จอมโจรคิด
คุโรบะ ไคโตะ | |
---|---|
ตัวละครใน จอมโจรอัจฉริยะ และยอดนักสืบจิ๋วโคนัน | |
ปรากฏครั้งแรก | จอมโจรอัจฉริยะ เล่ม 1 "จอมโจรคืนชีพ" (2530) |
สร้างโดย | โกโช อาโอยามะ |
ให้เสียงโดย | ญี่ปุ่น:
ไทย:[2]
|
ประวัติ | |
เพศ | ชาย |
ญาติ |
|
สัญชาติ | ญี่ปุ่น |
ฉายา | จอมโจร 1412, จอมโจรคิด, เรดแฮริงก์ (นามแฝงในสันนิบาตคนรักมายากล),[3] นักมายากลใต้แสงจันทร์ |
ส่วนสูง | 174 ซม. |
ความถนัด | มายากล และสกีน้ำแข็ง |
จอมโจรคิด (ญี่ปุ่น: 怪盗キッド; โรมาจิ: Kaitō Kiddo; ทับศัพท์: Kaito Kid) ; (อังกฤษ: Kid the Phantom Thief[5]) เป็นฉายาของตัวละครในมังงะเรื่อง จอมโจรอัจฉริยะ แต่งโดย โกโช อาโอยามะ จอมโจรคิดเป็นที่รู้จักมากจากบทบาทในมังงะและอนิเมะเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ที่แต่งโดยผู้เขียนคนเดียวกัน จอมโจรคิดในปัจจุบันมีทั้งหมด 2 รุ่น โดยชื่อจริงของจอมโจรคิดรุ่นแรกคือ คุโรบะ โทอิจิ (ญี่ปุ่น: 黒羽 盗一; โรมาจิ: Kuroba Tōichi) แต่หลังจากโทอิจิเสียชีวิตจากการถูกสังหาร[6] บุตรชายของเขา คุโรบะ ไคโตะ (ญี่ปุ่น: 黒羽 快斗; โรมาจิ: Kuroba Kaito) ได้สืบทอดตำแหน่งจอมโจรคิดต่อเป็นรุ่นที่ 2 โดยหวังว่าจะพบเบาะแสของบุคคลที่สังหารพ่อของเขา[7] ซึ่งจอมโจรอัฉริยะเล่ม 5 ตอน มิดไนท์โครว์ อาจจะมีเบาะแสว่า คุโรบะโทอิยังนั้นยังไม่ตาย ในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงจอมโจรคิด จะหมายถึงจอมโจรคิดรุ่นที่ 2 คือ คุโรบะ ไคโตะ ยกเว้นจะมีการกล่าวว่าเป็นโทอิจิโดยเฉพาะ
การออกแบบตัวละคร
ในจอมโจรอัจฉริยะเล่ม 4 ได้นำเสนอบทสัมภาษณ์ของโกโช อาโอยาม่า ผู้วาดจอมโจรคิด เขากล่าวว่าตัวละครที่วาดนี้เขาต้องการสื่อถึงภาพลักษณ์ของคนที่ "แว่บไปแว่บมา หาตัวจับยาก ห้าวหาญไม่มีใครเปรียบ หน้าตาหล่อเหลาเหมือนอาร์แซน ลูแปง และเป็นคนเจ้าเล่ห์" ตัวการ์ตูนนี้ให้ความสนุกในแบบของผู้ถูกล่าที่ต้องหนี[1] อย่างไรก็ตามเขายังกล่าวถึงการวาดชุดคลุมของไคโตะนั้นว่า "ลำบากเอาการ"
ประวัติ
คุโรบะ โทอิจิ ซึ่งเป็นจอมโจรคิดรุ่นพ่อปรากฏตัวในฐานะนักมายากลและอาชญากรเมื่อ 8 ปีก่อนที่จะเกิดเรื่องในมังงะเรื่อง จอมโจรอัจฉริยะ โดยปรากฏตัวครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[8] พร้อมด้วยผู้ติดตามชื่อจิอิ โคโนะสึเกะ โทอิจิมีชื่อเสียงมากจนได้รับการขนานนามว่าเป็นนักมายากลมือหนึ่งของโลก[9] 10 ปีต่อมาหลังจากการปรากฏตัวครั้งแรก โทอิจิถูกสังหารระหว่างการแสดงโดยองค์กรองค์กรหนึ่งที่ต้องการชิง แพนโดร่า อัญมณีที่จะมีสีแดงและหลั่งน้ำตาในคืนวันพระจันทร์เต็มดวง ที่เชื่อว่าผู้ที่ได้ดึ่มน้ำตาจากแพนโดร่าจะเป็นอมตะ[6][7] หลังจากนั้นเมื่อเริ่มเรื่องจอมโจรอัจฉริยะ จิอิ ซึ่งเป็นผู้ติดตามของโทอิจิได้ปลอมตัวเป็นจอมโจรคิดโดยหวังจะให้องค์กรที่สังหารโทอิจิปรากฏตัว โดยการปรากฏตัวในครั้งนี้เน้นการขโมยอัญมณีที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น เป็นหลัก ต่างจากครั้งอื่น ๆ ที่มีการขโมยอัญมณีนอกประเทศญี่ปุ่นด้วย[8] เป็นเวลาเดียวกับที่ คุโรบะ ไคโตะ ซึ่งเป็นบุตรของโทอิจิได้ค้นพบความจริงว่าพ่อของเขาเป็นจอมโจรคิดและถูกสังหารโดยองค์กรดังกล่าว ไคโตะจึงรับหน้าที่เป็นจอมโจรคิดเพื่อล่อให้องค์กรที่สังหารพ่อของเขาปรากฏตัวเพื่อสืบทอดหน้าที่ต่อจากจิอิ[6] และเพื่อป้องกันไม่ให้องค์กรชิงอัญมณีแพนโดร่าไปด้วย
จอมโจรคิดไม่ว่าในรุ่นพ่อหรือรุ่นลูก ต่างก็ปรากฏตัวในยอดนักสืบจิ๋วโคนันเช่นกัน ทั้งในร่างบุคคลธรรมดาหรือจอมโจรคิด โดยคุโรบะ โทอิจิ เคยปรากฏตัวครั้งหนึ่งกับยูกิโกะและไคโตะในฉากรำลึกถึงอดีตในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ส่วนคุโรบะ ไคโตะ ปรากฏตัวครั้งแรกในตอน "โคนัน VS จอมโจรคิด" และต่อมาก็ได้กลายเป็นตัวละครหนึ่งในเรื่องนั้น รวมถึงตัวละครเสริมผู้ขัดขวางจอมโจรคิด เช่น สารวัตรนากาโมริ กินโซ ฮาคุบะ ซางุรุ[10] ก็ได้กลายเป็นตัวละครในเรื่องนั้นด้วยเช่นกัน ในทางกลับกันตัวละครจากยอดนักสืบจิ๋วโคนันก็เคยปะทะกับจอมโจรคิดมาแล้ว เช่น ในคดีแบล็กสตาร์ในจอมโจรอัจฉริยะ คุโด้ ชินอิจิ เคยปะทะกับคุโรบะ ไคโตะมาแล้ว และเชื่อกันว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นเหตุที่ทำให้จอมโจรคิดและโคนันทราบตัวจริงซึ่งกันและกัน[11]
ที่มาของชื่อ
