดยเฉพาะก็คือ เงินทางเลือกเช่นนี้จะกลายเป็นเครื่องมือของผู้ทำผิดกฎหมายนิรนาม[61]

เครือข่ายคริปโทเคอร์เรนซีมักจะไร้การควบคุมโดยกฎหมาย ซึ่งดึงดูดความสนใจของผู้ต้องการใช้เงินตราที่แลกเปลี่ยนกันโดยกระจายศูนย์ แต่ก็ถูกวิจารณ์ว่า เป็นตัวช่วยผู้ทำผิดกฎหมายผู้ต้องการหลีกเลี่ยงภาษีและต้องการฟอกเงิน

ธุรกรรมที่เกิดผ่านการใช้และแลกเปลี่ยนเงินทางเลือกเหล่านี้จะเป็นอิสระจากระบบธนาคารทั่วไป และดังนั้น อาจทำให้หลีกเลี่ยงภาษีได้ง่ายกว่า เนื่องจากการติดตามรายได้ที่ต้องเสียภาษีจะขึ้นอยู่กับการรายงานไปยังหน่วยภาษี จึงอาจเป็นเรื่องยากมากที่จะติดตามธุรกรรมที่ใช้ระบบคริปโทเคอร์เรนซีที่มีอยู่ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนที่ซับซ้อน และในบางกรณี เป็นไปไม่ได้ที่จะติดตาม[61] ระบบนิรนามที่ระบบคริปโทเคอร์เรนซีโดยมากให้บริการ ยังสามารถใช้เป็นวิธีการฟอกเงิน คือแทนที่จะฟอกเงินผ่านเครือข่ายนิติบุคคลและบัญชีธนาคารนอกประเทศโดยวิธีที่ซับซ้อน การฟอกเงินผ่านระบบเงินทางเลือกสามารถทำได้เนื่องกับธุรกรรมที่นิรนาม[61]

การสูญหาย การขโมย และการฉ้อโกง

GBL ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์การซื้อขายบิตคอยน์ในประเทศจีน ได้ปิดบริษัทอย่างกะทันหันในวันที่ 26 ตุลาคม 2013 ผู้ใช้บริการซึ่งไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้ ได้เสียบิตคอยน์มูลค่าอาจถึง $5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 151 ล้านบาท)[62][63]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ศูนย์แลกเปลี่ยนบิตคอยน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ Mt. Gox ได้ประกาศล้มละลาย บริษัทกล่าวว่า ได้สูญบิตคอยน์ของลูกค้ามูลค่าเกือบ $473 ล้านเหรียญ (ประมาณ 14,251 ล้านบาท) น่าจะเป็นเพราะถูกขโมย ซึ่งเท่ากับประมาณ 750,000 เหรียญบิตคอยน์ หรือ 7% ของเหรียญที่มีทั้งหมด เพราะวิกฤติการณ์นี้ มูลค่าของบิตคอยน์ (ต่อเหรียญ) จึงได้ตกจากค่าสูงสุดที่ $1,160 (ประมาณ 34,951 บาท) ในเดือนธันวาคมเหลือน้อยกว่า $400 (ประมาณ 12,052 บาท) ในเดือนกุมภาพันธ์[64]

เจ้าหน้าที่สองคนของคณะสืบคดีเฉพาะกิจ Silk Road ซึ่งเป็นหน่วยรวมองค์กรรัฐบาลกลางสหรัฐที่ตรวจสอบคดีเกี่ยวกับตลาด Silk Road ได้ยึดบิตคอยน์เพื่อใช้เป็นการส่วนตัวเมื่อกำลังสืบคดี[65] ต่อมาเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (DEA) ผู้ได้กรรโชกผู้ก่อตั้งตลาด Silk Road (Ross Ulbricht ผู้มีฉายาว่า "Dread Pirate Roberts") ได้ให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดในฐานะฟอกเงิน กีดขวางกระบวนการยุติธรรม และกรรโชกในอำนาจหน้าที่ และถูกตัดสินให้จำคุกของรัฐบาลกลางเป็นเวลาหกปีครึ่ง[66] ส่วนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน U.S. Secret Service ได้ให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดในข้อหาเกี่ยวกับการโอนบิตคอยน์มูลค่า $800,000 (ประมาณ 24.1 ล้านบาท) เข้าบัญชีตนเองเมื่อกำลังตรวจสอบคดี และในข้อหาการฟอกเงินต่างหากเนื่องจากการลักคริปโทเคอร์เรนซีอีกสกุลหนึ่ง แล้วถูกตัดสินให้จำคุกรัฐบาลกลางเกือบแปดปี[67]

ธุรกิจแบบพีระมิด

ส่วนผู้ก่อตั้งบริษัท GAW Miner และ ZenMiner ในปี 2014 ได้ให้การสารภาพว่า บริษัทเป็นส่วนของธุรกิจแบบพีระมิด และได้ยอมรับความผิดในข้อหาการฉ้อฉลผ่านระบบโทรคมนาคมในปี 2015 ต่อมา องค์กร Securities and Exchange Commission (SEC) ยังได้ฟ้องคดีกับเจ้าของ ผู้ในที่สุดศาลก็ตัดสินปรับ $9.1 ล้านเหรียญ (ประมาณ 274 ล้านบาท) บวกกับดอกเบี้ย $700,000 (ประมาณ 21 ล้านบาท) โดยองค์กรได้กล่าวหาว่า เจ้าของได้ฉ้อฉลผ่านบริษัทโดยขาย "สัญญาการลงทุนโดยเป็นแชร์ในกำไรที่ตนอ้างว่าจะได้" จากการขุดหาเหรียญคริปโท[68]

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2017 บริษัทเริ่มก่อตั้งที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีชื่อว่า Tether ได้ประกาศว่าบริษัทถูกแฮ็ก และสูญคริปโทเคอร์เรนซีมูลค่า $31 ล้าน (ประมาณ 934 ล้านบาท) จากวอลเลตหลักของบริษัท[69] แต่บริษัทได้ "ติดป้าย" คริปโทเคอร์เรนซีที่ถูกขโมย โดยหวังว่าจะทำให้เงินไม่สามารถใช้จ่ายจากวอลเลตของขโมยได้ บริษัทยังชี้ว่า จะสร้างโปรแกรมใหม่สำหรับวอลเลตหลักโดยเป็นการตอบสนองต่อการถูกแฮ็ก เพื่อป้องกันเหรียญที่ถูกขโมยไม่ให้ใช้ได้

ในวันที่ 6 ธันวาคม 2017 บริษัทขุดหาเหรียญบิตคอยน์ประเทศสโลวีเนีย NiceHash ถูกขโมยบิตคอยน์มูลค่าเกินกว่า $60 ล้านเหรียญ (ประมาณ 1,808 ล้านบาท) ในช่วงการถูกโจมตีทางไซเบอร์[70][71]

