ตำรวจปราบจลาจล

เจ้าหน้าที่ตำรวจโปแลนด์ตั้งแถวระหว่างการจลาจลในวันเอกราชชาติเมื่อปี 2554

ตำรวจปราบจลาจล (อังกฤษ: riot police) คือตำรวจที่ได้รับการจัดหน่วย, จัดกำลัง, ฝึกอบรม หรือติดยุทโธปกรณ์เพื่อเผชิญหน้ากับฝูงชน, การประท้วง หรือการจลาจล

ตำรวจปราบจลาจล อาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจปกติที่มาทำหน้าที่ในบทบาทของตำรวจปราบจลาจลในสถานการณ์เฉพาะ หรืออาจเป็นหน่วยแยกที่ตั้งตั้งขึ้นมาภายในหน่วยตำรวจปกติ หรือตั้งคู่ขนานไปกับกองกำลังตำรวจปกติ ตำรวจปราบจลาจลจะถูกนำมาใช้งานในสถานการณ์และวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป เจ้าหน้าที่อาจจะถูกใช้เพื่อปราบจลาจลตามชื่อ เพื่อกระจ่ายกำลังหรือควบคุมฝูงชน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือกีดกันการเกิดความผิดทางอาญา หรือปกป้องประชาชนหรือทรัพย์สิน

อุปกรณ์ปราบจลาจล

ตำรวจปราบจลาจลมักจะใช้ยุทโธปกรณ์ที่เรียกว่าอุปกรณ์ปราบจลาจล เพื่อช่วยปกป้องตนเองและใช้โจมตีผู้อื่น ซึ่งบ่อยครั้งจะเกิดขึ้นพร้อมกัน อุปกรณ์ปราบจลาจลโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย เกราะส่วนบุคคล, กระบอง, โล่ปราบจลาจล และหมวกปราบจลาจล ชุดตำรวจปราบจลาจลหลายชุดยังจัดวางกำลังที่ใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำไม่ถึงชีวิต (less-than-lethal) เช่น สเปรย์พริกไทย, แก๊สน้ำตา, ปืนปราบจลาจล, กระสุนยาง, ระเบิดสตัน, ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง และเครื่องส่งคลื่นความถี่สูง

เจ้าหน้าที่ตำรวจโตรอนโตของแคนาดาสวมอุปกรณ์ปราบจลาจลหนัก รวมถึงหมวกปราบจลาจล, ชุดเกราะ, หน้ากากป้องกันแก๊ส, โล่ปราบจลาจล, และปืนปราบจลาจล ระหว่างการประท้วงการประชุมสุดยอด G20 ที่โตรอนโตปี 2553
เจ้าหน้าที่ตำรวจอเมริกันเบเวอร์ลีฮิลส์ในชุดปราบจลาจลแบบเบา ประกอบด้วยหมวกปราบจลาจลและกระบอง ระหว่างการชุมนุมทรัมป์ปี 2563 ในปี 2562