แม้ว่าจอมโจรคิดจะมีฉายามากมาย เช่น ลูแปงแห่งเฮเซ นักมายากลใต้แสงจันทร์ เป็นต้น แต่ชื่อเรียกที่เป็นทางการตามที่ทั้ง ตำรวจสากล FBI และ CIA ตั้งไว้เป็นชื่อรหัส (Code Name) ที่เรียกว่า 1412 เดิมข้อมูลนี้ถูกเก็บไว้เป็นความลับแต่ก็รั่วไหลออกมา[8] อย่างไรก็ดีชื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เป็นชื่อที่เกิดจากการตั้งขึ้นของคุโด้ ยูซากุ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับโทอิจิ ตอนที่ยูซากุเป็นผู้ล่าและโทอิจิเป็นจอมโจรคิด และสนใจเรื่องจอมโจร 1412 ที่สามารถปั่นหัวตำรวจได้ทั่วโลก ครั้งหนึ่งยูซากุหยิบหนังสือพิมพ์ที่มีเรื่องจอมโจรคิดมาอ่านดู แต่นักข่าวเขียนเลข 1412 เป็นหวัดๆ ทำให้เขาอ่านแบบเล่นคำ ปรากฏว่าสามารถอ่านได้เป็นตัวอักษร KID ยูซากุจึงตั้งชื่อของจอมโจรคนนี้ว่า "คิด"[8]
ข้อมูลจำเพาะ
ในคดี "ของขวัญจากอาคาโกะ" (จอมโจรอัจฉริยะ เล่ม 3) ฮาคุบะ ซางุรุ ได้เปิดเผยข้อมูลจำเพาะที่เกิดจากการเก็บรวบรวมได้ว่าจอมโจรคิดสูง 174 เซนติเมตร หนัก 58 กิโลกรัม อายุ 15-17 ปี หมู่เลือด B เชื้อสายญี่ปุ่น ผมดำ ตาซ้ายขวา 2.0[12] ระดับ ไอคิว 400 เล่นกีฬาเก่งโดยเฉพาะสกีแต่ไม่ถนัดสเก็ตน้ำแข็ง[10] เมื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปเปรียบเทียบพบว่าตรงกับคุโรบะ ไคโตะ ทำให้ฮาคุบะกล่าวว่าจอมโจรคิดกับไคโตะเป็นบุคคลเดียวกัน[12] แม้ตัวไคโตะจะปฏิเสธว่าไม่ใช่คิดก็ตาม นอกจากนี้ในเนื้อเรื่องพบว่าคิดชอบไอศกรีมช็อกโกแลต[13]แต่กลัวปลา[6]
ความสามารถและอุปกรณ์พิเศษ
ความสามารถหลักของจอมโจรคิดไม่ว่าจะเป็นรุ่นพ่อหรือลูกคือการที่คิดสามารถปลอมตัวเป็นคนที่ไม่รู้จักและรู้จักได้เนียนมาก แม้กระทั่งเสียงก็สามารถปลอมได้โดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องแปลงเสียง[8] ในยอดนักสืบจิ๋วโคนันมีการกล่าวว่า ยูกิโกะซึ่งเป็นแม่ของชินอิจิได้ฝากตัวกับโทอิจิ[14]ซึ่งครั้งนั้นทำให้ยูกิโกะรู้จักกับ ชารอน วินยาร์ด และทำให้เกิดเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างขึ้น ด้วยความได้เปรียบนี้ทำให้คิดสามารถตรวจสอบสถานที่ตั้งของอัญมณีก่อนที่จะโจรกรรมได้โดยง่าย หรือในบางครั้งก็ทำการโจรกรรมทั้งที่ปลอมตัวอยู่ก็มีให้เห็น
อย่างไรก็ดี คิดก็ยังใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยในการโจรกรรมด้วย เช่นใช้นกพิราบที่ติดกับดักฟังเสียงเพื่อช่วยในการดักฟังข้อมูลจากระยะไกล โดยใช้แว่นตาขาเดียว ใช้แฮงไกลเดอร์ในการหลบหนี ใช้ปืนที่ยิงออกมาเป็นรูปไพ่เพื่อป้องกันตัว ซึ่งเมื่อยิงออกไปไพ่กลายเป็นระเบิดควัน[15] โดยไม่ใช้ปืนจริงเป็นอันขาด[9] และใช้ผู้ช่วยในบางกรณี ดังจะสังเกตได้จากในอนิเมะเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ตอนที่ 387 ซึ่งโคนันกล่าวว่าคิดมีผู้ช่วยแสดงกลเดินบนอากาศ[16] และต่อมาก็ได้รับการยืนยันเมื่อปรากฏว่าคิดได้จับเอาพวกของตนที่แฝงตัวเป็นนักข่าวหลบหนีไปด้วยกันในคดีเล่ม 61[17] แต่ถึงจะใช้อุปกรณ์ดีเพียงใดก็ตาม ก็ปรากฏในเนื้อเรื่องว่าคิดได้รับบาดเจ็บบ้างเช่นกันไม่ว่าจะเป็นจากผู้ขัดขวางเช่นโคนัน หรือบุคคลที่สามที่ไม่พอใจ เป็นต้น[18]
นอกจากความสามารถในการโจรกรรม คิดยังมีความสามารถในการสืบสวนเช่นกัน ดังจะเห็นได้ในมูฟวี่ตอน บทเพลงมรณะแด่เหล่านักสืบ ที่คิดไปช่วยโคนันและเฮย์จิสึบสวนอยู่ช่วงหนึ่ง แล้วจึงไปปิดบัญชีกับนายมิยามะซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นผู้สนับสนุนตัวการขโมยรถขนเงินที่คิดบังเอิญไปเห็นเหตุการณ์ ซึ่งผู้ที่ขโมยนั้นก็คือรุ่นน้องที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยทางทะเลโยโกะฮะมะ ที่เดียวกับตัวประธานมิยามะนั่นเอง[19]
ลักษณะการโจรกรรม
ก่อนทำการโจรกรรม จอมโจรคิดจะส่งสาส์นเตือนถึงเหยื่อหรือตำรวจก่อน โดยสาส์นมีรูปแบบเป็นข้อความที่ต้องไขปริศนาอีกที รวมถึงมีรูปหน้าของจอมโจรคิด ซึ่งจอมโจรคิดจะวาดใหม่ทุกครั้งที่โจรกรรม[20] เมื่อส่งสาส์นเตือนและตรวจสอบสถานที่โจรกรรมในบางครั้งเสร็จแล้ว จึงทำการโจรกรรมตามวิธีที่เขียนไว้ในสาส์นเตือน เช่น ทำการปลอมตัวเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือตัวเหยื่อเพื่อตบตาตำรวจ และนำของหนีไป ทำให้เกิดความสับสนระหว่างของจริงและของปลอม แล้วชิงของจริงหนีไป เป็นต้น โดยในระหว่างการโจรกรรมคิดจะไม่ฆ่าคน ไม่ใช่ปืนจริง[9] แต่จะขโมยของไปเพียงอย่างเดียว และไม่ลักพาตัวคนเป็นอันขาด[21] โดยปกติแล้วในระหว่างการหลบหนีหรือการโจรกรรมนั้น คิดจะสวมชุดสูทสีขาวที่ทำจากผ้าไหม มีผ้าคลุมข้างหลังและหมวกสีขาว เนคไทสีแดง เสื้อเชื้ตตัวในสีน้ำเงิน และแว่นตาขาเดียว แต่ในบางครั้งเขาก็มิได้สวมชุดนี้อันเนื่องจากการปลอมตัวและเหตุผลอื่น ๆ เช่น เพื่อมิให้ถูกสังเกตได้โดยง่ายหากมีการใช้อุบายขโมยหรือหลบหนี[17] เป็นต้น
