ค่าคงตัวจักรวาล
ในการศึกษาจักรวาลวิทยา ค่าคงตัวจักรวาล (อังกฤษ: Cosmological constant; มักเขียนย่อด้วยอักษรกรีกตัวใหญ่ แลมบ์ดา: Λ) คือค่าคงตัวที่นำเสนอโดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เพื่อปรับปรุงทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาเองให้สามารถได้ผลสอดคล้องกับแบบจำลองเอกภพสถิตที่ไอน์สไตน์เชื่อ ในภายหลังไอน์สไตน์ก็ละทิ้งแนวคิดนี้ไปหลังจากมีผลสังเกตการณ์การเคลื่อนไปทางแดง ของ เอ็ดวิน ฮับเบิล ซึ่งบ่งชี้ว่าเอกภพไม่ได้มีสภาวะสถิตหรือหยุดนิ่งกับที่ แต่เอกภพกำลังขยายตัว[1] อย่างไรก็ดี การค้นพบ ความเร่งของจักรวาล (cosmic acceleration) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้รื้อฟื้นความสนใจเกี่ยวกับค่าคงตัวจักรวาลขึ้นมาใหม่
ดูเพิ่ม
- บิกแบง
- พลังงานมืด
- พลังงานสุญญากาศ
- สมการฟรีดแมน
อ้างอิง
- ↑ Urry, Meg (2008), "The Mysteries of Dark Energy", Yale Science, Yale University, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21, สืบค้นเมื่อ 2021-08-14
แหล่งข้อมูลอื่น
- Carroll, Sean M., "The Cosmological Constant" เก็บถาวร 2001-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (short), "The Cosmological Constant" (extended).
- 'Cyclic universe' can explain cosmological constant.
- News story: More evidence for dark energy being the cosmological constant