จิตวิเคราะห์

จิตวิเคราะห์ (อังกฤษ: psychoanalysis) เป็นชุดทฤษฎีและเทคนิคจิตวิทยาและจิตบำบัดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเดิมแพทย์ชาวออสเตรีย ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ทำให้แพร่หลายและบางส่วนกำเนิดจากงานด้านการรักษาของโยเซฟ บรอแยร์ (Josef Breuer) และอื่น ๆ นับแต่นั้น จิตวิเคราะห์ได้ขยายและมีการทบทวน ปฏิรูปและพัฒนาในทิศทางต่าง ๆ เดิมโดยผู้ร่วมงานและศิษย์ของฟรอยด์ เช่น อัลเฟรด อัดแลร์และคาร์ล กุสทัฟ ยุงผู้พัฒนาความคิดของตนเองเป็นเอกเทศจากฟรอยด์ นักจิตวิทยาฟรอยด์ใหม่ (neo-Freudian) สมัยหลังมีเอริช ฟรอมม์, คาเริน ฮอร์ไน, แฮร์รี สแทก ซัลลิแวนและฌัค ลาคา (Jacques Lacan)

หลักพื้นฐานของจิตวิเคราะห์มีดังนี้

  1. นอกเหนือไปจากองค์ประกอบบุคลิกภาพที่รับทอดมาแล้ว พัฒนาการของบุคคลกำหนดโดยเหตุการณ์ในวัยเด็กตอนต้น
  2. เจตคติ จริตนิยม ประสบการณ์และความคิดของมนุษย์ได้รับอิทธิพลจากแรงขับไร้เหตุผลมาก
  3. แรงขับไร้เหตุผลคือจิตไร้สำนึก
  4. ความพยายามนำแรงขับเหล่านี้สู่ความตระหนักเผชิญการต่อต้านทางจิตในรูปกลไกป้องกันตน
  5. ความขัดแย้งระหว่างจิตสำนึกและจิตไร้สำนึกหรือการกดเก็บ ปัจจัยสามารถเกิดในรูปการรบกวนทางจิตหรืออารมณ์ได้ ตัวอย่างเช่น โรคประสาท ลักษณะประสาท ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น
  6. การปลดปล่อยจากผลแห่งปัจจัยไร้สำนึกบรรลุผ่านการนำปัจจัยเหล่านี้สู่จิตสำนึก (เช่น โดยผ่านการชี้นำอย่างมีทักษะ คือ การรักษา)

ในจิตวิเคราะห์ มีอย่างน้อย 22 ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางจิตของมนุษย์ แนวทางสู่การรักษาหลายแนวทางที่เรียก "จิตวิเคราะห์" ก็มีหลากหลายเช่นเดียวกับทฤษฎี คำนี้ยังหมายถึง วิธีการวิเคราะห์พัฒนาการของเด็กอย่างหนึ่งด้วย

นักจิตวิทยาแบบฟรอยด์หมายความถึงประเภทการรักษาเจาะจงซึ่งผู้ป่วยวิเคราะห์ (analysand) แสดงความคิดของตนออกมาเป็นคำพูด ซึ่งรวมการเชื่อมโยงเสรี (free association) ความเพ้อฝันและฝัน ซึ่งนักวิเคราะห์จะชักนำความขัดแย้งไร้สำนึกที่ก่อให้เกิดอาการของผู้ป่วยและปัญหาบุคลิกออกมา แล้วตีความให้ผู้ป่วยเพื่อสร้างการหยั่งรู้ตนเองเพื่อทุเลาปัญหา นักิวเคราะห์เผชิญและระบุการป้องกัน ความปรารถนาและความรู้สึกผิดพยาธิวิทยาของผู้ป่วยให้ชัด ผ่านการวิเคราะห์ความขัดแย้งซึ่งรวมความขัดแย้งอันมีผลต่อการต่อต้านและที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการถ่ายทอดปฏิกิริยาที่ถูกบิดเบือนให้นักวิเคราะห์ การรักษาจิตวิเคราะห์สามารถสร้างสมมุติฐานว่าผู้ป่วยเป็นศัตรูที่เลวร้ายที่สุดของตนในจิตไร้สำนึกอย่างไร จิตไร้สำนึก ปฏิกิริยาเชิงสัญลักษณ์ซึ่งมีประสบการณ์เป็นตัวกระตุ้นก่ออาการได้อย่างไร

จิตวิเคราะห์ได้รับการวิจารณ์จากแหล่งที่มากว้างขวาง นักวิจารณ์จิตวิเคราะห์สำคัญคนหนึ่งว่า จิตวิเคราะห์เป็นวิทยาศาสตร์เทียม กระนั้น จิตวิเคราะห์มีอิทธิพลแข็งแรงในสาขาจิตเวชศาสตร์ และในบางส่วนของสาขาอื่น