ตามรายงานของตำรวจก่อนที่คิดจะลงมือโจรกรรมไข่อิมพีเรียล อีสเตอร์ในมูฟวี่ตอนที่ 3 ปริศนาพ่อมดคนสุดท้ายแห่งศตวรรษ จอมโจรคิดก่อคดีรวมทั้งสิ้น 134 คดี โดย 15 คดีในจำนวนคดีทั้งหมดเป็นคดีที่เกิดขึ้น ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมัน และประเทศอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 12 ประเทศ รวมอัญมณีที่ขโมยไปได้ 152 รายการ คิดเป็นมูลค่า 38,725 ล้านเยน[18]
แต่ตามความเป็นจริงแล้ว จอมโจรคิดนั้นไม่ใช่เป็นคนที่เห็นแก่เงิน เขาได้ขโมยของไปแล้วก็จริงแต่มักจะนำมาคืนเสมอโดยไม่ใช้สอยเลยแม้แต่น้อย คุโรบะ โทอิจิ รุ่นแรกนั้นได้หาเงินตนเองด้วยการเป็นนักมายากลที่มีชื่อเสียง แต่ไม่รู้ว่ามาเป็นจอมโจรคิดได้อย่างไร คนที่รู้ก็มีแต่คุโรบะ ชิคาเงะ ผู้เป็นภรรยาของโทอิจิและแม่ของไคโตะและคูณปู่อิจิ คนแก่ที่รับใช้โทอิจิเท่านั่น ส่วนคุโรบะ ไคโตะ รุ่นที่ 2 ต้องการตามหาเพชรแพนโดร่าเท่านั้น เพื่อสืบหาบุคคลที่สังหารพ่อของเขาและองค์กรปริศนาที่ต้องการแพนโดร่า บางครั้งไคโตะขโมยของมาได้สำเร็จได้แต่มักจะหลุดมือไปด้วยเหตุผลบางประการ เช่น โดนเอโดงาวะ โคนันหรือสารวัตรนากาโมริที่เป็นคู่ปรับคอยไล่ล่าอยู่ แต่เขาก็ไม่สนใจและพูดได้ประโยดหนึ่งว่า "ของสิ่งนั้น ไม่ใช่ของสิ่งที่ฉันต้องการหรอก"
ความสัมพันธ์กับตัวละครอื่น
ในจอมโจรอัจฉริยะ
จอมโจรคิดมีความสัมพันธ์กับบุคคลในจอมโจรอัจฉริยะหลายคน ตั้งแต่รุ่นแรกของจอมโจรคิด (โทอิจิ) ซึ่งสารวัตรนาคาโมริ กินโซ ผู้รับผิดชอบคดีจอมโจรคิด เคยกล่าวว่าจอมโจรคิดเป็นเป้าหมายในชีวิตของเขาเลยทีเดียว[6] ความสัมพันธ์นั้นสืบทอดมาสู่รุ่นลูกเช่นเดียวกัน เนื่องจากไคโตะเป็นเพื่อนของลูกสาวของสารวัตรนาคาโมริที่ชื่ออาโอโกะ สารวัตรกับไคโตะจึงสนิทสนมกันพอสมควร[22] ทำให้สารวัตรกับไคโตะเป็นผู้ล่ากับผู้ถูกล่าไปในตัว โดยไคโตะก็ยังสามารถหนีได้ทุกครั้งเหมือนครั้งที่พ่อเขาเคยทำ สำหรับความสัมพันธ์กับเพื่อนในห้องเรียนของจอมโจรคิด มีดังนี้
- กับนาคาโมริ อาโอโกะ
อาโอโกะชอบไคโตะอยู่[23] แต่ก็ไม่รู้ว่าจอมโจรคิดก็คือคุโรบะ ไคโตะ ที่เป็นเพื่อนและคู่ปรับในห้องเรียนเดียวกันของเธอนั่น ในขณะที่ตัวคุโรบะ ไคโตะเองก็ชอบอาโอโกะอยู่เช่นกันแต่ไม่แสดงออก
ฮาคุบะซึ่งเป็นนักสืบที่ไปศึกษายังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ[10] เป็นคู่ปรับกับจอมโจรคิดในด้านการโจรกรรมที่ฮาคุบะพยายามจะจับตัวคิดให้ได้ แต่ก็ถูกคิดซ้อนแผนกลับบ้างหรือขัดขวางบ้าง ไม่เพียงแต่ด้านโจรกรรมเท่านั้น ฮาคุบะพยายามจะเอาชนะใจอาโอโกะให้ได้ ถึงขนาดว่าคิดต้องพยายามขัดขวางไม่ให้แผนที่ฮาคุบะวางไว้สำเร็จ[24] ฮาคุบะเป็นอีกคนที่รู้ตัวจริงของคิดจากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลเด็กนักเรียนของประเทศญี่ปุ่น[12]
- กับโคอิสึมิ อาคาโกะ
ตามเนื้อเรื่อง มีการบรรยายลักษณะของอาคาโกะว่า อาคาโกะเป็นผู้หญิงที่สวยจนทำให้ชายอื่นหลงเสน่ห์ได้หมด ยกเว้นจอมโจรคิด อาคาโกะซึ่งเป็นแม่มดจึงพยายามหาทางที่จะทำให้คิดมาสยบแทบเท้าให้ได้ แต่ไม่ว่าวิธีไหน ๆ ก็ไม่สำเร็จ[12] อย่างไรก็ดีเธอเองเคยบอกว่าเธอชอบจอมโจรคิด และในบางครั้งก็ช่วยจอมโจรคิด เช่นในคดีแบล็กสตาร์[11]แต่ถูกขัดจังหวะเสียก่อนด้วยเหตุผลเรื่องการห้ามใช้มนตราในที่สาธารณะ
ในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน
จอมโจรคิดมีความสัมพันธ์กับครอบครัวคุโด้และได้รับการเฉลยว่า พวกเขาเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน คุโรบะ โทอิจิพ่อของจอมโจรคิดเป็นพี่ชายของ คุโด้ ยูซากุ และเป็นลุงของชินอิจิ ตั้งแต่จอมโจรคิดรุ่นโทอิจิ โดยคุโด้ ยูซากุ เป็นผู้ตั้งฉายา KID ให้กับโทอิจิ สาเหตุมาจากกระดาษที่เขียนหมายเลข1412(รหัสที่FBIใช้เรียกจอมโจรคิด)เกิดเปียก ทำให้เพี้ยนไปเป็นคำว่า KID และ คุโด้ ยูกิโกะ เรียนการปลอมตัวกับโทอิจิมาพร้อม ๆ กันกับ ชารอน วินยาร์ด[14] สำหรับ คุโด้ ชินอิจิ นั้นเคยถูกท้าทายปริศนาจากโทอิจิในสมัยเด็กมาแล้ว[25]
กับ เอโดงาวะ โคนัน
ความสัมพันธ์นั้นยังคงสืบต่อมาถึงจอมโจรคิดรุ่นปัจจุบัน แต่เน้นไปที่เอโดกาวะ โคนันมากกว่า เนื่องจากโคนันเคยเผชิญหน้ากับจอมโจรคิดมาแล้วในตอนแบล็กสตาร์[11] การเผชิญหน้าแต่ละครั้งระหว่างคิดกับโคนันจึงเป็นไปในทางที่โคนันพยายามขัดขวางไม่ให้แผนการโจรกรรมสำเร็จ หรือเพียงแต่ปรากฏตัวเฉย ๆ โดยมีการพูดคุยบ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นการที่โคนันจะอธิบายถึงกลของคิดโดยอาจมีการเย้ยหยันกันเล็กน้อย และแม้กระทั่งการช่วยกันเพื่อให้พ้นจากวิกฤตก็มีให้เห็น ซึ่งโคนันเองก็รู้ดีว่าคิดไม่ใช่คนเลว แต่ด้วยหน้าที่ของนักสืบและความท้าทายจึงมักเข้าขัดขวางและพยายามจับกุมคิดให้ได้ (แต่อย่างไรก็ตามด้วยความสามารถในการสืบแกะรอยและขัดขวางจอมโจรคิดของโคนันทำให้มีผู้จำนวนมากยอมรับนับถือจนได้แต่งตั้งฉายาว่า '''คิดคิลเลอร์''')
