คุรุอรชุน

คุรุอรชุน
Guru Arjan
เกิด15 เมษายน ค.ศ.1563
Goindval, Taran Taran district, จักรวรรดิโมกุล (ปัจจุบันคือประเทศอินเดีย)
เสียชีวิต30 พฤษภาคม ค.ศ. 1606(1606-05-30) (43 ปี)[1]
ลาฮอร์, จักรวรรดิโมกุล (ปัจจุบันคือประเทศปากีสถาน)
สุสานคุรุทวาราเดราซาฮิบ, ในกำแพงเมืองลาฮอร์
ชื่ออื่นคุรุองค์ที่ 5
มีชื่อเสียงจาก
ตำแหน่งคุรุองค์ที่ 5 ของศาสนาซิกข์
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนคุรุรามทาส
ผู้สืบตำแหน่งคุรุหรโคพินท์
คู่สมรสมาตา คงคา
บุตรคุรุหรโคพินท์
บิดามารดาคุรุรามทาส กับ Mata Bhani
ภาพวาดแสดงท่านบาบา บุดะ[2] (Baba Buddha) แต่งตั้งคุรุอรชุน (Guru Arjan) เป็นคุรุศาสดา ท่านคุรุอรชุนคือชายผู้พนมมือทางขวาของภาพ

คุรุอรชุน (อังกฤษ: Guru Arjan[3][4]; ปัญจาบ: ਗੁਰੂ ਅਰਜੁਨ) หรือในบางเอกสารทับศัพท์อิงภาษาอังกฤษว่า คุรุอาร์จัน เป็นคุรุศาสดาองค์ที่ 5 ของศาสนาซิกข์ ท่านได้รวบรวมบันทึกของซิกข์ขึ้นเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรและจัดเป็นหมวดหมู่ขึ้นครั้งแรก โดยเรียกเอกสารชุดที่ท่านรวบรวมเขียนขึ้นนั้นว่า คัมภีร์ อดิ กรันตะ (Adi Granth) ซึ่งต่อมาได้ถูกต่อยอดเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาซิกข์ "มหาคัมภีร์ คุรุกรันตสาหิบ" (Guru Granth Sahib)

ท่านเกิดในเมืองโคอินทวาล (Goindval) ในแคว้นปัญจาบ ท่านเป็นบุตรคนสุดท้องของคุรุรามดาส (ซึ่งในขณะนั้นยังใช้ชื่อว่า ภาอี เชฐา; Bhai Jetha) กับ มทา ภานี (Mata Bhani) ธิดาของคุรุอมรทาส[5] อาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นคุรุศาสดาองค์แรกที่เป็นซิกข์แต่กำเนิด ต่างจากองค์ก่อน ๆ ที่เปลี่ยนศาสนามาจากศาสนาฮินดูเป็นซิกข์ในภายหลัง[6] ท่านคุรุอรชุนดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำศาสนาและจิตวิญญาณของชาวซิกข์ร่วม 25 ปี นอกจากนี้ท่านยังสืบทอดการก่อสร้างวิหารต่อจากคุรุรามดาสผู้ขุดสระน้ำอมฤตและสร้างเมืองอมฤตสาร์ โดยท่านได้ก่อสร้างดะบาสาหิบจนสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นหริมันทิรสาหิบ แห่งอมฤตสาร์[7][8][9] และท่านคุรุอรชุนยังได้ประมวลเพลงสวดภาวนาของคุรุศาสดาองค์ก่อนหน้าและคำสอนต่าง ๆ เป็นคัมภีร์อดิ กรันตะ และอัญเชิญประดิษฐานในหริมันทิรสาหิบ[7]

ท่านคุรุอรชุนยังพัฒนาระบบ "มสันท์" (Masand) ซึ่งคุรุรามดาสได้วางรากฐานไว้ขึ้นเสียใหม่ โดยเสนอระบบการบริจาคเงินของซิกข์ให้บริจาคทรัพย์สิน สินค้า หรือการบริการเป็นจิตอาสา ให้ได้ 1 ใน 10 ของที่ตนมีถวายแด่องค์กรของซิกข์ หากไม่พร้อมที่จะบริจาคจำนวนเท่านั้นก็มิได้เป็นปัญหาอะไร ให้บริจาคเท่าที่ตนให้ได้และไม่ทรมานตนเอง นอกจากการสร้างกองทุน "ทัศวันธ์" (Dasvand) ที่รับบริจาคแล้ว ท่านคุรุยังริเริ่มระบบการศึกษาศาสนาซิกข์อย่างเป็นระบบขึ้นในมสันต์ เพื่อเผยแผ่ศาสนาไปยังคนรุ่นใหม่ที่สนใจในภูมิภาคปัญจาบ