ตลาด Darknet

คริปโทเคอร์เรนซีก็ใช้ด้วยในสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้ใจในรูปแบบของตลาดมืดออนไลน์ เช่น Silk Road ซึ่งเป็นตลาดดั้งเดิมที่ปิดในเดือนตุลาคม 2013 แม้จะมีตลาดที่ใช้ชื่อเดียวกันซึ่งได้เกิดขึ้นมาแทนที่ถึงสองครั้ง แต่ตลาดชื่อนี้ปัจจุบันก็ล่มไปหมดแล้ว

รูปแบบของตลาด Silk Road ได้นำมาใช้ในตลาดมืดออนไลน์อีกมากมาย เท่ากับเป็นการกระจายศูนย์ตลาดมืด ในปีต่อมาหลังจากรัฐบาลสหรัฐได้ปิดตลาด Silk Road ตลาดมืดเด่น ๆ ได้เพิ่มจาก 4 ตลาดเป็น 12 ตลาด ในขณะที่รายการยาเสพติดที่ขายเพิ่มจาก 18,000 รายการเป็น 32,000 รายการ[61] ตลาด Darknet เป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทางกฎหมาย และบิตคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซีที่ใช้ในตลาดมืด ก็ไม่ได้กำหนดตามกฎหมายให้ชัดเจนในประเทศโดยมากในโลก

ในสหรัฐอเมริกา บิตคอยน์เรียกว่าเป็น สินทรัพย์เสมือน (virtual assets) การจัดหมู่ที่คลุมเครือเช่นนี้ สร้างความกดดันต่อองค์กรบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ทั่วโลกให้ปรับตัวเข้ากับการซื้อขายยาเสพติดผ่านตลาดมืดที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ[72]

เนื่องจากตลาด darknet โดยมากจะเข้าถึงผ่านทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) จึงสามารถหาชื่อได้ง่าย ๆ ในเว็บไซต์ที่เป็นสาธารณะ ซึ่งหมายความว่า สามารถหาที่อยู่ หารีวิวของลูกค้า และหากลุ่มพูดคุยเปิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่ขายในตลาด โดยไม่มีผลเสียใด ๆ ต่อผู้ใช้ระบบ[61] ความนิรนามเช่นนี้ทำให้ผู้ซื้อขายในตลาดมืดหลีกเลี่ยงการถูกจับจากเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายได้ ผลก็คือ เจ้าหน้าที่ต้องทำการต่อตลาดโดยเฉพาะ ๆ และผู้ขายยาเสพติดโดยเฉพาะ ๆ เพื่อลดอุปทานของยา แต่ผู้ขายก็ยังสามารถดำรงความเหนือชั้นต่อเจ้าหน้าที่ ผู้ไม่สามารถติดตามตลาดมืดนิรนามที่สามารถแตกตัวไปได้อย่างรวดเร็ว[72]

initial coin offering (ICO)

การเสนอขายเหรียญเริ่มต้น (initial coin offering, ICO) เป็นวิธีการหาเงินเริ่มต้นของบริษัทต่าง ๆ ซึ่งอาจทำโดยบริษัทที่เพิ่งเริ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงกระบวนการหาทุนจากบริษัทร่วมลงทุนหรือจากธนาคารที่ต้องทำอย่างรัดกุมและควบคุมโดยกฎหมาย อย่างไรก็ดี องค์กรควบคุมหลักทรัพย์ในหลายประเทศ รวมทั้งสหรัฐและแคนาดา ได้ชี้ว่า ถ้าเหรียญหรือโทเค็นเป็น "สัญญาการลงทุน" (ซึ่งก็คือ เป็นการลงทุนที่มีหวังอย่างสมเหตุสมผลที่จะได้กำไร โดยขึ้นอยู่กับความพยายามประกอบการและบริหารของคนอื่น) มันก็จัดว่าเป็นหลักทรัพย์และอยู่ภายใต้การควบคุมหลักทรัพย์ตามกฎหมาย

ในการรณรงค์เปิด ICO คริปโทเคอร์เรนซีส่วนหนึ่ง (โดยบ่อยครั้งเรียกว่าเป็น โทเค็น) จะขายให้แก่ผู้สนับสนุนเริ่มต้นของโครงการโดยแลกเปลี่ยนกับเงินตราตามกฎหมายหรือกับคริปโทเคอร์เรนซีอื่น ๆ บ่อยครั้งเป็นบิตคอยน์หรืออีเธอร์ โดยเหรียญอาจจะหมายให้ใช้เป็นสื่อการค้าขายในแพล็ตฟอร์มหนึ่ง ๆ หรือใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ เช่น การยืนยันพิสูจน์บุคคลในระบบหนึ่ง ๆ[73][74][75][76]

ประธานาธิบดีรัสเซียวลาดีมีร์ ปูติน ได้อนุมัติแผนการร่างกฎหมายเพื่อใช้ควบคุมการเสนอขายเหรียญเริ่มต้น (ICO) และการขุดหาเหรียญคริปโท[77]

คริปโทเคอร์เรนซีในเกม

เกม ล็อตเตอรี่ กาสิโนออนไลน์ และแหล่งการพนันออนไลน์อื่น ๆ ที่ใช้คริปโทเคอร์เรนซีเป็นวิธีการจ่ายหรือเพื่อมอบมูลค่าที่ชนะให้ ได้เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ตามความนิยมและความยอมรับของคริปโทเคอร์เรนซี

ล็อตเตอรี่

ในเดือนธันวาคม 2017 บริษัทการพนัน Lottoland ในยิบรอลตาร์ได้เริ่มขายล็อตเตอรี่ที่ให้มูลค่าที่ชนะเป็นบิตคอยน์ โดยขายทั่วโลก ควบคุมโดยรัฐบาล และมีรางวัลสูงสุดที่ 1,000 เหรียญบิตคอยน์[78] แต่คนเล่นจะต้องซื้อล็อตเตอรี่โดยใช้เงินปกติแม้จะสามารถเลือกรับมูลค่าที่ชนะเป็นบิตคอยน์ได้

กาสิโนออนไลน์และไซท์เล่นลูกเต๋า

กาสิโนและไซท์เล่นลูกเต๋าออนไลน์หลายแห่งได้เริ่มดำเนินงาน เพื่อถือเอาประโยชน์จากความนิยมของคริปโทเคอร์เรนซี[79] แต่ความชอบธรรมของไซท์เหล่านี้มักเป็นปัญหา เพราะความสงสัยว่าไม่ยุติธรรมเพราะเหตุขั้นตอนวิธีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเล่น จึงได้เกิดบริการแบบ Provably fair (ยุติธรรมแบบพิสูจน์ได้)[E] เพื่อพยายามแก้ความสงสัยของลูกค้าว่าถูกโกง[81]

