ญะฮันนัม

ญะฮันนัม (อาหรับ: جهنم) : "นรก"ในศาสนาอิสลามมักสื่อถึงสถานที่ลงโทษผู้ปฏิเสธศรัทธาในชีวิตหลังความตาย การลงโทษจะหนักหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับบาปกรรมที่ทำตอนยังมีชีวิต[1] ส่วนในอัลกุรอาน ญะฮันนัมมักถูกอ้างอิงในชื่อ อันนาร (النار‎ ("ไฟ")),[2] ญะฮีม (جحيم‎ ("ไฟที่ลุกโชน"))[3], ฮุฏอมะฮ์ (حطمة‎ ("สิ่งที่แตกเป็นชิ้นๆ"))[4], ฮาวิยะฮ์ (هاوية‎ ("เหวลึก"))[5], ละซอ (لظى‎), ซะอีร์ (سعير‎ ("ประกายไฟ"))[6], ซะก็อร (سقر‎)[7][8] และเป็นชื่อของประตูนรกต่าง ๆ[9]

หลักฐาน

ชาวมุสลิมส่วนใหญ่รู้เรื่องนี้มาจากคำภีร์อัลกุรอาน รายงานจากEinar Thomassen นักวิชาการที่พบข้อมูลเกี่ยวกับญะฮันนัม/นรกอยู่เกือบ 500 แห่ง (โดยมีชื่อที่แตกต่างกัน) ในอัลกุรอาน[10]

กุรอาน

ในอัลกุรอานได้กล่าวถึงนรกไว้หลายแบบ อัน-นาร (ไฟ) ถูกใช้ไป 125 ครั้ง, ญะฮันนัม 77 ครั้ง, ญะฮีม (ประกายไฟ) 26 ครั้ง[11] และอธิบายถึงคุณลักษณะของนรกไว้หลายแบบ[12] เช่น มีความโหดร้าย, น้ำเดือด[13] ลมร้อน และควันดำ[14] เสียงตะคอกและเสียงน้ำเดือด[15] ซึ่งทำให้ผู้อยู่ในนั้นหมดหวังและร้องไห้[16] ผิวที่ถูกไหม้ถูกเปลี่ยนเป็นผิวใหม่เพือที่จะได้รับการลงโทษอย่างเจ็บปวด,[17] การดื่มน้ำที่เป็นหนอง และความตายปรากฏทุกด้านแต่พวกเขากลับไม่ตาย[18] พวกเขาถูกขึงด้วยโซ่ยาว 70 ศอก[19] ใส่เสื้อที่ทำมาจากไฟ และมีไฟล้อมรอบหน้าของพวกเขา[20] แล้วถูกราดน้ำเดือดไว้บนหัว ทำให้ผิวหนังและสิ่งที่อยู่ด้านในละลาย และถูกแขวนด้วยตะขอเหล็กเพื่อที่จะดึงพวกเขากลับถ้าพวกเขาพยายามที่จะหนี[21] พวกเขายอมรับการทำผิด และการวิงวอนขอการให้อภัยนั้นไม่เป็นที่ตอบรับ[22][23][24]

มีการอธิบายถึงญะฮันนัมว่า มันอยู่ใต้สวรรค์[25][26] มี 7 ประตู แต่ละประตูจะมีไว้สำหรับกลุ่มหนึ่ง[9]ของผู้ทำบาป. ในอัลกุรอานได้กล่าวถึงผู้ทำความผิดที่ "ถูกลงโทษตามผลกรรมที่ตนก่อไว้"[27] ส่วนพวกหน้าไหว้หลัวหลอกจะอยู่ในนรกชั้นที่ต่ำที่สุด[11][28]

ภาพลักษณ์ของญะฮันนัม

นบีอิดรีสกำลังดูนรกกับเทวทูต โดยในนรกนั้น ผู้คนกำลังถูกลงโทษโดยซาบานิยะฮ์

นรกญะฮันนัมมักถูกกล่าวว่าเป็นเหวที่มีลมที่แผดเผาและมีสะพานอัซ-ซิรอตอยู่ด้านบน โดยที่ประตูนรกจะมีเทวทูตมาลิกและบรรดาเทวทูตของท่านคุมอยู่ และในส่วนลึกของญะฮันนัมจะมีต้นซักกูมที่มีผลเหมือนหัวปิศาจ และผู้ที่ทำบาปจะถูกทรมานโดยซะบานิยะฮ์ ส่วนอัลกุรอาน 4:168 และอัลกุรอาน 37:23 กล่าวถึงเส้นทางที่พาไปนรก[11] [6]

