ตะกอนน้ำพารูปพัด

ตะกอนน้ำพารูปพัด

ตะกอนน้ำพารูปพัด (อังกฤษ: alluvial fan) เป็นเนินตะกอนเกิดจากทางน้ำที่ไหลจากหุบเขาชันลงสู่พื้นราบ เมื่อความเร็วของกระแสน้ำลดลงจนไม่สามารถนำพาตะกอนบางส่วนต่อไปได้ ตะกอนดังกล่าวจึงตกสะสมบริเวณใกล้กับเนินเขาในลักษณะที่กระจายออกไปรอบข้างเป็นรูปพัด[1] ตะกอนประกอบด้วยชั้นทรายสลับกับชั้นกรวดและดินเคลย์ มีการคัดขนาดปานกลาง มีสีน้ำตาลและน้ำตาลปนเทา มักแสดงลักษณะโครงสร้างชั้นตะกอนแบบเรียงขนาดจากเล็กขึ้นไปใหญ่ (coarsening upward sequence) ตะกอนหน่วยนี้ไม่หนามากนัก ประมาณ 5-20 เมตร และครอบคลุมพื้นที่ไม่กว้างขวาง

ประเภทของตะกอนน้ำพารูปพัด

มี 2 ประเภท[2] คือ

  1. Arid fan เกิดในสภาพอากาศที่แห้งแล้ง มีพืชพรรณปกคลุมน้อย ส่วนมากมีขนาดเล็กโดยทั่วไปเล็กกว่า 30 กิโลเมตร
  2. Humid Fan สามารถพบได้ในที่ชื้น ตะกอนน้ำพารูปพัดอาจมีการเคลื่อนที่ตามแนวความชัน ติดกับ alluvial plain, beach, tidal flat

ตามบริเวณขอบของภูเขา อาจจะพบตะกอนน้ำพารูปพัดเกิดอยู่ข้าง ๆ กันและมีการเคลื่อนที่เข้าหากันทางด้านข้างจนติดกัน เรียกว่า Piedmont หรือ Bajada

ลักษณะของตะกอนน้ำพารูปพัด

รูปร่างเรขาคณิต

  • รูปกรวย หรือโค้ง เมื่อมองจากด้านบน จะมีลักษณะคดโค้งและพัฒนาเต็มที่
  • ภาพตัดขวางตามแนวยาว (fanhead ไป fantoe) มีลักษณะเว้า
  • ภาพตัดขวางตามกว้าง มีลักษณะนูน

การแบ่งส่วนของตะกอนน้ำพารูปพัด

สามารถแยกออกเป็น 3 ส่วน คือ

  1. Upper fan
  2. Midfan
  3. Distal fan

อ้างอิง

  1. ฐิติมา เจริญฐิติรัตน์, มนตรี ชูวงษ์, ปัญญา จารุศิริ, วิโรจน์ ดาวฤกษ์, เอกสารประกอบคำสอนวิชา ธรณีวิทยากายภาพ (Lecture note: Physical Geology). ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีการศึกษา 2546. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564.
  2. "เนินตะกอนรูปพัด (alluvial fan)". prezi.com (ภาษาอังกฤษ).