คริสตจักรซีเรียเอกเทศมะละบาร์

คริสตจักรซีเรียเอกเทศมะละบาร์
ประเภทออร์ทอดอกซ์โอเรียนทอล
กลุ่มคริสตจักรโอเรียนทอลเอกเทศ
เทววิทยามีอาฟีไซต์
เมโทรโปลิตันคีริล บาเซลีออส ที่ 1
ภูมิภาคเกรละ
ผู้ก่อตั้งอับราฮัม กูรีลอส ที่ 1
ต้นกำเนิด1772
แยกตัวจากคริสตจักรมลังกร
การชุมนุมโบสถ์ปาริช 13, โบสถ์น้อย 6
สมาชิก5000
รัฐมนตรี10-15
โรงพยาบาล1
โรงเรียนประถม3
โรงเรียนมัธยม1
ชื่ออื่นโตฬยูรสภา
เว็บไซต์ทางการเว็บทางการ

คริสตจักรซีเรียเอกเทศมะละบาร์ (อังกฤษ: Malabar Independent Syrian Church; MISC) หรือ คริสตจักรโตฬิยูร (อังกฤษ: Thozhiyur Church) เป็นคริสตจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ที่รัฐเกรละ ประเทศอินเดีย เป็นหนึ่งในคริสตจักรของชุมชนศาสนาคริสต์นักบุญทอมัส ซึ่งมีที่มาย้อนไปได้ถึงศาสนกิจชองนักบุญทอมัสอัครทูตในศตวรรษที่ 1

คริสตจักรนี้แยกตัวออกเป็นอิสระจากคริสตจักรหลักของมลังกรในอินเดียเมื่อปี 1772 และได้รับการรับรองสถานะเป็นเอกเทศโดยศางสูงในปี 1862[1][2] ธรรมเนียมและจารีตของคริสตจักรปฏิบัติตามแบบออร์ทอดอกซ์โอเรียนทอล ยึดจารีตเวสต์ซีเรีย และเลือกใช้ภาษาซีเรียกับภาษามลยาฬัมเป็าหลักในระหว่างประกอบศาสนพิธีกูร์โบโนอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นการฉลองศีลมหาสนิทที่มีอิทธิพลทางประวัติศาสตร์มาจากคริสตจักรแห่งตะวันออก

ศาสนาคริสต์สายนักบุญทอมัสสามารถย้อนที่มาไปได้ถึงนักบุญทอมัสอัครทูต ซึ่งตามธรรมเนียมได้มาเปลี่ยนศาสนาผู้คนในอินเดียในศตวรรษที่ 1 คริสต์ศาสนาสาขานี้เป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งตะวันออกซึ่งมีศูนย์กลางในเปอร์เซีย อย่างน้อยตั้งแต่ศตวรรษที่ 7[3] ชุมชนนี้คงความสมานฉันท์กระทั่งศตวรรษที่ 17 เมื่อเกิดข้อพิพาทกับ ปาโดราโด ของตักรวรรดิโปรตุเกสในอินเดีย ซึ่งนำไปสู่การสาบานต่อหน้ากางเขนคูแนนในปี 1653 และการแบ่งคริสต์ศาสนาสาขานี้เป็นคริสตจักรซีเรีย-มะละบาร์ และบรรดาสาขาที่เป็นเอกเทศ[4][5] ขาที่เป็นเอกเทศหรือที่รู้จักในชื่อคริสตจักรมลังกรได้สร้างสายสัมพันธ์อันดีกับคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ซีเรียของอันติออค[6]

อ้างอิง

  1. The forgotten bishops : the Malabar Independent Syrian Church and its place in the story of the St. Thomas Christians of South India. Gorgias Press. 2009. ISBN 978-1-60724-619-0.
  2. "Misc – Malabar Independent Syrian Church".
  3. Baum, p. 53.
  4. Neill, p. 214.
  5. Neill, p. 319.
  6. "Christians of Saint Thomas". Encyclopædia Britannica. Retrieved February 9, 2010.

บรรณานุกรม