สถานที่ตั้งของนรก

นักวิชาการมีความคิดที่ต่างกันเกี่ยวกับที่ตั้งของนรก. บางคนเชื่อว่ามันอยู่ที่บ่อซัลเฟอร์ในฮัดเราะเมาต์ ส่วนบางคนเชื่อว่ามันอยู่ในเทือกเขาแห่งฮินโนม. ในศิลปะเปอร์เซีย ประตูสู่นรกอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า วาดีญะฮันนัม ในประเทศอัฟกานิสถาน[29]

ตลอดกาลหรือชั่วคราว

บรรดาอุลามายังไม่มีข้อยอมรับอีกว่าพวกเขาจะอยู่ในนรกตลอดกาลหรือไม่. บางอายะฮ์ในอัลกุรอานได้กล่าวถึงความเป็นอมตะในสวรรค์กับนรก. [Note 1] อัลกุรอาน 7:23 กุรอาน อายะฮ์ที่10:107 กล่าวว่าวันหนึ่งญะฮันนัมจะถูกทำลาย[30] ซึ่งจะทำให้ชาวนรกอาจได้รับการพักฟื้นหรือไม่มีอยู่อีกต่อไป แนวคิดของการทำลายล้างของนรกเรียกว่า ฟะนาอ์ อัล-นาร์[31]

ความเชื่อส่วนใหญ่ของชาวมุสลิมคือ ชาวมุสลิมอยู่ในนรกแค่ชั่วคราว แต่ชนชาติอื่นจะอยู่ในนรกถาวร[32][33]

ข้อความ

มีหลักฐานจากอัลกุรอาน อายะฮ์ที่25:12: "เมื่อนรกญะฮันนัมเป็นพวกเขาจากที่ไกล ๆ พวกเขาก็จะได้ยินเสียงคุไหม้และเสียงเดือดพล่านของมัน".[34] และในฮะดีษหนึ่งกล่าวว่า พระองค์อัลลอฮ์ทรงตรัสกับญะฮันนัมว่า เจ้าเต็มแล้วหรือ? มันได้ตอบว่า: "จะมีคนมาเพิ่มอีกไหม?"[35]

ญะฮันนัมตามนิกายซุนนี

ชาวซุนนีได้แบ่ง ญะฮันนัม เป็น 7 ชั้น ได้แก่:

  1. ไฟสำหรับชาวมุสลิมที่มีบาป
  2. เพลิงสำหรับชาวคริสต์ที่มีบาป
  3. ปลายทางที่ชั่วคราวสำหรับชาวยิวที่มีบาป
  4. ไฟที่โชติช่วงสำหรับคนทรยศ
  5. สถานที่สำหรับพวกแม่มดและหมอดู
  6. เตาไฟสำหรับผู้ปฏิเสธศรัทธา
  7. เหวที่ไร้ที่สิ้นสุดสำหรับพวกหน้าไว้หลังหลอก (ชาวมุสลิมที่ภายนอกดูเหมือนศรัทธา แต่ในใจกลับปฏิเสธ)[36]

ฮะดีษ

ในฮะดีษได้กล่าวถึงลักษณะของ"ญะฮันนัม" อยู่หลายประการ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีหินถูกโยนลงในนั้น มันจะใช้เวลา 70 ปีก่อนที่จะถึงด้านล่าง[37] (ถ้านำไปใช้ในเครื่องคิดเลข หลุมนี้จะมีความลึกมากกว่า 190,000,000 กม. ซึ่งมีระยะทางไกลกว่าระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก)[Note 2] ความกว้างของกำแพงนรกจะมีความยาวเท่ากับการเดินเท้าเป็นเวลา 40 ปี[37] มาลิกในฮะดีษได้กล่าวว่าท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่าไฟใน ญะฮันนัม มีความร้อนมากกว่าไฟบนโลกถึง 70 เท่า[38] และไฟนั้น "ดำยิ่งกว่าน้ำมันดิน".[39]

บางคนถูกสัญญาไว้ว่าจะอยู่ในนรกแล้ว โดยมีบันทึกไว้ในฮะดีษและอัลกุรอาน เช่น: ฟิรเอาน์ (ฟาโรห์ในหนังสืออพยพ), ภรรยาของนบีนูฮ์กับลูฏ และอบูละฮับกับภรรยาของเขา (เป็นศัตรูกับศาสดามุฮัมมัด)[ต้องการอ้างอิง]

ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า ชาวนรกส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เพราะพวกเธอมักจะนินทา, ชอบคาดเดา และพูดพล่อย[40][41]

ในฮะดีษหนึ่งกล่าวว่า ในทุกๆ หนึ่งคนจาก 1,000 คนในวันกิยามะฮ์ จะมี 999 จะต้องอยู่ในไฟนรก ส่วนหนึ่งคนนั้นจะเข้าสวรรค์[42][43][44]