รายชื่อองค์การตำรวจปราบจลาจล

เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลไทยจากกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ตำรวจนครบาล ระหว่างการชุมนุมประท้วงรัฐบาลทหารของชาวพม่าในปี 2564
เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลในซูริคพยายามปราบจลาจลในวันแรงงานในปี 2551
เจ้าหน้าที่หน่วยโอมอน (OMON) ของรัสเซียบุกโจมตีผู้ประท้วงในมอสโกระหว่างการประท้วงในประเทศรัสเซีย พ.ศ. 2564
  • กรีซ – หน่วยคืนความสงบเรียบร้อย
  • เกาหลีใต้ – ตำรวจเคลื่อนที่, เป็นกองบังคับการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • คีร์กีซสถาน – กองกำลังภายในแห่งกระทรวงมหาดไทย
  • เคนยา – หน่วยบริการทั่วไป
  • แคนาดา – ชุดตอบโต้เหตุฉุกเฉิน, หน่วยยุทธวิธีตำรวจของรัฐบาลกลางของตำรวจม้าแคนาดาซึ่งมีประจำการอยู่ทั่วประเทศแคนาดา
  • โคลอมเบีย – ESMAD (ตั้งแต่ พ.ศ. 2542)
  • จอร์เจียกรมเฉพาะกิจพร้อมกรมคุ้มครองสิ่งอำนวยความสะดวก (ส่วนใหญ่เป็นทหารเกณฑ์)
  • ชิลียูนิแดด เด ฟูเอร์ซาส เอสเปเชียลส์
  • สาธารณรัฐเช็ก – หน่วยความสงบเรียบร้อย
  • เซเชลส์ – ส่วนสนับสนุนความปลอดภัยสาธารณะ (PSSW)
  • เซอร์เบีย – ฌ็องดาร์เมอรี, ในสถานการณ์ที่เกินการควบคุม อาจจะร้องขอการสนับสนุนจากหน่วยรบพิเศษได้ เช่น หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายพิเศษ
  • ญี่ปุ่น – หน่วยตำรวจปราบจลาจล
  • ตุรกีเชวิก คูเวต
  • เติร์กเมนิสถานTürkmenistanyň içeri işler edaralarynyň işgärlerine (กองกำลังภายใน)
  • ไต้หวัน – ตำรวจพิเศษ, กลุ่มปฏิบัติการพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (NPASOG)
  • ทาจิกิสถาน – กองกำลังภายในทาจิกิสถาน
  • ไทยกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน กองบัญชาการตำรวจนครบาล
  • เนเธอร์แลนด์ – หน่วยเคลื่อนที่ (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479) หน่วยช่วยเหลือ
  • บราซิลรอนดาส ออสเทนซิวาส โทเบียส เด อาเกียร์
  • บัลแกเรีย – หน่วยบริการฌ็องดาร์เมอรีแห่งชาติ
  • เบลเยียมกองอำนวยการฝ่ายความมั่นคงสาธารณะ (DAS) (ตั้งแต่ พ.ศ. 2559)
  • เบลารุส – โอมอน, กองกำลังภายในเบรารุส
  • ปากีสถาน – กองกำลังต่อต้านจลาจล, ลาฮอร์, ปัญจาบ (ตั้งแต่ปี 2559)
  • โปรตุเกส – กองแทรกแซง | หน่วยตำรวจพิเศษ | ตำรวจรักษาความปลอดภัยสาธารณะและกลุ่มการแทรกแซงและความสงบเรียบร้อยสาธารณะ / ผู้พิทักษ์สาธารณะรัฐแห่งชาติ
  • โปแลนด์ – โซโม (พ.ศ. 2499 – 2532), ออดเซียลลี เพรเวนชี่ โปลิชจี (โอพีพี), ซาโมดเซียลเน โปดอดเซียลี เพรเวนชี่ โปลิชจี (SPPP)
  • ฝรั่งเศสCompagnies Républicaines de Sécurité (CRS) และ ฌ็องดาร์เมอรีเคลื่อนที่
  • พม่าลอน เต็ง
  • ฟิลิปปินส์ – กองกำลังปฏิบัติการพิเศษ กองพัน/กองร้อยเคลื่อนที่
  • มองโกเลีย – กองกำลังภายใน
  • มอลโดวา – ทรูเปเล เด คาราบิเนียรี (Moldovan Carabinier Troops), ตั้งแต่ พ.ศ. 2534
  • มาเลเซีย – หน่วยกำลังสำรองรัฐบาลกลาง
  • ยูเครน – เบอร์คุต (พ.ศ. 2535 – 2557), ตำรวจสายตรวจ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2558)