งานวิชาการ

ในเดือนกันยายน 2015 มีการจัดตั้งวารสารวิชาการที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน คือ Ledger (บัญชีแยกประเภท) (ISSN 2379-5980) ซึ่งรวมการศึกษาคริปโทเคอร์เรนซีและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และจัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก[82][83] วารสารสนับสนุนให้ผู้เขียนประทับชื่อแบบดิจิทัลสำหรับค่าแฮชของไฟล์ที่ส่ง ซึ่งก็จะลงตราเวลาใส่เข้ากับบล็อกเชนของบิตคอยน์ต่อไป วารสารยังขอให้ผู้เขียนแสดงที่อยู่บิตคอยน์ส่วนตัวในหน้าแรกของเอกสารอีกด้วย[84][85]

ข้อวิจารณ์

มีการเทียบคริปโทเคอร์เรนซีกับการฉ้อฉลแบบพอนซีและธุรกิจแบบพีระมิด[86] และฟองสบู่ทางเศรษฐกิจ[87] เช่น ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์[88] นักลงทุนอภิมหาเศรษฐีผู้หนึ่งได้กล่าวไว้ในปี 2017 ว่า เงินดิจิทัล "ไม่ใช่อะไรนอกจากเป็นแฟชั่นสมัยนิยมที่ไร้เหตุผล (หรือบางทีอาจเป็นธุรกิจแบบพีระมิดด้วยซ้ำ) โดยมีมูลฐานจากการให้ค่าแก่อะไรที่มีคุณค่าน้อยหรือไม่มีเลยนอกเหนือจากสิ่งที่บุคคลยอมจ่ายแลกเปลี่ยนกับมัน" แล้วได้เทียบเงินดิจิทัลกับความคลั่งทิวลิป (1637) เหตุการณ์ฟองสบู่แตกเซาธ์ซี (1720) และภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอม (1999)[89] ในเดือนตุลาคม 2017 ประธานบริหารของบริษัทจัดการสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเรียกบิตคอยน์ว่า เป็นดรรชนีการฟอกเงิน[90] เพราะ "บิตคอยน์เป็นเพียงตัวแสดงว่ามีอุปสงค์ในการฟอกเงินในโลกเท่าไร"

แม้คริปโทเคอร์เรนซีและเงินดิจิทัลจะบริหารจัดการผ่านเทคนิคการเข้ารหัสที่ก้าวหน้า รัฐบาลต่าง ๆ ก็ค่อนข้างระมัดระวังต่อพวกมัน โดยเกรงการไม่มีการควบคุมแบบรวมศูนย์และผลที่มันมีต่อความปลอดภัยทางการเงิน[91] องค์กรควบคุมของรัฐหลายประเทศได้ให้คำเตือนต่อต้านคริปโทเคอร์เรนซี และบางประเทศก็ได้ทำการควบคุมอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อปรามผู้ใช้บริการ[92] นอกจากนั้น ธนาคารจำนวนมากยังไม่มีบริการสำหรับคริปโทเคอร์เรนซี และปฏิเสธให้บริการแก่บริษัทเงินเสมือน[93] เทียบกับบริการทางการเงินปกติที่มีหลักซึ่งมั่นคงเพื่อป้องกันผู้บริโภค บิตคอยน์ไม่มีผู้มีอำนาจพอที่จะจำกัดความเสียหายถ้ามีการสูญเสียหรือถูกขโมย[94] ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติหนึ่งอของคริปโทเคอร์เรนซีที่ไม่มีเทียบกับบัตรเครดิตก็คือ การป้องกันผู้บริโภคจากการฉ้อฉล คือการให้เงินคืนแก่ผู้บริโภค (ที่มีบริการในสหรัฐอเมริกาโดยมาก)

การขุดหาเหรียญคริปโทแบบ proof-of-work[C] ใช้พลังงานอย่างมหาศาล แม้ผู้สนับสนุนคริปโทเคอร์เรนซีจะกล่าวว่า ต้องเทียบกับพลังงานที่ใช้ในระบบการเงินปกติ[95]

ยังมีปัญหาทางเทคนิคอื่น ๆ ที่ควรพิจารณา ยกตัวอย่างเช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีเช่น บิตคอยน์ มีผลเป็นการลงทุนสูงสำหรับผู้ขุดหาเหรียญเพื่อซื้อฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์พิเศษ[96] ธุรกรรมเนื่องกับคริปโทเคอร์เรนซีปกติจะย้อนกลับไม่ได้หลังจากมีบล็อกจำนวนหนึ่งที่ได้ยืนยันธุรกรรมแล้ว นอกจากนั้น คริปโทเคอร์เรนซีอาจหายไปอย่างถาวรจากหน่วยเก็บข้อมูลส่วนตัว เนื่องจากมัลแวร์หรือข้อมูลสูญหาย ซึ่งก็อาจเกิดเนื่องจากสื่อข้อมูลเสียหาย ทำให้เงินหายจากระบบอย่างถาวร[97]

ชุมชนคริปโทเคอร์เรนซีเรียกปฏิบัติการแบบ pre-mining, การเริ่มใช้เงินแบบซ่อน, การเสนอขายเหรียญเริ่มต้น (ICO), หรือการให้รางวัลแบบสุดโต่งแก่ผู้ตั้งสกุลเงินทางเลือก ว่าเป็นปฏิบัติการแบบฉ้อฉล[98] แต่นี่ก็อาจใช้เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบคริปโทเคอร์เรนซีด้วย[99] โดย pre-mining หมายถึงเงินที่สร้างขึ้นโดยผู้ตั้งสกุลเงินก่อนที่จะให้สาธารณชนได้ใช้[100]

ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่ง (Paul Krugman) ไม่ชอบบิตคอยน์ โดยพูดซ้ำหลายครั้งแล้วว่า มันเป็นฟองสบู่ที่ไม่สามารถดำรงอยู่ได้[101] และเชื่อมมันกับความคลั่งทิวลิป[102]

ส่วนนักลงทุนระดับโลกวอร์เรน บัฟเฟตต์ คิดว่า คริปโทเคอร์เรนซีจะมีจุดจบที่ไม่ดี[103]

เป็นเหตุให้ราคา GPU สูงขึ้น

เครื่องมือขุดหาเหรียญ ทำจากหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ ปี 2012

การเกิดบริษัทขุดหาเหรียญคริปโทอย่างรวดเร็วได้เพิ่มอุปสงค์ของการ์ดแสดงผล (GPU) อย่างมหาศาล[104] การด์ที่นิยมของผู้ขุดหาเหรียญรวมทั้งการด์อินวิเดีย GTX 1060 และ GTX 1070 และการด์เอเอ็มดี RX 570 และ RX 580 ซึ่งมีราคาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าถ้าไม่ถึงสามเท่า หรือก็จะหมดสต็อกโดยทันที[105] การด์ GTX 1070 Ti ซึ่งวางตลาดขายที่ $450 ปัจจุบันขายได้ราคาถึง $1,100 การ์ดที่นิยมอีกอย่างคือ GTX 1060's 6 GB โดยเริ่มวางตลาดขายที่ $250 แต่ปัจจุบันขายเกือบ $500 การ์ด RX 570 และ RX 580 จากเอเอ็มดีไม่เหลือสต็อกเกือบปีแล้ว คนขุดหาเหรียญซื้อสต็อกของ GPU ใหม่ ๆ ทั้งหมดเป็นปกติทันทีที่มี ซึ่งผลักราคาให้สูงขึ้นไปอีก[106] และโดยทั่วไปสร้างความไม่พอใจจากคนเล่นเกมและแฟนเทคโนโลยีใหม่ ๆ

