ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของบรูไน
ประเทศบรูไนเข้าร่วมอาเซียนในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1984 หลังเป็นเอกราชเต็มตัวหนึ่งสัปดาห์ จากนั้นจึงเข้าร่วมสหประชาชาติในเดือนกันยายน ค.ศ. 1984 และยังเป็นสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี), ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) และเครือจักรภพแห่งประชาชาติ บรูไนเคยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2000 ต่อมาใน ค.ศ. 2005 จึงได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
บรูไนมีคณะผู้แทนทางทูตในหลายประเทศและมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเทศสิงคโปร์ โดยมีระบอบเงินตราที่แลกเปลี่ยนได้ร่วมกัน และความสัมพันธ์ทางทหารที่ใกล้ชิด นอกจากความสัมพันธ์กับรัฐอาเซียนอื่น ๆ (โดยมีฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และมาเลเซียเป็นพันธมิตรหลัก) บรูไนก็ยังเป็นสมาชิกเพิ่มเติมกับโลกมุสลิมและโลกอาหรับที่อยู่นอกภูมิภาคตนเอง
องค์กรระหว่างประเทศ
บรูไนกลายเป็นรัฐสมาชิกของเครือจักรภพใน ค.ศ. 1984[1] เข้าร่วมอาเซียน, สหประชาชาติ และองค์การความร่วมมืออิสลามใน ค.ศ. 1984[2] เป็นผู้เล่นคนสำคัญใน BIMP-EAGA ใน ค.ศ. 1994[3] และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การการค้าโลกใน ค.ศ. 1995[4]
อ้างอิง
- ↑ "MOFAT, Commonwealth". Ministry of Foreign Affairs and Trade of Brunei Darussalam. 30 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2010.
- ↑ "US DOS" (30 March 2010). "MOFAT, UN". Ministry of Foreign Affairs and Trade of Brunei Darussalam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2008.
- ↑ "MOFAT, BIMP-EAGA". Ministry of Foreign Affairs and Trade. 30 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2008.
- ↑ "MOFAT, WTO". Ministry of Foreign Affairs and Trade. 30 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2008.