ถนนเทพรัตน

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34
ถนนเทพรัตน (ถนนบางนา-ตราด)
ถนนเทพรัตน (สีน้ำเงินเน้นเหลือง)
Thanon Debaratna in 2023 - 2.jpg
ถนนเทพรัตนและทางพิเศษบูรพาวิถีช่วงขาออก ในปี 2566
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ
ความยาว58.855 กิโลเมตร (36.571 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ 2516–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ถ.สุขุมวิท / ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ใน เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
 
ปลายทางทิศตะวันออก ถ.สุขุมวิท ถ.เลี่ยงเมืองชลบุรี ใน อ.เมือง จ.ชลบุรี
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ถนนเทพรัตน (อักษรโรมัน: Thanon Debaratna[1]) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 สายบางนา–หนองไม้แดง เป็นทางหลวงแผ่นดินสายหนึ่ง แยกออกมาจากถนนสุขุมวิทในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร แล้วไปบรรจบกับถนนสุขุมวิทอีกครั้งที่ทางแยกต่างระดับหนองไม้แดงในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

รายละเอียดของเส้นทาง

ถนนเทพรัตนเป็นทางหลวงแผ่นดินขนาด 9–14 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นทางทิศตะวันตกต่อจากถนนสรรพาวุธที่ถนนสุขุมวิท บริเวณสี่แยกบางนา ในพื้นที่เขตบางนา กรุงเทพมหานคร ตรงไปทางทิศตะวันออก เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางนาเหนือและแขวงบางนาใต้ จากนั้นข้ามคลองบางนาเข้าสู่เขตจังหวัดสมุทรปราการ ผ่านพื้นที่อำเภอบางพลี ซึ่งช่วงนี้ถนนจะมีขนาด 12-14 ช่องจราจร (ช่องทางหลัก 8 ช่อง ทางคู่ขนาน 4-6 ช่อง) แต่เมื่อเข้าสู่อำเภอบางเสาธงและอำเภอบางบ่อจะลดขนาดถนนเหลือ 10 ช่องจราจร (ช่องทางหลัก 6 ช่อง ทางคู่ขนาน 4 ช่อง) จากนั้นจึงเข้าสู่จังหวัดฉะเชิงเทราในพื้นที่อำเภอบางปะกง โดยถนนในช่วงนี้จะลดขนาดเหลือ 9 ช่องจราจร (ช่องทางหลักขาเข้า 3 ช่อง, ทางคู่ขนานขาเข้า 2 ช่อง, ช่องทางหลักขาออก 2 ช่อง และทางคู่ขนานขาออกอีก 2 ช่อง) ยกเว้นบริเวณสะพานเทพหัสดิน ที่มีช่องทางขนานขาออก 3 ช่อง จากนั้นเข้าไปซ้อนกับถนนสุขุมวิทที่แยกคลองอ้อม และนับกิโลเมตรของถนนสุขุมวิทไปควบคู่ด้วยจนกระทั่งสิ้นสุดเส้นทางที่ทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี หลังจากนั้นแนวเส้นทางจะแยกออกเป็น 2 สาย คือถนนสุขุมวิท และถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี

ปัจจุบันถนนเทพรัตนยังมีทางพิเศษบูรพาวิถีเป็นทางยกระดับซ้อนอยู่ทางด้านบนของถนน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางที่มากขึ้นกว่าเดิม

ประวัติ

ในอดีตยังไม่มีการกำหนดชื่อเรียกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 อย่างเป็นทางการ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อถนนสายนี้ตามจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุดซึ่งรวมไปกับถนนสุขุมวิทด้วย เป็น ถนนบางนา−ตราด และเรียกติดปากมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งกรมทางหลวงได้กำหนดชื่ออย่างเป็นทางการตามจุดสิ้นสุดที่แท้จริงของถนนสายนี้ว่า ทางหลวงสายบางนา–บางปะกง อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครได้กำหนดชื่อเรียกถนนในพื้นที่ของตนว่า "ถนนบางนา−ตราด" ตามที่ชาวบ้านเรียก

ต่อมากรมทางหลวงได้กำหนดให้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 มีเส้นทางขยายต่อไปถึงบริเวณทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยใช้ทางคู่ขนานของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 แต่นับหลักกิโลเมตรถนนสุขุมวิทซ้อนไปกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ด้วย จึงกำหนดชื่อเรียกใหม่เป็น ทางหลวงสายบางนา–หนองไม้แดง