มีรายงานว่า อินวิเดียได้ขอให้ผู้ขายปลีกทำสิ่งที่ทำได้เพื่อขาย GPU ให้คนเล่นเกมแทนที่ผู้ขุดหาเหรียญ ตามสัมภาษณ์กับผู้จัดการประชาสัมพันธ์ของบริษัทในเยอรมนี "ผู้เล่นเกมเป็นผู้มาก่อนสำหรับอินวีเดีย... สิ่งที่เราทำทุกอย่างเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รุ่น GeForce ก็เพื่อลูกค้าหลักของเรา เราจึงแนะนำหุ้นส่วนการค้าของเราให้หาวิธีเพื่อขายสินค้าแก่คนเล่นเกมตามความต้องการในสถานการณ์ปัจจุบัน"[107][108]

ประวัติ

ในปี 1983 นักวิทยาการรหัสลับชาวอเมริกันเดวิด ชอม ได้คิดค้นเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ารหัสและนิรนามซึ่งเรียกว่า ecash[109][110] ต่อมาในปี 1995 เขาจึงอิมพลิเม้นต์มันให้เป็น Digicash[111] ซึ่งเป็นวิธีการจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยเข้ารหัสในยุคต้น ซึ่งผู้ใช้จะต้องมีซอฟต์แวร์เพื่อถอนเงินจากธนาคารและกำหนดกุญแจเข้ารหัสโดยเฉพาะ ๆ ก่อนจะส่งเงินไปให้ผู้รับ เป็นวิธีที่ทำให้เงินดิจิทัลไม่สามารถติดตามได้โดยธนาคารที่ออกเงิน หรือรัฐบาล หรือบุคคลที่สามอื่น ๆ

ในปี 1996 สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐตีพิมพ์เอกสารชื่อว่า วิธีสร้างโรงกระษาปรณ์ - วิทยาการรหัสของเงินอิเล็กทรอนิกส์นิรนาม (How to Make a Mint: the Cryptography of Anonymous Electronic Cash) ซึ่งอธิบายระบบคริปโทเคอร์เรนซี โดยพิมพ์มันเป็นครั้งแรกในบัญชีจ่าหน้าของเอ็มไอที[112] แล้วต่อมาจึงพิมพ์ในวารสาร The American Law Review[113]

ในปี 1998 Wei Dai ได้ตีพิมพ์คำอธิบายของ b-money ซึ่งเป็นระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์แบบกระจายและนิรนาม[114] ต่อมาไม่นาน Nick Szabo ก็สร้าง "bit gold" ขึ้น[115] คล้ายกับบิตคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซีอื่น ๆ ที่จะติดตามมา bit gold (อย่าสับสนกับตลาดแลกเปลี่ยนทองที่จะเกิดต่อมาคือ BitGold) เป็นระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่บังคับให้ผู้ใช้คำนวณฟังก์ชัน proof of work โดยสิ่งที่คำนวณจะรวมเข้ารหัสแล้วแสดงเป็นสาธารณะ ส่วนระบบเงินแบบ reusable proof of work ต่อมาจึงสร้างขึ้นโดย Hal Finney

ในปี 2009 นักพัฒนาซอฟต์แวร์โดยนามปากกาซะโตชิ นะกะโมโต (Satoshi Nakamoto) ได้สร้างคริปโทเคอร์เรนซีแบบไม่รวมศูนย์สกุลแรกคือ บิตคอยน์ ซึ่งใช้ SHA-256 เป็นฟังก์ชันแฮชสำหรับวิธีการ proof-of-work[17][116] ในเดือนเมษายน 2011 มีการสร้าง Namecoin ขึ้นโดยเป็นส่วนของการตั้งดีเอ็นเอสแบบกระจายศูนย์ ซึ่งจะทำให้การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตทำได้ยากมาก ต่อมาในเดือนตุลาคม 2011 จึงมีการวางตลาด Litecoin ซึ่งเป็นคริปโทเคอร์เรนซีสกุลแรกที่ใช้ scrypt เป็นฟังก์ชันแฮชแทน SHA-256 ส่วนคริปโทเคอร์เรนซีที่เด่นอีกสกุลก็คือ Peercoin ซึ่งเริ่มใช้ระบบผสม คือ proof-of-work/proof-of-stake เป็นสกุลแรก[29] ส่วน IOTA เป็นคริปโทเคอร์เรนซีแรกที่ไม่ได้ใช้บล็อกเชน แต่ใช้ Tangle แทน[117][118]

ในปี 2017 The Divi Project ทำระบบที่ช่วยให้แลกเปลี่ยนเงินสกุลต่าง ๆ ภายในวอลเลตเดียวกันได้ง่าย โดยสร้างใช้บล็อกเชนแบบพิเศษ[119][120] และให้สมรรถภาพในการให้ข้อมูลระบุบุคคลในธุรกรรม[121] มีคริปโทเคอร์เรนซีอื่น ๆ อีกมากที่ได้สร้างขึ้น แม้น้อยมากที่จะประสบความสำเร็จ เพราะล้วนแต่ไม่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ทำอะไรได้ดีขึ้น[122]

วันที่ 6 สิงหาคม 2014 สหราชอาณาจักรประกาศว่า กระทรวงการคลังได้รับคำสั่งให้ศึกษาคริปโทเคอร์เรนซี เพื่อดูว่า มันสามารถมีบทบาทในเศรษฐกิจของประเทศได้บ้างหรือไม่ งานศึกษาก็จะรายงานด้วยว่า ควรจะมีกฎหมายควบคุมหรือไม่[123]

ความสนใจจากสาธารณชน

เครื่องแลกเปลี่ยนบิตคอยน์อัตโนมัติ (Bitcoin ATM)

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลาง (Gareth Murphy) แห่งหนึ่งได้กล่าวว่า "การใช้คริปโทเคอร์เรนซีอย่างแพร่หลายจะทำให้องค์กรสถิติมีปัญหามากขึ้นในการเก็บข้อมูลทางเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลใช้ในการคัดท้ายเศรษฐกิจ" เขาได้เตือนว่า เงินเสมือนเป็นการท้าทายธนาคารกลางในการควบคุมนโยบายการเงินและการแลกเปลี่ยนเงินตรา[124]