ในฮะดีษที่บันทึกโดยมุสลิมไว้ว่า ศาสดามุฮัมมัดกล่าวว่าคนที่ฆ่าตัวตายจะอยู่ในญะฮันนัมตลอดกาล[45]

การใช้ภาชนะที่ทำมาจากเหล็กมีค่ามีส่วนในการตกนรก ตามฮะดีษที่กล่าวว่า: "ใครที่ดื่มจากภาชนะที่ทำมาจากเงิน เขาได้นำไฟนรกเข้าไปในท้องแล้ว"[46] หรือทรมานแมวจนตาย: "หญิงคนหนึ่งกำลังถูกทรมานและถูกนำเข้าไปในนรก เพราะว่าเธอขังแมวของเธอไว้ข้างในกรงจนมันตายเพราะความหิวโหย"[47][48]

มีอย่างน้อยฮะดีษหนึ่งได้กล่าวถึงการเลี่ยงนรกไว้ว่า: "... จะไม่มีใครเข้านรก ถ้าในใจของเขามีความศรัทธาเล็กน้อย”[Note 3]

ดูเพิ่ม

  • บัรซัค
  • เกเฮนนา

หมายเหตุ

    • " และบรรดาผู้ที่ตามได้กล่าวว่า หากว่าเรามีโอกาสกลับไปอีกครั้งหนึ่ง เราก็จะปลีกตัวออกจากพวกเขาบ้าง เช่นเดียวกับที่พวกเขาได้ปลีกตัวออกจากพวกเรา ในทำนองเดียวนั้นแหละ อัลลอฮ์จะทรงให้พวกเขาเห็นงานต่างๆ ของพวกเขาเป็นที่น่าเสียใจแก่พวกเขา และทั้งพวกเขาจะไม่ได้ออกจากไฟนรกด้วย" S. 2:167 Arberry
    • แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น หากพวกเขามีสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินทั้งหมด และมีเยี่ยงนั้นอีกรวมกัน เพื่อจะใช้มันไถ่ตัวให้พ้นจากการลงโทษในวันกิยามะฮ์แล้ว มันก็จะไม่ถูกรับจากพวกเขา และสำหรับพวกเขานั้นคือการลงโทษอันเจ็บแสบ เขาเหล่านั้นปรารถนาที่จะออกจากไฟนรก แต่พวกเขาก็หาได้ออกจากมันไปได้ไม่ และสำหรับพวกเขานั้นคือการลงโทษที่คงอยู่ตลอดไป S. 5:36-37
    • ดังนั้น พวกเจ้า (ชาวนรก) จงลิ้มรสเถิด เนื่องด้วยพวกเจ้าได้ลืมการชุมนุมกันในวันนี้ของพวกเจ้า แท้จริงเราก็ลืมพวกเจ้าด้วย และพวกเจ้าจงลิ้มรสการลงโทษอย่างตลอดกาลตามที่พวกเจ้าได้กระทำไว้เถิด" S. 32:14
    • นั่นคือ การตอบแทนแก่เหล่าศัตรูของอัลลอฮฺ คือ ไฟนรก สำหรับพวกเขาจะพำนักอยู่ในนรกนั้นตลอดกาลเป็นการตอบแทนตามที่พวกเขาปฏิเสธสัญญาณต่าง ๆ ของเรา S. 41:28
  1. โดยยึดตามแรงโน้มถ่วงของโลก และความเร็วปลายที่เร็ว 89.5 เมตร/วินาที ระยะทางประมาณ 197,708,364,000 เมตร หรือประมาณ 1.3 หน่วยดาราศาสตร์ (AU - ระยะทางเฉลี่ยระหว่างดวงอาทิตย์และโลก)
  2. ฮะดีษอัตติรมีซีย์ (1999), อบูดาวูด (4091) และอิบน์มาญะฮ์ (59) รายงานจากอับดุลลอฮ์ อิบน์ มัสอูด กล่าวว่าท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ็อลฯ (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน)) กล่าวว่า: “จะไม่มีใครเข้าสวรรค์ ถ้าในใจของเขามีความปฏิเสธเพียงเล็กน้อย และจะไม่มีใครเข้านรก ถ้าในใจของเขามีความศรัทธาเพียงเล็กน้อยเช่นกัน”[49]

