จีเอฟเอเจ-1

จีเอฟเอเจ-1
ภาพขยายของเซลล์แบคทีเรียจีเอฟเอเจ-1 เจริญเติบโตในสิ่งแวดล้อมที่มีเกลือของกรดสารหนู
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Bacteria
ไฟลัม: Proteobacteria
ชั้น: Gammaproteobacteria
อันดับ: Oceanospirillales
วงศ์: Halomonadaceae

จีเอฟเอเจ-1 (GFAJ ย่อมาจาก "Give Felisa a Job"[1]) เป็นสายพันธุ์ของแบคทีเรียทรงแท่งในวงศ์ Halomonadaceae แบคทีเรียเอ็กซ์ทรีมโมไฟล์ชนิดนี้อาศัยแยกตัวออกจากทะเลสาบมอนอ อันเป็นทะเลสาบน้ำเค็มจัดและมีสภาพด่าง ทางตะวันออกของรัฐแคลิฟอร์เนีย นักวิทยาศาสตร์โดยทีมวิจัย นำโดยนักชีววิทยาดาราศาสตร์ของนาซา เฟลิซา วอล์ฟ-ไซมอน ในวารสารไซแอนซ์ในปี พ.ศ. 2553 ตามข้อมูลของผู้เขียน จุลชีพชนิดนี้เมื่อขาดแคลนธาตุฟอสฟอรัส จะสามารถรวมเอาสารหนูเข้าไปไว้ในโปรตีน ลิพิด และผลผลิตจากกระบวนการสร้างและสลาย อย่างเช่น เอทีพี เช่นเดียวกับดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันโดยตรง[2][3] กลไกของการนำสารหนูเข้าไปไว้ในโครงสร้างที่เป็นสารชีวโมเลกุลของเซลล์ยังไม่เป็นที่ทราบกัน และผลของการค้นพบดังกล่าวยังไม่อาจตอบข้อสงสัยของนักวิทยาศาสตร์บางคนได้ การค้นพบจีเอฟเอเจ-1 ได้ให้น้ำหนักแก่แนวคิดที่มีมานานแล้วว่าชีวิตนอกโลกอาจประกอบขึ้นจากธาตุพื้นฐานที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตบนโลก[3][4]

การค้นพบ

แบคทีเรียจีเอฟเอเจ-1 ได้รับการค้นพบโดยนักธรณีจุลชีววิทยา เฟลิซา วอล์ฟ-ไซมอน นักวิจัยสาขาชีววิทยาดาราศาสตร์ในงานสำรวจธรณีสหรัฐอเมริกาในเมนโลพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย[5] สิ่งมีชีวิตดังกล่าวถูกแยกออกมาและได้รับการเพาะเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จากตัวอย่างที่ไซมอนและเพื่อนร่วมงานได้เก็บรวบรวมมาจากตะกอนที่อยู่ก้นทะเลสาบมอนอ[4] อันเป็นทะเลสาบน้ำเค็มจัดและมีสภาพด่างสูงมาก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีความเข้มข้นของสารหนูในธรรมชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก (200 ไมโครโมลาร์)[6] การค้นพบดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์อย่างกว้างขวางเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553[2]

อ้างอิง

  1. Davies, Paul (4 December 2010). "The 'Give Me a Job' Microbe". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2010-12-05.
  2. 2.0 2.1 Katsnelson, Alla (2 December 2010). "Arsenic-eating microbe may redefine chemistry of life". Nature News. doi:10.1038/news.2010.645. สืบค้นเมื่อ 2010-12-02.
  3. 3.0 3.1 Palmer, Jason (2 December 2010). "Arsenic-loving bacteria may help in hunt for alien life". BBC News. doi:10.1038/news.2010.645. สืบค้นเมื่อ 2010-12-02.
  4. 4.0 4.1 คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name Thriving cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  5. Bortman, Henry (5 October 2009). "Searching for Alien Life, on Earth". Astrobiology Magazine (NASA). สืบค้นเมื่อ 2010-12-02.
  6. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name Science cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.