จือนฺหวี่
จือนฺหวี่ | |||||||
ภาพวาดคู่รักที่ทางเดินยาวในพระราชวังฤดูร้อน ปักกิ่ง | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 織女 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 织女 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | สาวทอผ้า | ||||||
|
จือนฺหวี่ เป็นเทพีแห่งการทอผ้าและดาวเวกาในเทพปกรณัมจีน พระองค์เป็นพระธิดาองค์สุดท้องจากพระธิดาทั้งเจ็ดของเง็กเซียนฮ่องเต้ เชื่อกันว่าพระองค์ทอเสื้อคลุมยาวหลวงของพระบิดาจากก้อนเมฆ[1][2][3]
ตำนาน
จือนฺหวี่เป็นพระธิดาองค์ที่เจ็ดของเง็กเซียนฮ่องเต้ วันหนึ่งขณะเดินทางลงมายังโลกเพื่ออาบน้ำในแม่น้ำ พระองค์พบกับหนิวหลาง หนุ่มเลี้ยงวัว เขาตะลึงกับความงามของพระองค์มากจนตกหลุมรักกับพระองค์ทันทีและขโมยฉลองพระองค์ของพระองค์ไป[4] เมื่อไม่มีฉลองพระองค์ จือนฺหวี่จึงไม่สามารถกลับไปสวรรค์ได้ ดังนั้น พระองค์จึงตัดสินพระทัยแต่งงานกับหนิวหลาง โดยหนิวหลางออกไปทำไร่ ส่วนจือนฺหวี่ทอผ้าที่บ้านและดูแลลูก ๆ ของพวกเขา จือนฺหวี่ตกหลุมรักนานมากจนพระองค์ไม่อยากกลับสวรรค์ อย่างไรก็ตาม เง็กเซียนฮ่องเต้พบตัวพระองค์ โดยมีรับสั่งให้ซีหวังหมู่นำจือนฺหวี่กลับมายังสวรรค์ หนิวหลางโมโหมากหลังรู้ว่าภรรยาถูกนำตัวกลับไปสวรรค์ วัวของหนิวหลางจึงสร้างเรือให้เขานำลูก ๆ ของเขาไปที่สวรรค์
ในตอนที่หนิวหลางกับลูกชายหลายคนของเขากำลังจะถึงสวรรค์ ซีหวังหมู่จึงลงโทษพวกเขาด้วยการสร้างแม่น้ำสวรรค์หรือทางช้างเผือกตรงใจกลางท้องฟ้าแยกคู่รักสองคนตลอดกาล เมื่อทั้งคู่อกหัก จือนฺหวี่จึงกลายเป็นดาวเวกาส่วนหนิวหลางกลายเป็นดาวตานกอินทรี
หลังจากนั้น ซีหวังหมู่ได้อนุญาตให้ทั้งคู่พบกันได้แค่ครั้งเดียวในวันที่เจ็ด เดือนเจ็ด เมื่อมีฝูงนกสาลิกาบินไปที่ท้องฟ้าและสร้างสะพานให้ทั้งคู่เดินข้าม[5][6] วันที่ฉลองมีชื่อว่า "เทศกาลซีซี" ซึ่งมีอีกชื่อว่า วันวาเลนไทน์ของจีน[7]
เนื้อเรื่องนี้กลายเป็นหนึ่งในนิทานที่ยิ่งใหญ่ทั้งสี่ของ "ขบวนการนิทานพื้นบ้าน" (Folklore Movement) ในคริสต์ทศวรรษ 1920—ส่วนอีกสามเรื่องคือตำนานนางพญางูขาว, พระนางเมิ่งเจียง และม่านประเพณี[8]
ภาพ
-
ภาพวาดโดยยามาโมโตะ โฮซูอิใน ค.ศ. 1892
-
จือนฺหวี่ที่ถือกระสวยเครื่องทอผ้าบนพระหัตถ์ของพระองค์ ภาพวาดโดย Zhang Ling ราชวงศ์หมิง
-
จือนฺหวี่ทรงพระดำเนินข้ามแม่น้ำสวรรค์ ภาพโดยGai Qi, ค.ศ. 1799
-
จือนฺหวี่บนเพดานในสถานีมู่ซุหยวน หนานจิง
-
จือนฺหวี่กับหนิวหลัง ภาพวาดโดยสึกิโอกะ โยชิโตชิ
-
ภาพการสร้างแม่น้ำสวรรค์ (ทางช้างเผือก) โดย Guo Xu ราชวงศ์หมิง
ดูเพิ่ม
- เทศกาลชีซี
- เทศกาลทานาบาตะ
อ้างอิง
- ↑ "China Today" (ภาษาอังกฤษ). China Welfare Institute. 2005.
- ↑ "Zhi Nu Mythology & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Ohtsuka, Yasuyo. "Photos: The star-crossed lovers of China and Japan's literary traditions". Scroll.in.
- ↑ Tone, Sixth (26 August 2020). "Chinese Valentine's Day Folktale Sparks Discussion on Abuse". Sixth Tone (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Explainer: The Story of Qixi, AKA Chinese Valentine's Day". Thats Mags. 21 August 2020.
- ↑ "Qixi Festival – Google celebrates Chinese traditional festival on Aug 25 this year". Devdiscourse (ภาษาอังกฤษ). 25 August 2020.
- ↑ Laban, Barbara (8 February 2016). "Top 10 Chinese myths". The Guardian.
- ↑ Idema, Wilt L. (2012). "Old Tales for New Times: Some Comments on the Cultural Translation of China's Four Great Folktales in the Twentieth Century" (PDF). Taiwan Journal of East Asian Studies. 9 (1): 26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-06.
แหล่งข้อมูลอื่น
- ตำนานเทศกาลชีซี เก็บถาวร 2009-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน