คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์

Russian Orthodox Cross
คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์
(เขตอัครบิดรมอสโก)
รัสเซีย: Русская православная церковь
อาสนวิหารพระคริสต์ผู้ช่วยให้รอด มอสโก
อักษรย่อROC
กลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ความโน้มเอียงออร์ทอดอกซ์รัสเซีย
คัมภีร์ไบเบิลฉบับเอลิซาเบธ (สลาวอนิกคริสตจักร)
ไบเบิลซีนอด (รัสเซีย)
เทววิทยาเทววิทยาอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
แผนการปกครองการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล
การปกครองซีนอด
โครงสร้างคอมมูนเนียน
ไพรเมตอัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก
บิชอป382 (2019)[1]
นักบวชนักบวชเต็มเวลา 40,514 องค์ ประกอบด้วยบาทหลวง 35,677 องค์ และพันธบริกร 4,837 องค์[1]
แพริช38,649 (2019)[1]
มุขมณฑล314 (2019)[2]
อาราม972 (474 ชาย, 498 หญิง) (2019)[1]
สมาคมสภาคริสตจักรโลก[3]
ภูมิภาครัสเซีย, รัฐอดีตโซเวียต, ชาวรัสเซียโพ้นทะเล
ภาษาสลาวอนิกคริสตจักร, รัสเซีย
พิธีกรรมจารีตบีแซนทีน
ศูนย์กลางอารามดานีลอฟ มอสโก รัสเซีย
55°42′40″N 37°37′45″E / 55.71111°N 37.62917°E / 55.71111; 37.62917
ผู้ก่อตั้งวลาดีมีร์มหาราช[4][a]
ต้นกำเนิด988
กีวันรุส
เอกราช1448 โดยพฤตินัย[7]
การยอมรับ
แยกออก
  • คริสต์ศาสนาเชิงจิตวิญญาณ (ศ.16 เป็นต้นมา)
  • ผู้เชื่อเก่า (กลาง ศ.17)
  • คริสตจักรกาตากูมบ์ (1925)
  • คริสตจักรออร์ทอดอกซ์รัสเซียแท้จริง (2007; เล็กมาก)
  • คริสตจักรออร์ทอดอกซ์ยูเครน (2022)
  • คริสตจักรออร์ทอดอกซ์ลัตเวีย (2022)
สมาชิก110 ล้าน (95 ล้านอยู่ในรัสเซีย, รวม 15 ล้านในคริสตจักรเอกเทศที่เกี่ยวข้อง)[8][9][10][11]
ชื่ออื่น
  • Russian Church
  • Moscow Patriarchate
เว็บไซต์ทางการpatriarchia.ru

คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์[12] หรือ ศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย[13] (รัสเซีย: Русская православная церковь; อังกฤษ: Russian Orthodox Church) ในยุคก่อนปี ค.ศ. 1943 เรียกว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์แห่งรัสเซีย คือประชาคมของคริสต์ศาสนิกชนซึ่งรวมกันเป็นคริสจักรแบบออโตเซฟาลีในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ โดยอยู่ภายใต้เขตอำนาจของอัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวง

คริสตจักรนี้ถือเป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาคริสตจักรทั้งหมดที่สังกัดคริสจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และเป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก[14] ตามข้อมูลสถิติที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ค.ศ. 2010 คริสตจักรนี้มี 160 เขตมิสซังซึ่งประกอบด้วย 30,142 แพริช บริหารงานโดยบิชอป 207 องค์ บาทหลวง 28,434 องค์ และพันธบริกร 3,625 คน มีอารามสังกัดถึง 788 แห่ง เป็นของนักพรตชาย 386 แห่ง และของนักพรตหญิงอีก 402 แห่ง[15] ประมุขสูงสุดองค์ปัจจุบันคือ อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก

ประวัติ

คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ตามที่สืบทอดมาจากนักบุญอันดรูว์ อัครทูตคนแรกของพระเยซู ซึ่งมีตำนานระบุว่าท่านเคยทำการประกาศข่าวดีที่ภูเขาเคียฟ ส่วนข้อเท็จจริงที่ยอมรับกันในปัจจุบันก็คือ รัสเซียรับคริสต์ศาสนามาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์