ในบางคดีที่คิดช่วยเหลือคนรอบข้างเช่นพวกแก๊งนักสืบจิ๋ว โคนันก็ทำปิดตาไม่รู้ไม่เห็นปล่อยคิดไป หรือในเดอะมูฟวี่ ที่โคนันประจันหน้ากับคิดบนตึกระฟ้า ขณะที่โคนันหลบไพ่ของคิดก็พลัดตกลงไป คิดจึงกางแฮงไกลเดอร์บินลงไปช่วยอย่างไม่ลังเล หรืออีกครั้งหนึ่งคือการช่วยขับเครื่องบินที่ต้องลงจอดทันทีก่อนที่จะตกร่วมกับโคนันในเดอะมูฟวี่8 มนตราแห่งรัตติกาลสีเงิน และยังลงจากเครื่องไปก่อนเพื่อล่อให้ตำรวจตามมา โดยใช้แสงไฟรถตำรวจสีแดงแทนแสงรันเวย์ฉุกเฉิน ทำให้เครื่องบินที่มีผู้โดยสารนับร้อยลงจอดได้อย่างปลอดภัย ที่เด่นชัดที่สุดคือในเดอะมูฟวี่14 ปริศนามรณะเหนือน่านฟ้า เมื่อโคนันถูกผู้ก่อการร้ายโยนลงไปจากเรือเหาะ คิดได้กระโดดลงไปช่วยและยังร่วมมือกับโคนันปลอมเป็นคุโด้ ชินอิจิเพื่อขอขึ้นเฮลิคอปเตอร์ตำรวจกลับขึ้นไปบนเรือเหาะ
คิดเองรู้จักตัวจริงของโคนันว่าคือคุโด้ ชินอิจิ ทั้งยังมีหน้าตาคล้ายกันมากจนเหมือนฝาแฝด ซึ่งเป็นเพราะทั้งสองคนเป็นลูกพี่ลูกน้องกันน ทั้งความฉลาดเฉลียว ทักษะและไหวพริบการเอาตัวรอดก็ใกล้เคียงกัน ดังนั้นการปลอมตัวเป็นชินอิจิโดยไม่ต้องสวมหน้ากากจึงเป็นข้อได้เปรียบมากหากคิดต้องการหลบเลี่ยงการพิสูจน์ว่าเป็นตัวจริงหรือปลอมจากคนที่เข้ามาดึงหน้า อีกทั้งยังได้รับความเชื่อถือจากใครหลายๆคนเสียอีก
ความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างจอมโจรคิดกับตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน คือความสัมพันธ์กับตระกูลสึสึกิ ตามท้องเรื่องปรากฏว่าจอมโจรคิดโจรกรรมสมบัติที่อยู่ในความครอบครองของตระกูลไปหลายครั้ง เช่น อัญมณีแบล็กสตาร์ ไข่อิมพีเรียลอีสเตอร์ของฟาเบลเจ และรองเท้า "เล็บสีม่วง" เป็นต้น สึสึกิ โซโนโกะ ซึ่งเป็นบุตรสาวในตระกูลสึสึกิเองมีความคลั่งไคล้ในจอมโจรคิดเป็นอย่างมาก และมักจะเชียร์จอมโจรคิดให้ประสบความสำเร็จในการโจรกรรมอยู่ร่ำไป[26] เป็นต้น
อีกคนหนึ่งที่จอมโจรคิดมีความสัมพันธ์ด้วยคือที่ปรึกษาประจำบริษัทสึสึกิ สึสึกิ จิโรคิจิ ผู้เป็นลุงของโซโนโกะ ซึ่งได้เดินทางไปรอบโลกเพื่อหาสมบัติทั่วโลกและรางวัลต่างๆ เขาได้โกรธแค้นจอมโจรคิดเพราะเนื่องจากเขาชอบให้ตนเองเป็นข่าวหน้าหนึ่งเสมอ แต่หนังสือพิมพ์ก็ได้พิมพ์ข่าวที่มีจอมโจรคิด แม้แต่หน้าสองก็มี ทำให้จิโรคิจิตัดสินใจว่าจะจับคิดให้ได้ โดยใช้สมบัติต่างๆที่หามาได้เป็นเหยื่อล่อ และส่งสารไปยังจอมโจรคิดเพื่อท้าทายเสมอ[27] แต่จอมโจรคิดก็ไม่ได้นำไปจริง ๆ เพียงแต่มาตามคำท้าเพียงหอมปากหอมคอเท่านั้น ส่วนในกรณีของไข่ฟาเบลเจ จอมโจรคิดได้ขโมยเพื่อจะนำกลับไปคืนเจ้าของที่แท้จริง ซึ่งก็คือหลานสาวของผู้สร้างไข่กลขึ้นมา แต่ก็ถูกสกอร์เปียนทำร้ายไปเสียก่อน[18] แต่ครั้งหนึ่งจิโรคิจิได้แอบส่งสารขอความช่วยเหลือไปยังจอมโจรคิด เพราะลูแปงหมาเลี้ยงของเขาได้ถูกขังไว้ในตู้เซฟที่ที่แข็งแกร่งที่สุดยากนักที่จะไขออกได้ จอมโจรคิดก็ยอมช่วยเหลือจนสามารถไขตู้เซฟพร้อมช่วยลูแปงได้ในที่สุด
ผลกระทบต่อยอดนักสืบจิ๋วโคนัน
เดิมทีแล้วอาโอยาม่าวาดการ์ตูนเรื่องจอมโจรอัจฉริยะและไยบะมาพร้อม ๆ กัน ลงพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นซันเดย์และได้รับความนิยมทั้งคู่ จนกระทั่งมีครั้งหนึ่งในจอมโจรอัจฉริยะที่ได้มีการนำจอมโจรคิดมาเขียนร่วมกับไยบะ และลงตีพิมพ์ในจอมโจรอัจฉริยะฉบับรวมเล่มเล่ม 3[28] อย่างไรก็ดีเมื่ออาโอยาม่ามาวาดเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนันซึ่งก็ได้รับความนิยมในทันทีที่มีการวางตลาด อาโอยาม่าก็จำเป็นต้องหยุดเขียนเรื่องจอมโจรอัจฉริยะ แต่อาโอยาม่าก็มิได้ปล่อยให้จอมโจรคิดหายไปจากมังงะแต่อย่างใด จอมโจรคิดได้กลับมาปรากฏตัวในโคนันเล่ม 16 โดยเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างโคนันกับจอมโจรคิด ครั้งนั้นเองมีการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ได้ถูกเปิดเผยในจอมโจรอัจฉริยะ[8] เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของชื่อ ซึ่งในประเทศไทยปรากฏว่ามีผู้ติดตามเรื่องตั้งข้อสังเกตเมื่อได้อ่านยอดนักสืบจิ๋วโคนันเล่ม 55 ว่าที่มาของชื่อของจอมโจรคิดไม่ตรงกัน จนสามารถพิสูจน์ได้ว่าอาจเป็นการแปลผิดของสำนักพิมพ์[29] หลังจากเล่ม 16 ก็ยังมีการปรากฏตัวของจอมโจรคิดในยอดนักสืบจิ๋วโคนันอยู่เรื่อย ๆ ในขณะที่อาโอยาม่าก็เขียนจอมโจรอัจฉริยะซึ่งเป็นเรื่องหลักของจอมโจรคิดต่อด้วยเช่นกัน แต่ก็เขียนได้อีกแค่เล่มเดียวก็ต้องไปเขียนในยอดนักสืบจิ๋วโคนันต่อ อย่างไรก็ดีทางผู้สร้างอนิเมะของยอดนักสืบจิ๋วโคนันก็ได้นำเรื่องในจอมโจรอัจฉริยะมาดัดแปลงและทำเป็นเรื่องของยอดนักสืบจิ๋วโคนันแทน โดยต่อไปนี้คือรายการปรากฏตัวส่วนหนึ่งของจอมโจรคิดในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน
- หมายเหตุ ชื่อตอนที่กำกับด้วยภาษาญี่ปุ่น ยังไม่มีการแปลอย่างเป็นทางการที่ได้รับอนุญาตจากผู้ถือลิขสิทธิ์
การปรากฏตัวอนิเมะและเดอะมูฟวี่
ตอนที่ (ญี่ปุ่น) | ตอนที่ (ไทย) | วันที่ออกอากาศ (ญี่ปุ่น) | ชื่อตอน | เทียบกับตอนในมังงะยอดนักสืบจิ๋วโคนัน |
---|---|---|---|---|
76 | 78-79 | 22 กันยายน พ.ศ. 2540 | โคนัน VS จอมโจรคิด (ตอนพิเศษ 1 ชั่วโมง) | เล่ม 16 ไฟล์ 6-9 (ตอนที่ 156-159)[8] |
132-134 | 142-144 | 25 มกราคม, 1 กุมภาพันธ์ และ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 | คดีฆาตกรรมคนรักมายากล | เล่ม 20 ไฟล์ 2-6 (ตอนที่ 192-196)[30] |
มูฟวี่ 3 | 17 เมษายน พ.ศ. 2542 | ปริศนาพ่อมดคนสุดท้ายแห่งศตวรรษ (The Last Wizard of the Century)[18] | - | |
219 | 235-238 | 8 มกราคม พ.ศ. 2544 | รวมพลยอดนักสืบ คุโด้ชินอิจิ ปะทะจอมโจรคิด (ตอนพิเศษ 2 ชั่วโมง) | จอมโจรอัจฉริยะเล่ม 4 ตอน "แบล็กสตาร์" ในช่วงต้น และยอดนักสืบจิ๋วโคนันเล่ม 30 ไฟล์ 4-7 (ตอนที่ 299-302)[11] |
356 | 386-387 | 12 เมษายน พ.ศ. 2547 | มายากลกลางหาวของจอมโจรคิด (ตอนพิเศษ 1 ชั่วโมง) | เล่ม 44 ไฟล์ 7-10 (ตอนที่ 453-456)[16] |
มูฟวี่ 8 | 17 เมษายน พ.ศ. 2547 | มนตราแห่งรัตติกาลสีเงิน (Magician of the Silver Sky)[15] | - | |
394-396 | 428-430 | 18 เมษายน, 25 เมษายน และ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 | การผจญภัยในบ้านร้างแสนพิลึก (ญี่ปุ่น: 奇抜な屋敷の大冒険; โรมาจิ: Kibatsu na Yashiki no Daibouken) | เล่ม 46 ไฟล์ 7-10 (ตอนที่ 475-478)[31] |
มูฟวี่ 10 | 15 เมษายน พ.ศ. 2549 | บทเพลงมรณะแด่เหล่านักสืบ (The Private Eyes' Requiem)[19] | - | |
469-470 | 509-510 | 16 เมษายน และ 23 เมษายน พ.ศ. 2550 | 4 ภาพเขียนชื่อดังกับจอมโจรคิด (ญี่ปุ่น: 怪盗キッドと4名画; โรมาจิ: Kaitō Kiddo to yon Meiga) | เล่ม 53 ไฟล์ 1-4 (ตอนที่ 544-547)[20] |
472-473 | 512-513 | 14 พฤษภาคม และ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 | การผจญภัยของชินอิจิน้อย (ญี่ปุ่น: 工藤新一少年の冒険; โรมาจิ: Kudō Shinichi Shōnen no Bōken) | เล่ม 55 ไฟล์ 6-9 (ตอนที่ 570-573)[25][14] |
515 | 562-563 | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551 | กลเคลื่อนย้ายในพริบตาของจอมโจรคิด (ตอนพิเศษ 1 ชั่วโมง) (ญี่ปุ่น: 怪盗キッドの瞬間移動魔術; โรมาจิ: Kaitō Kiddo no Terepōtēshon Majikku) | เล่ม 61 ไฟล์ 1-4 (ตอนที่ 631-634)[17] |
537-538 | 588-589 | 13 มิถุนายน และ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552 | จอมโจรคิดปะทะตู้นิรภัยที่แข็งแกร่งที่สุด (ญี่ปุ่น: 怪盗キッドVS最強金庫; โรมาจิ: Kaitō Kiddo VS Saikyō Kinko) | เล่ม 64 ไฟล์ 11 (ตอนที่ 675) เล่ม 65 ไฟล์ 1-2 (ตอนที่ 676-677) |
มูฟวี่ 14 | 17 เมษายน พ.ศ. 2553 | ปริศนามรณะเหนือน่านฟ้า (ญี่ปุ่น: 名探偵コナン 天空の難破船 (ロスト・シップ) Meitantei Conan Tenkuu no Rosuto Shippu (LOST SHIP)) | - | |
Magic Kaito EP1 | 17 เมษายน พ.ศ. 2553 | Rebirth of the Phantom Thief (ญี่ปุ่น: 蘇る怪盗 Yomigaeru Kaitou)) | จอมโจรอัจฉริยะ เล่ม 1 ตอนแรก | |
586-587 | 637-638 | 4 กันยายน และ 11 กันยายน พ.ศ. 2553 | เขากิเลนที่หายไปในความมืด กับ จอมโจรคิด ปะทะ ภูตทั้ง 4 แห่งชมรมนักสืบ หรือ จอมโจรคิด ปะทะ ขบวนการนักสืบ (ญี่ปุ่น: 怪盗キッドVS四神探偵団 Kaitō kiddo VS shi kami tantei-dan) | เล่ม 68 ไฟล์ 5-8 (ตอนที่ 712-715) |
627-628 | 678-679 | 20 สิงหาคม และ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | โคนัน จอมโจรคิด กับศึกชิงสมบัติซากาโมโตะ เรียวมะ (ญี่ปุ่น: コナンキッドの龍馬お宝攻防戦 Konan Kiddo no Ryouma otakara koubousen) | เล่ม 70 ไฟล์ 2-4 (ตอนที่ 731-733) |
701-704 | 753-756 | 13 กรกฎาคม 20 กรกฎาคม 27 กรกฎาคม และ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556 | รถด่วนสีดำ The Jet-Black Mystery Train (ญี่ปุ่น: 漆黒の特急 Shikkoku no misuterītorein) | เล่ม 78 ไฟล์ 1-7 (ตอนที่ 818-824) |
