จอห์น ล็อก

จอห์น ล็อค
John Locke
เกิด29 สิงหาคม ค.ศ. 1632
ซัมเมอร์เซต ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต28 ตุลาคม ค.ศ. 1704 (72 ปี)
เอสเซ็กซ์ ประเทศอังกฤษ
สัญชาติอังกฤษ
ยุคศตวรรษที่ 17
แนวทางปรัชญาตะวันตก
ความสนใจหลัก
อภิปรัชญา, ญาณวิทยา, ปรัชญาการเมือง, ปรัชญาจิต, ปรัชญาการศึกษา, เศรษฐศาสตร์
ได้รับอิทธิพลจาก
เป็นอิทธิพลต่อ
ลายมือชื่อ

จอห์น ล็อก (อังกฤษ: John Locke) เป็นนักปรัชญา ชาวอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสนใจหลักของเขาคือสังคมและทฤษฎีของความรู้ ได้รับการขนานนามว่า "บิดาแห่งระบอบประชาธิปไตย"

แนวคิดของล็อกที่เกี่ยวกับ "ผู้ปกครองที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" ตีพิมพ์ลงหนังสือของเขา "ศาสตร์นิพนธ์สองบรรพว่าด้วยการปกครอง" (Two Treaties of Government)[2] อีกทั้งแนวคิดของล็อกได้เสนอว่าอำนาจไม่ควรตกอยู่คนเดียว และสามารถตรวจสอบอำนาจของผู้มีอำนาจได้ ซึ่งได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ อำนาจบริหาร[3] และสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ที่เขาอธิบายว่าประกอบไปด้วย ชีวิต, เสรีภาพ, และทรัพย์สิน นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทางปรัชญาการเมือง แนวคิดของเขาเป็นพื้นฐานของกฎหมายและรัฐบาลอเมริกัน ซึ่งผู้บุกเบิกได้ใช้มันเป็นเหตุผลของการปฏิวัติ

แนวคิดด้านญาณวิทยาของล็อกนั้นมีอิทธิพลสำคัญไปจนถึงช่วงของยุคแสงสว่าง. เขามีทัศนะเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ว่า ความรู้จะต้องเกิดหลังประสบการณ์ และความรู้จะเกิดขึ้นโดยอาศัยการสัมผัส เมื่อมนุษย์ได้สัมผัสก็จะมีความรู้สึก และความรู้สึกจะทำให้มนุษย์นั้นคิด และความคิดนี้คือแหล่งกำเนิดแห่งความรู้ หากปราศจากการสัมผัสมนุษย์ก็จะไม่คิด เพราะจิตโดยธรรมชาติจะมีสภาพอยู่เฉย. เขาถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับนักประสบการณ์นิยมชาวบริติช ซึ่งประกอบไปด้วยเดวิด ฮูม และจอร์จ บาร์กลีย์. ล็อกมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับโทมัส ฮอบบส์

อ้างอิง

  1. Broad, Jacqueline (2006). "A Woman's Influence? John Locke and Damaris Masham on Moral Accountability". Journal of the History of Ideas. 67 (3): 489–510. JSTOR 30141038.
  2. เกษียร เตชะพีระ : ย้อนรอยประวัติบิดาเสรีนิยมอังกฤษ John Locke
  3. หนังสือกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง หน้า 31