  • เยอรมนีหน่วยเบไรต์ชาฟส์โปลิเซย์ 16 หน่วยของ กองกำลังแลนเดสโปลิไซ (ตำรวจรัฐ) และ บุนเดสโพลิเซย์ (ตำรวจสหพันธรัฐ)
  • รัสเซีย – โอมอน, กองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิรัสเซีย
  • โรมาเนีย – กองกำลังรักษาความปลอดภัย (พ.ศ. 2491 – 2532), กองทัพโรมาเนีย (พ.ศ. 2436 – 2491 และอีกครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2533)
  • ลัตเวีย – กองพันเฉพาะกิจพิเศษแห่งตำรวจสหพันธรัฐ (Speciālo Uzdevumu Bataljons)
  • ลิทัวเนีย – หน่วยบริการความปลอดภัยสาธารณะ (VST)
  • เวเนซุเอลา – กองกําลังป้องกันชาติเวเนซุเอลา และตำรวจแห่งชาติเวเนซุเอลา
  • เวียดนาม – กองบังคับการตำรวจเคลื่อนที่
  • สเปน – หน่วยแทรกแซงของตำรวจ (UIP), หน่วยป้องกันและตอบโต้ (UPR), กลุ่มสำรองและรักษาความปลอดภัย (GRS),
  • สโลวีเนีย – หน่วยสวาทปราบจลาจล พีพีอี
  • สวีเดน – SPT ซาร์สกิลด์ โพลิสแตติก
  • สหรัฐสวาต/SRT
    • เท็กซัส (สหรัฐ) – กองบังคับการเท็กซัสเรนเจอร์
  • สหราชอาณาจักร – กลุ่มสนับสนุนภาคพื้นดิน (พื้นที่ตำรวจนครบาล)
  • สิงคโปร์หน่วยยุทธวิธีตำรวจ (สิงคโปร์)
  • ออสเตรเลีย – หมู่ความสงบเรียบร้อยและปราบจลาจล (นิวเซาธ์เวลส์) ; ชุดตอบสนองความสงบเรียบร้อย (วิกตอเรีย) ทีมตอบสนองความปลอดภัยสาธารณะ (ควีนส์แลนด์)
  • ออสเตรียหน่วยสแตนด์บายเวียนนา แห่งตำรวจสหพันธรัฐ
  • อาเซอร์ไบจานกองกำลังภายในสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน (กองกำลังภายใน)
  • อาร์เจนตินาตำรวจสหพันธรัฐอาร์เจนตินา D.O.U.C.A.D/ กองทัพน้อยยามทหารราบ ฌ็องดาร์เมอรีแห่งชาติอาเจนตินา จังหวัดนาวิกโยธินอาร์เจนตินา
  • อิตาลี – หน่วยเคลื่อนที่รีพาร์ทโตโปลิเซีย ดิ สตาโต; กองทัพสารวัตรทหารอิตาลี (กลุ่มเคลื่อนที่กองทัพสารวัตรทหารอิตาลี ที่ 1 และ 2 หน่วยเฉพาะทางข้ามชาติ)
  • อินเดีย – กองกำลังตำรวจสำรองกลาง รวมถึงหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว หน่วยตำรวจพิเศษมาลาบาร์ของตำรวจเกรละ กองกำลังตำรวจติดอาวุธของรัฐ
  • อินโดนีเซีย – หน่วย​ตำรวจปฏิบัติการ​พิเศษ​ (Brimob)
  • อิสราเอล – ยาซัม
  • อิหร่าน – ตำรวจความมั่นคงสาธารณะและข่าวกรองบาสิจอิหร่าน, หน่วยพิเศษตำรวจอิหร่าน, กองกำลังพิเศษต่อต้านการก่อการร้าย, แผนกพิเศษสตรี[1]
  • อุซเบกิสถาน – กองกำลังภายในแห่งกระทรวงกิจการภายใน
  • แอฟริกาใต้ – ตำรวจความสงบเรียบร้อย[2]
  • แอลจีเรียหน่วยรักษาความปลอดภัยสาธารณรัฐ
  • แอลเบเนียกองกำลังแทรกแซงรวดเร็ว (แอลเบเนีย)
  • ไอร์แลนด์ – หน่วยเพื่อความสงบเรียบร้อยการ์ดา
  • ฮังการี – Készenléti Rendőrség [fr; hu]
  • ฮ่องกงหน่วยยุทธวิธีตำรวจ และ หมู่ยุทธวิธีพิเศษ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "«زنان یگان ویژه» پلیس ایران برای مقابله با معترضان زن وارد میدان شدند". www.radiofarda.com. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
  2. Rauch, J.; Storey, D. (1998). "The Policing of Public Gatherings and Demonstrations in South Africa 1960-1994". The Commission on Truth and Reconciliation (TRC). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-27. สืบค้นเมื่อ 2024-01-07.