ต้อหิน
ต้อหิน | |
---|---|
ต้อหินมุมปิดชนิดฉับพลัน (Acute angle closure glaucoma) ที่ตาขวา (ด้านซ้ายมือของภาพ) สังเกตรูม่านตาขนาดปานกลางเพราะไม่มีการตอบสนองต่อแสง และตาขาวแดงขึ้น | |
สาขาวิชา | จักษุวิทยา, ทัศนมาตรวิทยา |
อาการ | สูญเสียการมองเห็น, ปวดตา, รูม่านตาขยายปานกลาง, ตาแดง, คลื่นไส้[1][2] |
การตั้งต้น | ค่อยเป็นค่อยไป หรือฉับพลัน[2] |
ปัจจัยเสี่ยง | ความดันในตาสูง, ประวัติทางครอบครัว, ความดันเลือดสูง[1] |
วิธีวินิจฉัย | การตรวจตาแบบขยายม่านตา[1] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | ผนังลูกตาชั้นกลางอักเสบ, แผลในตา, กระจกตาอักเสบ, เยื่อตาอักเสบ[3] |
การรักษา | ยา, เลเซอร์, ศัลยกรรม[1] |
ความชุก | 6–67 ล้านคน[2][4] |
ต้อหิน (อังกฤษ: Glaucoma) เป็นกลุ่มอาการทางตาที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทออพทิค และนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น[1] ชนิดของต้อหินที่พบทั่วไปคือ ต้อหินมุมเปิด (มุมกว้าง, สามัญเรื้อรัง) (อังกฤษ: open-angle (wide angle, chronic simple) glaucoma) ที่ซึ่งมุมการระบายของของเหลวในตาเปิดอยู่ ส่วนชนิดที่พบได้น้อยกว่า เช่น ต้อหินมุมปิด (มุมแคบ, อุดตันฉับพลัน) (อังกฤษ: closed-angle (narrow angle, acute congestive) glaucoma) และ ต้อหินที่ความตึงคงเดิม (อังกฤษ: normal-tension glaucoma)[1] ต้อหินแบบมุมเปิดจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป และไม่มีความเจ็บปวด[1] การมองเห็นรอบนอกอาจค่อย ๆ ลดลง ตามด้วยการมองเห็นตรงกลาง และอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นหากไม่ได้รับการรักษา[1] ส่วนต้อหินแบบมุมปิดมักเกิดขึ้นโดยฉับพลัน[2] อาการแสดงฉับพลันเช่นการปวดตารุนแรงโดยฉับพลัน, รูม่านตาขยายปานกลาง, ตาเป็นสีแดง และอาการคลื่นเหียนอาเจียน[1][2] การสูญเสียการมองเห็นจากต้อหินหากเกิดแล้วจะเป็นถาวร รักษาไม่ได้[1] คำวิเศษณ์สำหรับเรียกดวงตาที่เกิดอาการต้อหินในภาษาอังกฤษคือ glaucomatous
การรักษาโรค
ในปัจจุบันนี้เป้าหมายของการรักษาโรคต้อหินคือการหลีกเลี่ยงความเสียหายจากโรคต้อหินและความเสียหายของเส้นประสาทตารวมทั้งรักษาขอบเขตการมองเห็นของผู้ป่วยและคุณภาพชีวิตโดยรวมโดยมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด[5][6] เพื่อการทําอย่างนี้ต้องมีการใช้วิธีการวินิจฉัยและการตรวจติดตามผลที่เหมาะสม ตลอดจนการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย แม้ว่าความดันลูกตา (ocular pressure; OP) เป็นเพียงสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของโรคต้อหิน แต่การลด ดลต.ลงด้วยยาและ/หรือวิธีการผ่าตัดต่างๆ เป็นวิธีหลักในการรักษาโรคต้อหินในปัจจุบัน นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าการใช้กัญชาคทำให้เกิดวามดันลูกตา[7] การตรวจผู้ที่มีโรคต้อหินมุมเปิดและความดันโลหิตสูงในลูกตาพบว่าการรักษาด้วยยาที่ลด OP ลง จะชะลอการลุกลามของการสูญเสียขอบเขตการมองเห็นของผู้ป่วย[8] การไหลของหลอดเลือดและทฤษฎีการเสื่อมของระบบประสาทของต้อหินแก้วนำแสงได้ทำให้มีการวิจัยเกี่ยวกับกลยุทธ์การรักษาระบบประสาทต่างๆ รวมถึงองค์ประกอบของอาหารซึ่งบางส่วนอาจถือว่าปลอดภัยสำหรับการใช้โดยแพทย์ในปัจจุบัน ในขณะที่บางส่วนกำลังอยู่ระหว่างการทดสอบ ความเครียดทางจิตใจยังถือเป็นผลสืบเนื่องและสาเหตุของการสูญเสียการมองเห็น ซึ่งหมายความว่าการฝึกการจัดการความเครียด การฝึกสร้างร่างกาย และวิธีการอื่นๆ ในการจัดการความเครียดจะมีประโยชน์[9]
อ้างอิง
- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Facts About Glaucoma". National Eye Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 March 2016.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Mantravadi AV, Vadhar N (September 2015). "Glaucoma". Primary Care. 42 (3): 437–49. doi:10.1016/j.pop.2015.05.008. PMID 26319348.
- ↑ Ferri FF (2010). Ferri's differential diagnosis : a practical guide to the differential diagnosis of symptoms, signs, and clinical disorders (2nd ed.). Philadelphia, PA: Elsevier/Mosby. p. Chapter G. ISBN 978-0323076999.
- ↑ Vos, Theo; Allen, Christine; Arora, Megha; และคณะ (October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
- ↑ "Medical Management of Glaucoma: A Primer". eyerounds.org. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
- ↑ "Practical approach to medical management of glaucoma". ncbi.nlm.nih.gov. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
- ↑ "Methods of glaucoma treatment". amsterdammarijuanaseeds.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-14. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
- ↑ "Glaucoma and Eye Pressure". brightfocus.org. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
- ↑ "Glaucoma Associated With Therapies for Psychiatric Disorders". glaucomatoday.com. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
แหล่งข้อมูลอื่น
- ต้อหิน ที่เว็บไซต์ Curlie
- GeneReview/NCBI/NIH/UW entry on Primary Congenital Glaucoma
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |