ตระกูลสิริวัฒนภักดี

สิริวัฒนภักดี
ประเทศประเทศไทย
ถิ่นพำนักปัจจุบันกรุงเทพมหานคร
นิรุกติศาสตร์สิ-ริ-วัด-ทะ-นะ-พัก-ดี
ต้นตระกูลเจริญ สิริวัฒนภักดี
ผู้นำคนปัจจุบันเจริญ สิริวัฒนภักดี
ทรัพย์สินกลุ่มทีซีซี

ตระกูลสิริวัฒนภักดี เป็นครอบครัวนักธุรกิจ เชื้อสายไทย-จีน และเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย ครอบครัวนี้มีเจริญ สิริวัฒนภักดี เป็นผู้นำ ซึ่งสร้างฐานะจากธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และนับแต่นั้นเป็นต้นมา เขาได้ขยายการถือครองทรัพย์สินของครอบครัวไปสู่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก และอุตสาหกรรมอื่นๆ ผ่านการซื้อกิจการครั้งใหญ่หลายครั้ง ครอบครัวนี้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทจดทะเบียน ได้แก่ ไทยเบฟเวอเรจ, โออิชิ กรุ๊ป, เบอร์ลี่ ยุคเกอร์, บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ, เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้, แอสเสท เวิรด์ คอร์ป และบริษัทอื่น ๆ ทั้งที่ถือครองโดยตรงและภายใต้การถือหุ้นในนาม กลุ่มทีซีซี[1][2][3] ตระกูลสิริวัฒนภักดีถือเป็น 1 ใน 5 ตระกูลธุรกิจใหญ่ที่ครองตลาดธุรกิจในประเทศไทย[4]

ประวัติ

เจริญ สิริวัฒนภักดี เกิดที่กรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2487 เป็นบุตรคนที่สองจากพี่น้องทั้งหมด 11 คน พ่อของเขาซึ่งเป็นพ่อค้าริมถนนเป็นชาวแต้จิ๋ว ที่อพยพมาจากเมืองซัวเถา ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้อพยพรุ่นสุดท้ายที่มาถึงก่อนเกิด การปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน ในปี พ.ศ. 2492 ตระกูล โส / ซู () เดิมใช้นามสกุลไทยว่า ศรีสมบูรณานนท์ ส่วนชื่อ "สิริวัฒนภักดี" ซึ่งมาจากคำภาษาบาลี สิริ แปลว่า 'ความเจริญรุ่งเรือง' + วัฒน แปลว่า 'เพิ่มขึ้น' + ภักติ แปลว่า 'ความจงรักภักดี' - เป็นนามสกุลที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่เจริญและครอบครัว ในปี พ.ศ. 2531[5]

เจริญมีบุตรธิดาห้าคนกับภรรยา วรรณา สิริวัฒนภักดี (พ.ศ. 2486-2566) ได้แก่ อาทินันท์ พีชานนท์, วัลลภา ไตรโสรัส, ฐาปน สิริวัฒนภักดี, ฐาปณี เตชะเจริญวิกุล และ ปณต สิริวัฒนภักดี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบุตรธิดาของเจริญได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในบริษัทต่าง ๆ ของอาณาจักรธุรกิจของครอบครัว[6]

บุคคลในตระกูล

สมาชิกในตระกูลประกอบด้วย:

  • เจริญ สิริวัฒนภักดี (เกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2487) มหาเศรษฐีชาวไทย ประธานกลุ่มทีซีซี และบริษัทในเครือ
  • วรรณา สิริวัฒนภักดี (2 มีนาคม พ.ศ. 2486 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2566) ภรรยาของเจริญ เคยดำรงตำแหน่งรองประธานกลุ่มทีซีซี และบริษัทในเครือ[7][8]
  • อาทินันท์ พีชานนท์ ธิดาคนโต
    • โชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ สามีของอาทินันท์
  • วัลลภา ไตรโสรัส (เกิด 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517) ธิดาคนที่ 2
    • โสมพัฒน์ ไตรโสรัส รองประธานกรรมการ บมจ.แอสเสท เวิลด์ คอร์ป สามีของวัลลภา
  • ฐาปน สิริวัฒนภักดี (เกิด 20 มกราคม พ.ศ. 2518) บุตรคนที่ 3 และบุตรชายคนโต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไทยเบฟเวอเรจ
    • ปภัชญา สิริวัฒนภักดี (สกุลเดิม: เธียรประสิทธิ์) เจ้าของโรงเรียนอนุบาลเธียรประสิทธิ์ศาสตร์ ภรรยาของฐาปน
  • ฐาปณี เตชะเจริญวิกุล (เกิด กันยายน พ.ศ. 2519) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์
    • อัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชั่น สามีของฐาปณี
  • ปณต สิริวัฒนภักดี (เกิด 31 ตุลาคม พ.ศ. 2520) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด
    • หม่อมหลวงตรีนุช สิริวัฒนภักดี (สกุลเดิม: จักรพันธุ์) ภรรยาของปณต

การบริหารงานในกลุ่มทีซีซี

บุตร-ธิดา ธุรกิจที่ดูแล การทำงานในกลุ่มทีซีซีในปัจจุบัน อ้างอิง
ตำแหน่ง บริษัท
อาทินันท์ พีชานนท์ ประกันการเงิน รองประธานกรรมการบริหาร บมจ. ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์
วัลลภา ไตรโสรัส อสังหาริมทรัพย์และโรงแรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเเละกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. แอสเสท เวิลด์ คอร์ป
ฐาปน สิริวัฒนภักดี อาหารและเครื่องดื่ม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ
ประธานกรรมการ บมจ. เสริมสุข
อสังหาริมทรัพย์ ประธานกรรมการบริหาร บจก.ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย)
รองประธานกรรมการ บมจ. ยูนิเวนเจอร์
สื่อและสิ่งพิมพ์ รองประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บมจ. อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์
ฐาปณี เตชะเจริญวิกุล สินค้าอุปโภคบริโภค, ธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเเละกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์
ปณต สิริวัฒนภักดี อสังหาริมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเเละรองประธานกรรมการบริหาร เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด

อ้างอิง

  1. "Charoen Sirivadhanabhakdi". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
  2. "Sirivadhanabhakdi family/TCC group". Nikkei Asia. 1 December 2016. สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
  3. Jittapong, Khettiya (22 January 2013). "Thai billionaire Charoen builds empire with F&N takeover". Reuters. สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
  4. Crispin, Shawn W. (13 December 2019). "Thailand's 'five families' prop and imperil Prayut". Asia Times. สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
  5. Ono, Yukako (11 January 2018). "CEO in the news: Thailand's M&A king lives up to his reputation with Saigon Beer deal". Nikkei Asia. สืบค้นเมื่อ 17 January 2024.
  6. Wailerdsak, Natenapha (31 May 2023). Business Groups and the Thailand Economy: Escaping the Middle-Income Trap (ภาษาอังกฤษ). Taylor & Francis. ISBN 978-1-000-88596-5.
  7. "Khunying Wanna of ThaiBev dies". สืบค้นเมื่อ 17 March 2023.
  8. "LADY WANNA, WIFE OF CHAROEN SIRIVADHANABHAKDI, HAS DIED AT 80". Khaosod English. 17 March 2023. สืบค้นเมื่อ 19 March 2023.