ในสมัยของท่านนั้น กองทุนทาสวันต์ถือได้ว่ามั่งคั่งเป็นอย่างมาก สามารถนำไปสร้างศาสนสถาน (คุรุทวารา) จำนวนมาก และ "ลังเกอร์" หรือ "ลังกัร" (Lankar) ที่คนไทยเรียกกันว่า โรงครัวพระศาสดา ซึ่งเป็นโรงครัวอาหารแจกจ่ายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกเช่นกัน[10]

ท่านคุรุอรชุนถูกจับโดยพระราชกระแสของจักรพรรดิชะฮันคีร์ แห่งจักรวรรดิโมกุล และถูกร้องขอให้เปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม[11][12] ซึ่งท่านยืนยันปฏิเสธ จนสุดท้ายถูกทรมานจนถึงแก่ชีวิตในปี ค.ศ. 1606[11][13] นักประวัติศาสตร์ยังเป็นที่ถกเถียงว่าท่านคุรุเสียชีวิตจากการทรมานอย่างหนักหรือจากการถูกสั่งประหารชีวิตด้วยการทำให้จมน้ำหรือกดน้ำ[11][14] การสละชีพเพื่อความเชื่อ (martyrdom) ของท่านนั้นถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ซิกข์[11][15] ปัจจุบันบริเวณที่เชื่อกันว่าเป็นที่สำเร็จโทษของท่าน ได้สร้างเป็นคุรุทวาราชื่อว่า คุรุทวาราเดราสาหิบ (Gurdwara Dera Sahib) ปัจจุบันตั้งอยู่เยื้องกับมัสยิดบาดชาฮี ในเมืองละฮอร์ ประเทศปากีสถาน

อ้างอิง

  1. "Arjan, Sikh Guru". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 5 May 2015.
  2. บนหน้า en:Baba Buddha ระบุการออกเสียงชื่อไว้ว่า "Buddha ในที่นี้ถึงจะสะกดเหมือนกันแต่ออกเสียงไม่เหมือนกันกับ พุทธะ ในพระนามของพระโคตมพุทธเจ้า" (While the English spelling is same, the word Buddha here is different than Gautam Buddha) ในที่นี้มาจากการทับศัพท์ปัญจาบ "dh" ซึ่งออกเสียงใกล้เคียง /ด/ ที่สุด ต่างจากในการทับศัพท์สันสกฤตเป็น /พ/; 4 มีนาคม 2019
  3. Barnes, Michael (2012). Interreligious learning : dialogue, spirituality, and the Christian imagination. Cambridge University Press. pp. 245–246. ISBN 978-1-107-01284-4.
  4. Dehsen, Christian (1999). Philosophers and religious leaders. Routledge. p. 14. ISBN 978-1-57958-182-4.
  5. Mcleod, Hew (1997). Sikhism. London: Penguin Books. p. 28. ISBN 0-14-025260-6.
  6. William Owen Cole; Piara Singh Sambhi (1995). The Sikhs: Their Religious Beliefs and Practices. Sussex Academic Press. p. 24. ISBN 978-1-898723-13-4.
  7. 7.0 7.1 Christopher Shackle; Arvind Mandair (2013). Teachings of the Sikh Gurus: Selections from the Sikh Scriptures. Routledge. pp. xv–xvi. ISBN 978-1-136-45101-0.
  8. Pardeep Singh Arshi (1989). The Golden Temple: history, art, and architecture. Harman. pp. 5–7. ISBN 978-81-85151-25-0.
  9. Louis E. Fenech; W. H. McLeod (2014). Historical Dictionary of Sikhism. Rowman & Littlefield Publishers. p. 33. ISBN 978-1-4422-3601-1.
  10. DS Dhillon (1988), Sikhism Origin and Development Atlantic Publishers, pp. 213-215, 204-207
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name ps5 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  12. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name lkca cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  13. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name thackston cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  14. Louis E. Fenech, Martyrdom in the Sikh Tradition, Oxford University Press, pp. 118-121
  15. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name whm cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.