อ้างอิง

  1. Tom Fulks Heresy? the Five Lost Commandments Strategic Book Publishing 2010 ISBN 978-1-609-11406-0 page74
  2. "Islamic Terminology". สืบค้นเมื่อ 23 December 2014.
  3. อัลกุรอาน 2:119
  4. อัลกุรอาน 104:4
  5. อัลกุรอาน 101:9
  6. 6.0 6.1 อัลกุรอาน 67:5
  7. "A Description of Hellfire (part 1 of 5): An Introduction". Religion of Islam. สืบค้นเมื่อ 23 December 2014.
  8. "The Names of Hell-Fire". IslamCan.com. สืบค้นเมื่อ 23 December 2014.
  9. 9.0 9.1 Rustomji, Nerina (2009). The Garden and the Fire: Heaven and Hell in Islamic Culture. Columbia University Press. pp. 118–9. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
  10. Thomassen, Einar (2009). "Islamic Hell". Numen: International Review for the History of Religions. 56 (2/3).
  11. 11.0 11.1 11.2 Kaltner, John, บ.ก. (2011). Introducing the Qur'an: For Today's Reader. Fortress Press. pp. 228–9. สืบค้นเมื่อ 2 May 2015.
  12. Smith, Jane Idleman; Haddad, Yvonne Yazbeck (1981). The Islamic Understanding of Death and Resurrection. State University of New York Press. pp. 85–86.
  13. อัลกุรอาน 55:55
  14. อัลกุรอาน 56:42-43
  15. อัลกุรอาน 67:7-8
  16. อัลกุรอาน 11:106
  17. อัลกุรอาน 4:56
  18. อัลกุรอาน 15:16-17
  19. อัลกุรอาน 69:30-32
  20. อัลกุรอาน 14:50
  21. อัลกุรอาน 67:7
  22. Kaltner, John, บ.ก. (2011). Introducing the Qur'an: For Today's Reader. Fortress Press. p. 233. สืบค้นเมื่อ 2 May 2015.
  23. อัลกุรอาน 26:96-102
  24. อัลกุรอาน %3Averse%3D24 41 :24
  25. verse 7:50 states "The companions of the Fire will call to the Companions of the Garden: ‘Pour down to us water or anything that God doth provide’".อัลกุรอาน 7:50
  26. Ali, Abdullah Yusuf (2001). The Qur'an. Elmhurst, New York: Tahrike Tarsile Qur'an, Inc. pp. 353–4.
  27. อัลกุรอาน 6:132
  28. อัลกุรอาน 4:145
  29. Christian Lange Locating Hell in Islamic Traditions BRILL 978-90-04-30121-4 p. 12-13
  30. F. E. Peters The Monotheists: Jews, Christians, and Muslims in Conflict and Competition, Volume II: The Words and Will of God Princeton University Press 2009 ISBN 978-1-400-82571-4 page 145
  31. Christian Lange Locating Hell in Islamic Traditions BRILL 978-90-04-30121-4 p. 12
  32. A F Klein Religion Of Islam Routledge 2013 ISBN 978-1-136-09954-0 page 92
  33. Saalih al-Munajjid (Supervisor), Muhammad. "200252: Is there any mention in the Islamic texts of a minimum period that sinners among the people of Tawheed will spend in Hell?". Islam Question and Answer. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.
  34. AMATULLAH. "Paradise and Hell". Islamicity. สืบค้นเมื่อ 7 May 2018.[ลิงก์เสีย]
  35. Ali, Abdullah Yusuf (2001). The Qur'an. Elmhurst, New York: Tahrike Tarsile Qur'an, Inc. p. 1415.
  36. A F Klein Religion Of Islam Routledge 2013 ISBN 978-1-136-09954-0 page 92
  37. 37.0 37.1 Elias, Afzal Hoosen. "Conditions and Stages of Jahannam (Hell)" (PDF). discoveringIslam.org. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
  38. Imam Malik. "Chapter 57 Hadith number 1".
  39. Imam Malik. "Chapter 57 Hadith 2".
  40. Sahih al-Bukhari, 2:18:161 (Volume 2, Book 18, Hadith number 161)
  41. Sahih al-Bukhari, 1:6:301 (Volume 1, Book 6, Hadith number 301)
  42. Sahih al-Bukhari, 4:55:567 (Volume 4, Book 55, Hadith number 567)
  43. อัลกุรอาน 56:39-55
  44. al-Ghazali (1989). The Remembrance of Death and the Afterlife. The Islamic Text Society.
  45. Sahih Muslim. "001:199". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-03. สืบค้นเมื่อ 2019-02-20.
  46. Imam Malik. "Chapter 49 Hadith 11".
  47. Sahih al-Bukhari, 3 :40:323
  48. Parshall, Phil (1989). "8. Hell and Heaven". The Cross and the Crescent Understanding the Muslim Mind and Heart (PDF). Global Mapping International. p. 132. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-12-30. สืบค้นเมื่อ 29 December 2014.
  49. Muhammad Saalih al-Munajjid (2013-10-13). "170526: Commentary on the hadeeth, "No one who has an atom's weight of faith in his heart will enter Hell"". Islam Question and Answer. สืบค้นเมื่อ 20 June 2017.

หนังสือ และบทความต่าง ๆ