ส่วนบริษัท Robocoin ได้เริ่มติดตั้งเครื่องแลกเปลี่ยนบิตคอยน์อัตโนมัติ (Bitcoin ATM) ในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2014 เครื่องที่ติดตั้งในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส คล้ายกับเครื่องเอทีเอ็ม แต่มีเครื่องอ่านบัตรประจำตัวที่ออกโดยรัฐบาล เช่น ใบขับขี่หรือหนังสือเดินทางเพื่อยืนยันพิสูจน์ว่าเป็นบุคคลนั้น ๆ[125] โดยเดือนกันยายน 2017 มีเครื่องแลกเปลี่ยนบิตคอยน์อัตโนมัติ 1,574 เครื่องที่ได้ติดตั้งทั่วโลกโดยมีค่าธรรมเนียมเฉลี่ยที่ 9.05% มีการติดตั้งเครื่องโดยเฉลี่ย 3 เครื่องต่อวันในเดือนกันยายน 2017[126]

มูลนิธิโดชคอยน์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลและจัดตั้งโดยผู้ร่วมสร้างโดชคอยน์ (คือ Jackson Palmer) ได้บริจาคโดชคอยน์มูลค่ากว่า $30,000 (ประมาณ 903,900 บาท) เพื่อให้ทุนแก่ทีมกีฬา Jamaican bobsled team เพื่อเดินทางไปแข่งกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ที่เมืองโซชี ประเทศรัสเซีย[127] ชุมชนผู้ใช้โดชคอยน์ที่กำลังขยายกว้างขึ้น ยังเพิ่มชื่อเสียงทางการกุศลของตนโดยหาเงินจำนวนเท่ากันเพื่อซื้อสุนัขบริการสำหรับเด็กพิการ[128]

เชิงอรรถ

  1. ในระบบคอมพิวเตอร์ทนต่อความผิดพร่อง โดยเฉพาะระบบแบบกระจาย การทนความผิดพร่องแบบไบแซนไทน์ (Byzantine fault tolerance, BFT) เป็นลักษณะของระบบที่ทนต่อความขัดข้อง (failure) ในกลุ่มที่เรียกว่า Byzantine Generals' Problem[24] อันเป็นกรณีทั่วไปของปัญหา Two Generals' Problem ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าแก้ไม่ได้ ความขัดข้องแบบไบแซนไทน์ พิจารณาว่าเป็นความขัดข้องแบบทั่วไปที่สุดและยากที่สุดในบรรดารูปแบบการขัดข้องทั้งหลาย เทียบกับรูปแบบการขัดข้องที่เรียกว่า fail-stop ซึ่งเป็นแบบง่ายที่สุด คือเป็นการขัดข้องที่เกิดได้โดยวิธีเดียวคือสถานีในเครือข่ายล้มเหลว โดยสถานีอื่น ๆ จะตรวจจับได้ แต่ความขัดข้องแบบไบแซนไทน์ไม่มีข้อจำกัดเช่นนี้ คือ สถานีที่เกิดความขัดข้องอาจสร้างข้อมูลมั่ว ทำเป็นเหมือนข้อมูลถูกต้อง ซึ่งทำให้ทนต่อความผิดพร่องได้ยากมาก ความผิดพร่อง (fault) แบบไบแซนไทน์เป็นความผิดพร่องใดก็ได้ที่แสดงอาการต่าง ๆ ต่อผู้สังเกตการณ์ต่าง ๆ[25] ความขัดข้อง (failure) แบบไบแซนไทน์เป็นการเสียบริการของระบบเนื่องจากความผิดพร่องแบบไบแซนไทน์ ในระบบที่จำเป็นต้องมีความเห็นพ้อง (consensus)[26]
  2. ปัญหาการใช้จ่ายเกินครั้ง (Double-spending) เป็นความผิดพลาดในการดำเนินงานของระบบเงินดิจิทัล ที่มีการใช้จ่ายเงินหน่วยเดียวกันสองครั้งหรือยิ่งกว่านั้น ซึ่งเป็นไปได้เพราะหน่วยเงินเป็นไฟล์ดิจิทัลที่สามารถทำซ้ำหรือปลอมได้[28] เหมือนกับเงินปลอม ปัญหาการใช้จ่ายเกินครั้งจะทำให้เงินเฟ้อเพราะสร้างเงินปลอมที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งลดค่าของเงิน ทำให้ไม่ได้ความเชื่อถือ ลดการใช้จ่ายและการเก็บเงินในสกุลนั้น ๆ
  3. 3.0 3.1 3.2 ระบบ/เกณฑ์วิธี/ฟังก์ชัน proof-of-work (POW, การพิสูจน์ว่าได้ทำงาน) เป็นวิธีการทางเศรษฐกิจเพื่อกีดกันการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการและการปฏิบ้ติโดยไม่ชอบอื่น ๆ ต่อระบบบริการ เช่น สแปม โดยบังคับให้ผู้ขอบริการต้องทำงานอะไรบางอย่าง ซึ่งปกติหมายถึงเวลาที่ต้องใช้ประมวลผลของคอมพิวเตอร์
  4. Proof-of-stake (PoS, การพิสูจน์ว่ามีส่วนได้ส่วนเสีย) เป็นขั้นตอนวิธีแบบหนึ่งที่เครือข่ายบล็อกเชนของคริปโทเคอร์เรนซีใช้เพื่อให้ถึงความเห็นพ้องแบบกระจาย เป็นระบบที่ไม่เหมือน proof-of-work (PoW) ที่ใช้ในคริปโทเคอร์เรนซีเช่น บิตคอยน์ ที่ให้รางวัลแก่ผู้เข้าร่วมแก้ปัญหาวิทยาการรหัสลับที่ซับซ้อน ในการพิสูจน์ยืนยันธุรกรรมและสร้างบล็อกใหม่ ๆ (เรียกว่า ไมนิง คือการขุดหาเหรียญ) ในระบบ PoS ผู้สร้างบล็อกต่อไปจะได้รับเลือกอย่างกำหนดได้แบบสุ่มเทียม (pseudo-random) และโอกาสได้รับเลือกจะขึ้นอยู่กับความร่ำรวย ซึ่งก็คือความมีส่วนได้ส่วนเสีย ในระบบคริปโทเคอร์เรนซีแบบ PoS บล็อกหนึ่ง ๆ จะเรียกว่า ตีขึ้น (forged, อุปมาโดยช่างเหล็ก) หรือเรียกว่า ทำเหรียญ/พิมพ์เงิน (minted) ไม่ใช่ขุดหาเหรียญ/ไมนิง อนึ่ง ปกติแล้วเงินทั้งหมดจะสร้างขึ้นตั้งแต่ต้น และจำนวนเงินทั้งหมดจะไม่เปลี่ยนไปทีหลัง (แม้จะมีระบบ PoS ที่สร้างเงินขึ้นใหม่ได้เหมือนกัน) ดังนั้น ในรูปแบบพื้นฐานของ PoS จะไม่มีรางวัลในการสร้างบล็อกใหม่เหมือนกับในบิตคอยน์ ดังนั้น ผู้ตีบล็อกใหม่ขึ้นจะได้แต่ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม[31]
  5. ในการพนันออนไลน์ ยุติธรรมแบบพิสูจน์ได้ (provably fair) หมายถึง ขั้นตอนวิธีซึ่งสามารถวิเคราะห์และทวนสอบดูความยุติธรรมของผู้ให้บริการ[80] ซึ่งมักใช้ในการดำเนินการของกาสิโนออนไลน์ ในระบบการพนันเช่นนี้ ผู้เล่นจะแทงพนันในเกมที่มีของผู้ให้บริการ ผู้จะตีพิมพ์วิธีเพื่อยืนยันพิสูจน์ธุรกรรมภายในเกมของตน ซึ่งปกติใช้ขั้นตอนวิธีแบบโอเพนซอร์ซสำหรับกำหนดเลขตั้งของตัวสร้างเลขสุ่ม สำหรับสร้างเลขสุ่ม และสำหรับฟังก์ชันแฮช เมื่อเล่นเกมเสร็จแล้ว ผู้เล่นอาจใช้ขั้นตอนวิธีเหล่านี้ในการตรวจสอบการตอบสนองของเกมตามการตัดสินใจของผู้เล่นที่ได้ทำ และตรวจสอบผลที่ได้โดยใช้ขั้นตอนวิธี ตัวตั้งต้น ค่าแฮช และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงการเล่น

อ้างอิง

  1. "พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561" (pdf). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สลค. 33 (43): 44. 2018-05-13. สืบค้นเมื่อ 2018-05-13.
  2. 2.0 2.1 2.2 Andy Greenberg (20 April 2011). "Crypto Currency". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2014. สืบค้นเมื่อ 8 August 2014.
  3. "Cryptocurrencies: A Brief Thematic Review". Economics of Networks Journal. Social Science Research Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-25. สืบค้นเมื่อ 2017-08-28.
  4. Schuettel, Patrick (2017). The Concise Fintech Compendium. Fribourg: School of Management Fribourg/Switzerland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-24.
  5. McDonnell, Patrick "PK" (2015-09-09). "What Is The Difference Between Bitcoin, Forex, and Gold". NewsBTC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-16. สืบค้นเมื่อ 2015-09-15.
  6. Allison, Ian (8 September 2015). "If Banks Want Benefits of Blockchains, They Must Go Permissionless". International Business Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2015. สืบค้นเมื่อ 15 September 2015.
  7. Matteo D'Agnolo. "All you need to know about Bitcoin". timesofindia-economictimes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2015.
  8. Sagona-Stophel, Katherine. "Bitcoin 101 white paper" (PDF). Thomson Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-13. สืบค้นเมื่อ 2016-07-11.
  9. Tasca, Paolo (2015-09-07). "Digital Currencies: Principles, Trends, Opportunities, and Risks". SSRN 2657598. {cite journal}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  10. "Altcoin". Investopedia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-08. สืบค้นเมื่อ 2015-01-08.
  11. Wilmoth, Josiah. "What is an Altcoin?". cryptocoinsnews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-17. สืบค้นเมื่อ 2015-03-04.
  12. Handbook of digital currency : bitcoin, innovation, financial instruments, and big data. Lee Kuo Chuen, David,. Amsterdam. ISBN 9780128021170. OCLC 908550531.{cite book}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: others (ลิงก์)
  13. Satoshi & 2008-10, 2. Transanctions, p. 2
  14. Lansky, Jan (January 2018). "Possible State Approaches to Cryptocurrencies". Journal of Systems Integration. 9/1: 19–31. doi:10.20470/jsi.v9i1.335. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2018. สืบค้นเมื่อ 11 February 2018.
  15. "The Dictionary Just Got a Whole Lot Bigger". Merriam-Webster. 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-03-05.
  16. 16.0 16.1 16.2 "Blockchains: The great chain of being sure about things". The Economist. 31 October 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2016. สืบค้นเมื่อ 18 June 2016.
  17. 17.0 17.1 Jerry Brito and Andrea Castillo (2013). "Bitcoin: A Primer for Policymakers" (PDF). Mercatus Center. George Mason University. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 22 October 2013.
  18. Satoshi & 2008-10, 6. Incentive, p. 4
  19. "How Cryptocurrencies Could Upend Banks' Monetary Role". American Banker. 2013-05-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27.
  20. Bheemaiah, Kariappa (2015). "Block Chain 2.0: The Renaissance of Money". Wired. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-14. สืบค้นเมื่อ 2016-11-13.
  21. 21.0 21.1 Narayanan, Arvind; Bonneau, Joseph; Felten, Edward; Miller, Andrew; Goldfeder, Steven (2016). Bitcoin and cryptocurrency technologies: a comprehensive introduction. Princeton: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-17169-2.
  22. "Blockchain". Investopedia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2016. สืบค้นเมื่อ 19 March 2016. Based on the Bitcoin protocol, the blockchain database is shared by all nodes participating in a system.
  23. Iansiti, Marco; Lakhani, Karim R. (January 2017). "The Truth About Blockchain". Harvard Business Review. Harvard University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2017. สืบค้นเมื่อ 17 January 2017. The technology at the heart of bitcoin and other virtual currencies, blockchain is an open, distributed ledger that can record transactions between two parties efficiently and in a verifiable and permanent way.
  24. doi:10.1145/357172.357176
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand Full ArticlePDF
  25. doi:10.1109/DASC.2004.1390734
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  26. doi:10.1007/978-3-540-39878-3_19
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  27. Raval, Siraj (2016). Decentralized Applications: Harnessing Bitcoin's Blockchain Technology. O'Reilly Media, Inc. pp. 12. ISBN 978-1-4919-2452-5.
  28. Ryan, Mark. "Digital Cash". School of Computer Science, University of Birmingham. สืบค้นเมื่อ 2017-05-27.
  29. 29.0 29.1 29.2 Wary of Bitcoin? A guide to some other cryptocurrencies เก็บถาวร 2014-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ars technica, 26-05-2013
  30. "Discussing the World of Cryptocurrencies". CryptoCoinTalk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-12. สืบค้นเมื่อ 2015-02-24.
  31. "A Probabilistic Analysis of the Nxt Forging Algorithm". doi:10.5195/ledger.2016.46. {cite journal}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  32. Antonopoulos 2017, Quick Glossary, p. xxix, "Proof-of-Stake"
  33. 33.0 33.1 33.2 Krishnan, Hari; Saketh, Sai; Tej, Venkata (2015). "Cryptocurrency Mining - Transition to Cloud". International Journal of Advanced Computer Science and Applications. 6 (9). doi:10.14569/IJACSA.2015.060915. ISSN 2156-5570.
  34. Hern, Alex (17 January 2018). "Bitcoin's energy usage is huge – we can't afford to ignore it". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2018. สืบค้นเมื่อ 23 January 2018.
  35. "Cryptocurrency mining operation launched by Iron Bridge Resources". World Oil. 26 January 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2018.
  36. Ryszkiewicz, Peter. "IOTA vs NANO (RaiBlocks)". Hackernoon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-21. สืบค้นเมื่อ 2018-01-23.
  37. "Future of Digital Currency May Not Involve Blockchains". Cointelegraph.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-02. สืบค้นเมื่อ 2018-01-23.
  38. "RaiBlocks Review - Instant, Free Transactions". coinreviews.io. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-24. สืบค้นเมื่อ 2018-01-23.
  39. "China's Crypto Crackdown Sends Miners Scurrying to Chilly Canada". 2018-02-02 – โดยทาง www.bloomberg.com.
  40. "Iceland Expects to Use More Electricity Mining Bitcoin Than Powering Homes This Year". Fortune (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-20. สืบค้นเมื่อ 2018-03-25.
  41. "Bitcoin Mining Banned for First Time in Upstate New York Town". 2018-03-16 – โดยทาง www.bloomberg.com.
  42. 42.0 42.1 42.2 "Bitcoin Basics Lesson 2: Essentials of Bitcoin". Medium.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-22. สืบค้นเมื่อ 2018-01-21.
  43. "'Zerocoin' Add-on For Bitcoin Could Make It Truly Anonymous And Untraceable". Forbes. 2013-05-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-23.