บุคคลสำคัญคือนักบุญคิริลและนักบุญมิโทเดียสที่ได้เผยแผ่ศาสนาคริสต์ในรัสเซียตอนใต้ ชาวรัสเซียจึงขนานนามท่านทั้งสองว่า ผู้เป็นแสงสว่างแก่ชาวสลาฟ และเมื่อ ค.ศ. 954 นักบุญเจ้าหญิงโอลกาแห่งเคียฟ ( Princess Olga of Kiev) ได้รับศีลล้างบาป โดยทรงเป็นคริสตชนคนแรกในประวัติศาสตร์ของชาวรัสเซีย และเมื่อปี ค.ศ. 988 เจ้าชายวลาดีมีร์ (Prince Vladimir) พระนัดดาในเจ้าหญิงโอลกา ได้มีการรับศีลล้างบาปเป็นคริสตชนอย่างสมบูรณ์

ในระยะแรก ศาสนจักรออร์โธด็อกซ์รัสเซียขึ้นตรงกับเขตอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล จนกระทั่งได้ยกฐานะขึ้นเป็นเขตอัครบิดรแห่งมอสโกและรัสเซียทั้งมวล ในปี ค.ศ. 1589 โดยมียอฟแห่งมอสโกเป็นอัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งมวลเป็นองค์แรก ในศตวรรษที่ 10 - 11 โบสถ์และอารามก็เริ่มสร้างและพัฒนาขึ้นมาหลายแห่ง

ในปี ค.ศ. 1051 นักบุญแอนโทนีแห่งคูหา (St. Anthony of the Caves) ได้สร้างอารามแห่งคูหา (Monastery of the Caves) ในเมืองเคียฟ และนำประเพณีต่าง ๆ แบบอาธอเนียนเข้ามาในรัสเซีย อารามแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวรัสเซีย ในจดหมายเหตุได้บันทึกไว้หลายเล่ม ด้วยการเป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธาในสมัยรัสเซียโบราณ อารามมีความเจริญรุ่งเรือง และมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของชาวรัสเซีย อารามแห่งนี้ได้มีการวาดภาพไอคอน พระเป็นเจ้า ศีลปะ วรรณคดี ผลงานทางศาสนา และ ประวัติศาสตร์ผู้แปลวรรณกรรมเป็นภาษารัสเซียอยู่จำนวนมาก[16]

ศาสนจักรออร์โธด็อกซ์รัสเซียในประเทศไทย

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Внутренняя жизнь и внешняя деятельность Русской Православной Церкви с 2009 года по 2019 год". www.patriarchia.ru.
  2. "Доклад Святейшего Патриарха Кирилла на Епархиальном собрании г. Москвы (20 декабря 2019 года) / Патриарх / Патриархия.ru". www.patriarchia.ru.
  3. "Russian Orthodox Church (Moscow Patriarchate)". World Council of Churches. สืบค้นเมื่อ 25 December 2022.
  4. Voronov, Theodore (13 October 2001). "The Baptism of Russia and Its Significance for Today". orthodox.clara.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2007. สืบค้นเมื่อ 12 July 2007.
  5. Damick, Andrew S. "Life of the Apostle Andrew". chrysostom.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2007. สืบค้นเมื่อ 12 July 2007.
  6. Voronov, Theodore (13 October 2001). "The Baptism of Ukraine and Its Significance for Today". orthodox.clara.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2007. สืบค้นเมื่อ 12 July 2007.
  7. "Primacy and Synodality from an Orthodox Perspective". สืบค้นเมื่อ 5 March 2015.
  8. "Religions in Russia: a New Framework". www.pravmir.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2012. สืบค้นเมื่อ 25 December 2012.
  9. "Number of Orthodox Church Members Shrinking in Russia, Islam on the Rise - Poll". www.pravmir.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2013. สืบค้นเมื่อ 25 December 2012.
  10. "Russian Orthodox Church | History & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  11. Brien, Joanne O.; Palmer, Martin (2007). The Atlas of Religion (ภาษาอังกฤษ). Univ of California Press. p. 22. ISBN 978-0-520-24917-2.
  12. ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 482
  13. "สารกรมการศาสนาแสดงความอาลัยการสิ้นพระชนม์ของอัครบิดรอเล็กซีที่ 2" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-14.
  14. Русская церковь объединяет свыше 150 млн. верующих в более чем 60 странах -митрополит Иларион Interfax.ru 2 MArch 2011
  15. Доклад Святейшего Патриарха Кирилла на Архиерейском cовещании 2 февраля 2010 года patriarchia.ru February 2, 2010 (รัสเซีย)
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-13. สืบค้นเมื่อ 2016-11-19.

ตัวอย่างการอ้างอิง

  1. Saint Andrew is also thought to have visited Scythia and Greek colonies along the northern coast of the Black Sea.[5][6]