724-725 | 776-777 | 4 มกราคม และ 11 มกราคม พ.ศ. 2557 | จอมโจรคิดกับนางเงือกขี้อาย Kaitou Kid and the Blush Mermaid (ญี่ปุ่น: 怪盗キッドと赤面の人魚 Kaitō kiddo to sekimen no ningyo) | เล่ม 78 ไฟล์ 11 (ตอนที่ 828) เล่ม 79 ไฟล์ 1-2 (ตอนที่ 829-830) |
746-747 | 799-800 | 12 กรกฎาคม และ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 | จอมโจรคิดปะทะเคียวโงคุ มาโคโตะ (ญี่ปุ่น: 怪盗キッドVS京極真 Kaitō Kiddo VS Kyōgoku Makoto) | เล่ม 81 ไฟล์ 11 (ตอนที่ 861) เล่มที่ 82 ไฟล์ 1-2 (ตอนที่ 862-863) |
มูฟวี่ 19 | 18 เมษายน พ.ศ. 2558 | ปริศนาทานตะวันมรณะ Detective Conan: Sunflowers of Inferno (ญี่ปุ่น: 名探偵コナン 業火の向日葵 Meitantei Konan: Gōka no Himawari ?) | - | |
887-888 | 942-943 | 6 มกราคม และ 13 มกราคม พ.ศ. 2561 | จอมโจรคิดกับกล่องปริศนา (ญี่ปุ่น: 怪盗キッドの絡繰箱 Kaitō Kiddo no Karakuri-bako) | เล่ม 91 ไฟล์ 4-6 (ตอนที่ 963-965) |
มูฟวี่ 23 | 12 เมษายน พ.ศ. 2562 | ศึกชิงอัญมณีสีคราม Detective Conan: The Fist of Blue Sapphire (ญี่ปุ่น: 名探偵コナン 紺青の拳 Meitantei Conan: Konjō no Fisuto) | - | |
983-984 | 1040-1041 | 3 ตุลาคม และ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563 | จอมโจรคิด ปะทะ โคเมย์ : เป้าหมายคือริมฝีปาก (ญี่ปุ่น: キッドVS高明 ー狙われた唇 Kiddo VS Takaaki ̄ nerawareta kuchibiru) | เล่ม 96 ไฟล์ 4-7 |
1105-1106 | 1163-1164 | 2 ธันวาคม และ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 | "คิด ปะทะ อามุโร่ กับมงกุฎราชินี (ตอนแรก)" Kid vs. Amuro: The Queen's Bangs
"Kiddo Vāsasu Amuro Kuīnzu Bangu" (キッドVS安室 王妃の前髪クイーンズ・バング) |
มังงะ เล่มที่ 101 ไฟล์ 7-9 |
ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน VS จอมโจรคิด | 2-7 กุมภาพันธ์ และ มีนาคม พ.ศ.2567 | Magic Kid VS Detective Conan | ภาพยนตร์พิเศษเพื่อการโปรโมทภาพยนตร์มูฟวี่ 27 | |
มูฟวี่ 27 | 24 เมษายน พ.ศ.2567 | ปริศนาปราการ 5 แฉก The Million Dollar Signpost (ญี่ปุ่น: 名探偵コナン 100万ドルの五稜星 Meitantei Konan Hyaku Man-doru no Michishirube) |
การปรากฏตัวในโอวีเอ
ตอนที่ | ชื่อไทย | ชื่อญี่ปุ่น | ตอนที่ตรงกับมังงะจอมโจรอัจฉริยะ |
---|---|---|---|
1 | โคนันปะทะคิดปะทะไยบะ - ศึกแตกหักชิงดาบล้ำค่า | (ญี่ปุ่น: コナンvsキッドvsヤイバ 宝刀争奪大決戦!!; โรมาจิ: Konan tai Kiddo tai Yaiba Hōtō Soudatsu Daikessen) | เล่ม 3 ตอนพิเศษ "ไยบะ VS ไคโตะ" (ดัดแปลงเนื้อหา)[28] |
4 | โคนัน คิดและคริสตัลมาเธอร์ | (ญี่ปุ่น: コナンとキッドとクリスタル·マザー; โรมาจิ: Konan to Kiddo to Kurisutaru Mazā) | เล่ม 4 ตอน "คริสตัลมาเธอร์"[32] |
6 | ไล่ล่าหาอัญมณี! โคนันกับเฮย์จิปะทะคิด | (ญี่ปุ่น: 消えたダイヤを追え!コナン·平次vsキッド; โรมาจิ: Kieta Daiya o Oe! Konan, Heiji vs Kiddo) | - |
สินค้าอื่น ๆ
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าจอมโจรคิดเป็นที่รู้จักในบทบาทการปรากฏตัวในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน สินค้าที่ทำออกมาที่เกี่ยวกับจอมโจรคิดจึงเป็นสินค้าของยอดนักสืบจิ๋วโคนันแทบทั้งสิ้น ตัวอย่างสินค้าที่ทำออกมาและมีจอมโจรคิดออกมาด้วย เช่น
- ปฏิทินยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ประจำ พ.ศ. 2552 สำหรับปฏิทินประจำ พ.ศ. 2552 นั้น จอมโจรคิดจะปรากฏตัวในแผ่นของเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน[33]
- หนังสือเล่มพิเศษของโชเน็นซันเดย์ 2 เล่ม เนื้อหาเกี่ยวกับจอมโจรคิดและโคนัน ได้แก่
- กรมไปรษณีย์ญี่ปุ่นเคยจัดทำชุดแสตมป์ "ANIME HERO-HEROIN SERIES" ซึ่งเป็นแสตมป์ที่ระลึกอนิเมะ และมังงะ ที่ได้รับความนิยมสูงมาหลายชุด โดบชุดที่เกี่ยวกับยอดนักสืบจิ๋วโคนันและจอมโจรคิด ได้แก่ชุดที่ 4 และชุดที่ 10 โดยชุดที่ 4 ภาพของจอมโจรคิดจะเป็นภาพขณะเผชิญหน้ากับโคนันครั้งแรกในยอดนักสืบจิ๋วโคนันมาบรรจุลงในแสตมป์[36] และในชุดที่ 10 ที่วางจำหน่ายในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นแสตมป์แนวคิด "สี่ฤดู" เป็นภาพจอมโจรคิดกับโคนัน โดยมีแฮงไกเดอร์ของจอมโจรคิดบินตัดพระจันทร์[37][38]
- บริษัทบันไดเคยผลิตฟิกเกอร์รูปจอมโจรคิดออกมาวางจำหน่าย ในฐานะส่วนหนึ่งของฟิกเกอร์ขนาดเล็กของยอดนักสืบจิ๋วโคนัน[39]
- นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่เกี่ยวกับจอมโจรคิดอีกหลายหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็นไฟฉาย[40] โปสเตอร์ เป็นต้น
ข้อสังเกตด้านที่มาของชื่อในประเทศไทย