  44. Green, Matthew (2013-05-26). "Zerocoin: Anonymous Distributed E-Cash from Bitcoin" (PDF). Johns Hopkins University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2013-06-02.
  45. "This is Huge: Gold 2.0—Can code and competition build a better Bitcoin?". New Bitcoin World. 2013-05-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-03.
  46. "Cryptocurrency Market Capitalizations". CoinMarketCap. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-27. สืบค้นเมื่อ 2018-01-27., including all (1132) cryptocurrencies with known market capitalization.
  47. "Global Charts". coinmarketcap.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-25. สืบค้นเมื่อ 2017-11-19.
  48. "coinmarketcap.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-26. สืบค้นเมื่อ 2017-09-27.
  49. Madeira, Antonio (2018-01-12). "Why is Ethereum different to Bitcoin?". CryptoCompare. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-22.
  50. Torpey, Kyle (2017-12-28). "Will Bitcoin's Lightning Network Kill Off Altcoins Focused On Cheap Transactions?". Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-22.
  51. Kharpal, Arjun (2017-04-12). "Bitcoin value rises over $1 billion as Japan, Russia move to legitimize cryptocurrency". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2018-03-19.
  52. "The Big Picture Behind the News of China's Bitcoin Bans". Bitcoin Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-05. สืบค้นเมื่อ 2015-02-24.
  53. "Bitcoin's Legality Around The World". Forbes. 2014-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-16.
  54. Rushe, Dominic (2014-03-25). "Bitcoin to be treated as property instead of currency by IRS". The Guardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-01. สืบค้นเมื่อ 2018-02-08.
  55. "On the Complexity and Behaviour of Cryptocurrencies Compared to Other Markets" (PDF). 2014-11-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-05-08.
  56. "COMMITTEE DETAILS FOR COMMITTEE ID C00660670". docquery.fec.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-15. สืบค้นเมื่อ 2017-12-14.
  57. "Infringement of Kayne West Mark and Other Violations" (PDF). Pryor Cashman LLP. 2014-01-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-12-01.
  58. "Goodbye, Coinye! Kanye West Cleanses the Alternative Currencies' Environment". Cointelegraph. 2014-01-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-22.
  59. "The FBI's Plan For The Millions Worth Of Bitcoins Seized From Silk Road". Forbes. 2013-10-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-06.
  60. Iwamura, Mitsuru; Kitamura, Yukinobu; Matsumoto, Tsutomu (28 February 2014). "Is Bitcoin the Only Cryptocurrency in the Town? Economics of Cryptocurrency and Friedrich A. Hayek". SSRN 2405790.
  61. 61.0 61.1 61.2 61.3 61.4 Ali, S, T; Clarke, D; McCorry, P; Bitcoin: Perils of an Unregulated Global P2P Currency. Newcastle upon Tyne: Newcastle University: Computing Science, 2015. Technical Report Series, No. CS-TR-1470
  62. "Banshee bitcoins: $5 million worth of bitcoin vanish in China". Russia Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-24. สืบค้นเมื่อ 2015-03-06.
  63. "When bitcoins go bad: 4 stories of fraud, hacking, and digital currencies". Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-01. สืบค้นเมื่อ 2015-03-06.
  64. "Mt. Gox Seeks Bankruptcy After $480 Million Bitcoin Loss". Bloomberg News. 2014-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-12.
  65. "DEA Agent Who Faked a Murder and Took Bitcoins from Silk Road Explains Himself". Motherboard, Vice. 2015-10-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-29.
  66. Jeong, Sarah (2015-10-25). "DEA Agent Who Faked a Murder and Took Bitcoins from Silk Road Explains Himself". Motherboard, Vice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-29.
  67. "Ex-agent in Silk Road probe gets more prison time for bitcoin theft". 2017-11-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-29.
  68. "GAW Miners founder owes nearly $10 million to SEC over Bitcoin fraud". Ars Technica. 2017-10-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-29.
  69. Russell, Jon. "Tether, a startup that works with bitcoin exchanges, claims a hacker stole $31M". TechCrunch (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-21. สืบค้นเมื่อ 2017-11-22.
  70. "Founders of hacked crypto-mining site apologize over Facebook livestream". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-12.
  71. "More than $60 million worth of bitcoin potentially stolen after hack on cryptocurrency site". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-12.
  72. 72.0 72.1 Raeesi, Reza (2015-04-23). "The Silk Road, Bitcoins and the Global Prohibition Regime on the International Trade in Illicit Drugs: Can this Storm Be Weathered?". Glendon Journal of International Studies / Revue d'études internationales de Glendon. 8 (1–2). ISSN 2291-3920. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22.
  73. Momoh, Osi (2016-12-20). "Initial Coin Offering (ICO)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-24. สืบค้นเมื่อ 2017-11-19.
  74. Commission, Ontario Securities. "CSA Staff Notice 46-307 Cryptocurrency Offerings". Ontario Securities Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-29. สืบค้นเมื่อ 2018-01-20.
  75. "SEC Issues Investigative Report Concluding DAO Tokens, a Digital Asset, Were Securities". www.sec.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2018-01-20.
  76. "Company Halts ICO After SEC Raises Registration Concerns". www.sec.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-19. สืบค้นเมื่อ 2018-01-20.
  77. "Putin Approves Framework for ICO, Cryptocurrency Regulation". ccn.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-29.
  78. "Bitcoin Lotto: Win bitcoin on the lottery - How does it work and how to enter?". Express.co.uk (ภาษาอังกฤษ). 2018-01-09.
  79. "Bitcoin Dice Gambling Sites - DiceSites.com". dicesites.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-04. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
  80. "BitZino And The Dawn Of 'Provably Fair' Casino Gaming". 2012-08-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-05.
  81. "Provably Fair explanation - DiceSites.com". dicesites.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
  82. "Introducing Ledger, the First Bitcoin-Only Academic Journal". Motherboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-10.
  83. "Bitcoin Peer-Reviewed Academic Journal 'Ledger' Launches". CoinDesk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-19.
  84. "Editorial Policies". ledgerjournal.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2016. สืบค้นเมื่อ 24 September 2015.
  85. "How to Write and Format an Article for Ledger" (PDF). Ledger. 2015. doi:10.5195/LEDGER.2015.1 (inactive 31 December 2022). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2015.{cite journal}: CS1 maint: DOI inactive as of ธันวาคม 2022 (ลิงก์)
  86. Polgar, David. "Cryptocurrency is a giant multi-level marketing scheme". QZ.com. Quartz Media LLC. สืบค้นเมื่อ 2018-03-02.
