โป่ง

กระทิงลงกินดินโป่งในอินเดีย

โป่ง เป็นแหล่งดินที่มีรสเค็มและละเอียดซึ่งเกิดจากแร่ธาตุบางชนิด เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แร่ธาตุในโป่งประกอบไปด้วยโซเดียม แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส และสังกะสี ซึ่งเป็นที่ต้องการของกระดูกและกล้ามเนื้อ แร่ธาตุเหล่านี้เป็นสิ่งซึ่งสัตว์สัตว์ป่าไม่สามารถหาทดแทนได้จากพืช ดังนั้นโป่งจึงเป็นแหล่งแร่ธาตุสำหรับสัตว์ป่าซึ่งกินพืชเป็นอาหาร ส่วนใหญ่พบโป่งได้มากในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดงดิบ จากมากไปน้อยตามลำดับ

ชนิดของโป่งที่มีในธรรมชาติ

  1. โป่งดิน หรือ โป่งแห้ง : เป็นบริเวณที่สัตว์ลงไปใช้ประโยชน์ มักเป็นเนินเตี้ย ๆ หรือเป็นหย่อมดินโล่งอยู่กลางบริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่ล้อมรอบ สังเกตเห็นได้จากการที่มีร่อยรอยการใช้ของสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นรอยขุด รอยตีนย่ำ สัตว์มักจะใช้ปากขุดลงไป ปกติจะลึกไม่เกิน 1 เมตร เพื่อกินดินเหล่านั้น โดยเริ่มกินที่ผิวดินก่อนแล้วค่อย ๆ กินลึกลงไปเป็นบริเวณกว้างไม่เกิน 10 เมตร โป่งดินจะพบตามริมหรือในห้วยที่เป็นที่ราบ ในฤดูฝนที่มีน้ำท่วมขัง สัตว์ป่าจะไม่เลียกินดินแต่จะเลียกินน้ำแทน
  2. โป่งน้ำ หรือ โป่งเปียก : ปกติเป็นแหล่งที่เป็นต้นน้ำ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นน้ำซึมหรือน้ำซับหรือที่ไหลออกมาจากภูเขาหินปูน แอ่งหรือบ่อที่เป็นโป่งดินมาก่อนโดยจะมีน้ำขังตลอดปี มักพบโป่งน้ำตามภูเขา

อ้างอิง

ดูเพิ่ม