มีผู้ติดตามเรื่องในประเทศไทยส่วนหนึ่งตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับที่มาของจอมโจรคิด ตามที่ปรากฏในมังงะเล่ม 16 และเล่ม 55 ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ เนื่องจากที่มาของชื่อ "คิด" ที่คุโด้ ยูซากุเป็นคนตั้งตามที่ระบุไว้ในทั้งสองเล่มระบุไม่ตรงกัน โดยในเล่มที่ 16 ดอกเตอร์อากาสะกล่าวว่า "เขา (ยูซากุ) บังเอิญทำเหล้าหกใส่ตัว 1412 เลยอ่านใหม่ได้ว่า เค ไอ ดี KID (คิด)"[8] ในขณะที่เล่มที่ 55 มีการยกคำพูดของคุโด้ ยูกิโกะที่พูดกับโคนันทางโทรศัพท์ว่า "เขา (ยูซากุ) บอกว่านักหนังสือพิมพ์เขียน 1412 หวัด ๆ เขาก็เลยอ่านมันว่าคิด" ผู้ติดตามเรื่องกลุ่มหนึ่งได้สอบทานกับต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น และ Case Closed ซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับสหรัฐอเมริกา และพบว่าที่มาของชื่อ "คิด" ที่ถูกต้องคือที่มาที่ว่านักหนังสือพิมพ์เขียนหวัดจึงอ่านว่าคิด ดังที่ระบุไว้ในเล่ม 55[4] เนื่องจากปรากฏในต้นฉบับทั้งสองว่า
1412のナンバーを洒落てこう読んだのじゃ
(1412 no Number wo sharetekou kouyon danoja)— ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ฉบับภาษาญี่ปุ่น เล่ม 16
He took the number 1412 and redesigned it to look like K-I-D
— Case Closed เล่ม 16[41]
ในต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยคำว่าชาเรรุ (ญี่ปุ่น: 洒落る; โรมาจิ: Shareru) ที่แปลว่าเล่นคำ ซึ่งในต้นฉบับของ Case Closed ใช้คำว่า Redesign ซึ่งตรงกับความหมายเดิมในภาษาญี่ปุ่น แต่ผู้แปลภาษาไทยแยกคำนี้ออกเป็นสองคำ โดยแยกเป็นคำว่า สะเกะ (ญี่ปุ่น: 酒; โรมาจิ: Sake) ที่แปลว่าเหล้าและ โอชิรุ (ญี่ปุ่น: 落ちる; โรมาจิ: Ochiru) ที่แปลว่าตก, หล่น ทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไป[29]
ดูเพิ่ม
บรรณานุกรม
- ↑ 1.0 1.1 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2550). "เล่ม 4 ช่วงการ์ตูนแถม & บทความ". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ เหมียวเลเซอร์. "รายชื่อผู้ให้เสียงพากย์ไทย ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน". ไทยบันเทิง. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2561.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 25410072). "เล่ม 20 ไฟล์ 2 (หนีเถอะ)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 M. Chif, Icka!. "Magic Kaito Major Characters". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-10. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2544). "เล่ม 30 ไฟล์ 4 (ชุมนุม)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2531). "เล่ม 1 ตอน "จอมโจรคืนชีพ"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 7.0 7.1 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2537). "เล่ม 3 ตอน "บลูเบิร์ธเดย์"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2540). "เล่ม 16 ไฟล์ 6 (คู่ปรับ)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 9.0 9.1 9.2 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2550). "เล่ม 4 ตอน "เรดเทียร์"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 10.0 10.1 10.2 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2537). "เล่ม 3 ตอน "ยอดนักสืบมาแล้ว!!"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2550). "เล่ม 4 ตอน "แบล็กสตาร์"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2537). "เล่ม 3 ตอน "ของขวัญจากอาคาโกะ"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2537). "เล่ม 2 ตอนผลงานชิ้นพิเศษ "เซียนปะทะนักมายากล"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 14.0 14.1 14.2 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2549). "เล่ม 55 ไฟล์ 9 (ตะวันตกดิน ๆ)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 15.0 15.1 ยามาโมโตะ ยาสุอิจิโร่, โคอุจิ คาซึนาริ, โกโช อาโอยาม่า. "มนตราแห่งรัตติกาลสีเงิน". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะมูฟวี่. ภาคที่ 8 (ออกฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศญี่ปุ่นวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2547)