  87. "Analysis of Cryptocurrency Bubbles - Bitcoins and Bank Runs: Analysis of Market Imperfections and Investor Hysterics". Social Science Research Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-24. สืบค้นเมื่อ 2017-12-24.
  88. McCrum, Dan (2015-11-10), "Bitcoin's place in the long history of pyramid schemes", www.ft.com, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-23
  89. Kim, Tae (2017-07-27), "Billionaire investor Marks, who called the dotcom bubble, says bitcoin is a 'pyramid scheme'", www.cnbc.com, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-05
  90. Imbert, Fred (2017-10-13). "BlackRock CEO Larry Fink calls bitcoin an 'index of money laundering'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-30. สืบค้นเมื่อ 2017-11-19.
  91. "Cryptocurrency and Global Financial Security Panel at Georgetown Diplomacy Conf". MeetUp. 2014-04-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-15.
  92. Schwartzkopff, Frances (2013-12-17). "Bitcoins Spark Regulatory Crackdown as Denmark Drafts Rules". Bloomberg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-29. สืบค้นเมื่อ 2013-12-29.
  93. Sidel, Robin (2013-12-22). "Banks Mostly Avoid Providing Bitcoin Services. Lenders Don't Share Investors' Enthusiasm for the Virtual-Currency Craze". Online.wsj.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-19. สืบค้นเมื่อ 2013-12-29.
  94. "Four Reasons You Shouldn't Buy Bitcoins". 2013-04-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-23.
  95. "Experiments in Cryptocurrency Sustainability". Let's Talk Bitcoin. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-11.
  96. "Want to make money off Bitcoin mining? Hint: Don't mine". 2013-04-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-05.
  97. "Keeping Your Cryptocurrency Safe". Center for a Stateless Society. 2014-04-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-12.
  98. "Scamcoins". 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01.
  99. Bradbury, Danny (2013-06-25). "Bitcoin's successors: from Litecoin to Freicoin and onwards". The Guardian. Guardian News and Media Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-10. สืบค้นเมื่อ 2014-01-11.
  100. Morris, David Z (2013-12-24). "Beyond bitcoin: Inside the cryptocurrency ecosystem". Fortune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-27. สืบค้นเมื่อ 2018-01-27.
  101. "PAUL KRUGMAN: Bitcoin is a more obvious bubble than housing was".
  102. Krugman, Paul (2018-03-26). "Opinion - Bubble, Bubble, Fraud and Trouble" – โดยทาง NYTimes.com.
  103. "Warren Buffett: Cryptocurrency will come to a bad ending". CNBC.
  104. Inflating Prices of video cards due to cryptocurrency miners "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-02. สืบค้นเมื่อ 2018-02-02.{cite web}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  105. Extreme shortage of video cards due to miners "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-02. สืบค้นเมื่อ 2018-02-02.{cite web}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  106. Bulk Purchasing by miners causing a shortage of these cards "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-02. สืบค้นเมื่อ 2018-02-02.{cite web}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  107. Preference given to gamers "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-02. สืบค้นเมื่อ 2018-02-02.{cite web}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  108. "Economist's View: Paul Krugman: Bubble, Bubble, Fraud and Trouble". economistsview.typepad.com.
  109. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-12-18. สืบค้นเมื่อ 2014-10-26.{cite web}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  110. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-03. สืบค้นเมื่อ 2012-10-10.{cite web}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  111. Pitta, Julie. "Requiem for a Bright Idea". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-30. สืบค้นเมื่อ 2018-01-11.
  112. "How To Make A Mint: The Cryptography of Anonymous Electronic Cash". groups.csail.mit.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-26. สืบค้นเมื่อ 2018-01-11.
  113. Laurie, Law,; Susan, Sabett,; Jerry, Solinas, (1997-01-11). "How to Make a Mint: The Cryptography of Anonymous Electronic Cash". American University Law Review. 46 (4). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-12. สืบค้นเมื่อ 2018-01-11.{cite journal}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  114. Dai, Wei (1998). "B-Money". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-04.
  115. "Bitcoin: The Cryptoanarchists' Answer to Cash". IEEE Spectrum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-04. Around the same time, Nick Szabo, a computer scientist who now blogs about law and the history of money, was one of the first to imagine a new digital currency from the ground up. Although many consider his scheme, which he calls “bit gold,” to be a precursor to Bitcoin
  116. "Bitcoin developer chats about regulation, open source, and the elusive Satoshi Nakamoto". 2013-05-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-03.
  117. Popov, Serguei (2016). "The Tangle Whitepaper" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-09-29.
  118. Sønstebø, David (2016). "IOTA First Chapter Synopsis".
  119. EconoTimes. "The Divi Project Aims to Disrupt the Cryptocurrency Industry". EconoTimes (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-24. สืบค้นเมื่อ 2017-12-18.
  120. "The Divi Project - Crypto for the Masses?". Cryptomorrow - Cryptocurrency, Bitcoin Etc (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-10-12. สืบค้นเมื่อ 2017-12-18.
  121. "4 Trends That Show Bitcoin and Ethereum Are Getting Ready for the Mass Market". Inc.com. 2017-10-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-12. สืบค้นเมื่อ 2017-12-18.
  122. "Are Any Altcoins Currently Useful? No, Says Monero Developer Riccardo Spagni". Bitcoin Magazines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-11. สืบค้นเมื่อ 2016-05-31.
  123. "UK launches initiative to explore potential of virtual currencies". The UK News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-10. สืบค้นเมื่อ 2014-08-08.
  124. "decentralized currencies impact on central banks". rte News. 2014-04-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04.
  125. "First U.S. Bitcoin ATMs to open soon in Seattle, Austin". Reuters. 2014-02-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-19.
  126. "Check the current price of trading coin". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-29.
  127. "Dogecoin Users Raise $30,000 to Send Jamaican Bobsled Team to Winter Olympics". Digital Trends. 2014-01-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-22.
  128. "Dogecoin Community Raising $30,000 for Children's Charity". International Business Times. 2014-02-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-08.

อ่านเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น