- ↑ 16.0 16.1 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2547). "เล่ม 44 ไฟล์ 10 (หลบหนี)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-858-382-2.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 17.0 17.1 17.2 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2551). "เล่ม 61 ไฟล์ 4 (Zero)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-858-382-2.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 โคดามะ คาเน็ทสึกุ, โคอุจิ คาซึนาริ, โกโช อาโอยาม่า. "ปริศนาพ่อมดคนสุดท้ายแห่งศตวรรษ". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะมูฟวี่. ภาคที่ 3 (ออกฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศญี่ปุ่นวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2542)
- ↑ 19.0 19.1 ยามาโมโต้ ไทอิจิโร่, โคอุจิ คาซึนาริ, โกโช อาโอยาม่า. "บทเพลงมรณะแด่เหล่านักสืบ". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะมูฟวี่. ภาคที่ 10 (ออกฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศญี่ปุ่นวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2542)
- ↑ 20.0 20.1 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2549). "เล่ม 53 ไฟล์ 2 (สุวรรณฉาย)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-858-382-2.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2531). "เล่ม 2 ตอน "นายกรัฐมนตรีที่ไร้ความรับผิดชอบที่สุดในญี่ปุ่น"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2531). "เล่ม 1 ตอน "วันวุ่น ๆ ของจอมโจรคิด"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2537). "เล่ม 3 ตอน "กรีนดรีม"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2537). "เล่ม 3 ตอน "โจรใกล้ตัว"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 25.0 25.1 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2549). "เล่ม 55 ไฟล์ 6 (ใต้เงาจันทร์)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2551). "เล่ม 61 ไฟล์ 2 (เคลื่อนย้ายในพริบตา)". ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-858-382-2.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2547). "เล่ม 44 ไฟล์ 7 (มหัศจรรย์)". ยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-858-382-2.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 28.0 28.1 อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2537). "เล่ม 3 ตอนพิเศษ "ไยบะ VS ไคโตะ!"". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 29.0 29.1 "มีคำถามจากโคนันเล่มล่าสุด (55) หน่อยค่ะ >//<". CJRTeashop.net. 29 มีนาคม 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-04. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2552.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2541). "เล่ม 20 ไฟล์ 6 (ทางเวหา)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2547). "เล่ม 46 ไฟล์ 10 (ไม่มีวันตาย)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2550). "เล่ม 4 ตอน "คริสตัลมาเธอร์" (ดัดแปลงเนื้อหา)". จอมโจรอัจฉริยะ. สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-218-510-7.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ "名探偵コナン 2009年カレンダー (カレンダー)" (ภาษาญี่ปุ่น). แอมะซอนญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "小学館:コミック 『名探偵コナンVS怪盗キッド 完全版』" (ภาษาญี่ปุ่น). โชงะกุกังสกายการ์เดน. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "小学館:コミック 『名探偵コナン 対決怪盗キッド編』" (ภาษาญี่ปุ่น). โชงะกุกังสกายการ์เดน. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "Detective Fiction on Stamps: Detective Conan 1 (Japan)". Trussel.com. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Detective Fiction on Stamps: Detective Conan 2 (Japan)". Trussel.com. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "特殊切手 アニメ・ヒーロー・ヒロインシリーズ〈第10集〉「名探偵コナン」の発行" (ภาษาญี่ปุ่น). Japanpost.jp. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "名探偵コナン | バンダイ | 商品情報詳細" (ภาษาญี่ปุ่น). Bandai.co.jp Catalogue.
- ↑ "(名探偵コナン)光る!LED" (ภาษาญี่ปุ่น). rakuten.co.jp. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552.
{cite web}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อาโอยาม่า, โกโช (20 มีนาคม พ.ศ. 2550). "เล่ม 16 ไฟล์ 6 (Annihilation)". Case Closed Vol. 16. VIZ Media LLC. ISBN 978-142-150-881-8.
{cite book}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)