ในอดีต มีด่านเก็บค่าผ่านทางบริเวณกิโลเมตรที่ 41 ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เช่นเดียวกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ในสมัยนั้น ซึ่งคล้ายกับทางหลวงพิเศษ เริ่มเก็บค่าผ่านทางในปี พ.ศ. 2529 แต่ก็ได้ยกเลิกเก็บค่าผ่านทางในปี พ.ศ. 2537 เนื่องจากนายจรัส พั้วช่วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ประกาศยกเลิกเก็บค่าผ่านทาง

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานชื่อทางการของทางหลวงหมายเลข 34 ตลอดทั้งสายว่า ถนนเทพรัตน และได้พระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 ประดับที่ป้ายชื่อทางหลวงแผ่นดินสาย 34 อีกด้วย[2]

ระเบียงภาพ

ถนนเทพรัตน โดยมีทางพิเศษบูรพาวิถีเป็นทางยกระดับซ้อนอยู่ด้านบน ภาพกลางตั้งอยู่ในอำเภอบางบ่อ

รายชื่อทางแยก

รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (ถนนเทพรัตน / บางนา-ตราด) ทิศทาง: บางนา–หนองไม้แดง
จังหวัด อำเภอ กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
บางนา–หนองไม้แดง
กรุงเทพมหานคร บางนา 0+000 แยกบางนา เชื่อมต่อจาก: ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไป ดินแดง, ดาวคะนอง, แจ้งวัฒนะ (ทางหลัก) ถนนสรรพาวุธ ไป ท่าน้ำวัดบางนานอก (ทางขนาน)
ถนนสุขุมวิท ไป พระโขนง ถนนสุขุมวิท ไป ปากน้ำ
4+168 ทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม ถนนศรีนครินทร์ ไป บางกะปิ ถนนศรีนครินทร์ ไป แยกศรีเทพา, ปากน้ำ
5+032 สะพาน ข้ามคลองบางนา
สมุทรปราการ บางพลี 9+084 ต่างระดับวัดสลุด ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันออก) ไป บางปะอิน, วังน้อย ทางพิเศษกาญจนาภิเษก(ด้านใต้) ไป ถนนพระรามที่ 2
12+075 แยกบางพลีใหญ่ ถนนกิ่งแก้ว ไป ลาดกระบัง ถนนกิ่งแก้ว ไป ถนนเทพารักษ์
15+100 ต่างระดับบางโฉลง ถนนสุวรรณภูมิ 3 เข้า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไม่มี
~18+200 ถนนวัดศรีวารีน้อย ไป ถนนลาดกระบัง ไม่มี
~19+000 ไม่มี ถนนเลียบคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิ ไป ถนนเทพารักษ์, สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
บางเสาธง ~23+400 แยกเคหะบางพลี ไม่มี ถนนเคหะบางพลี ไป ถนนสุขุมวิท
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (ตะวันออก) ไป บางปะอิน, วังน้อย ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ไป ถนนพระรามที่ 2
~26+200 ถนนนวมินทราชินูทิศ ไป ถนนหลวงแพ่ง ไม่มี
บางบ่อ 26+915 ไม่มี ถนนรัตนราช ไป บางบ่อ, คลองด่าน
~29+000 ถนนรัตนโกสินทร์ 200 ปี ไป เปร็ง ไม่มี
ฉะเชิงเทรา บางปะกง 35+900 ทางหลวงชนบท ฉช.2004 ไป ฉะเชิงเทรา ไม่มี
39+262 ต่างระดับบางวัว ทางเชื่อม ทล.พ.7 (บางวัว-บางควาย) ไป ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี ไม่มี
~42+400 ถนนจรัญยานนท์ ไป ท่าสะอ้าน, เชื่อมต่อ ถนนจรัญยานนท์ ถนนจรัญยานนท์ ไป บางสมัคร, เชื่อมต่อ ถนนจรัญยานนท์
46+614 แยกคลองอ้อม ถนนสิริโสธร ไป อ.บางปะกง, ฉะเชิงเทรา ถนนสุขุมวิท ไป บางปู, สมุทรปราการ
50+500 สะพานเทพหัสดิน ข้ามแม่น้ำบางปะกง
ชลบุรี เมืองชลบุรี 54+650 ถนนบ้านเก่า-พานทอง ไป อ.พานทอง ไม่มี
58+855 ต่างระดับหนองไม้แดง ถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี ไป อ.พนัสนิคม, อ.บ้านบึง, พัทยา ไม่มี
ตรงไป: ถนนสุขุมวิท เข้าตัวเมืองชลบุรี ไป ศรีราชา, พัทยา
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ

ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า

ฝั่งขาออก

ฝั่งขาเข้า

  • โฮมโปร บางนา กม.1
  • แฮปปีแทท เดอะฟอเรสเทียส์
  • ไทวัสดุ บางนา
  • เมกาซิตี้ บางนา
  • มาร์เก็ต วิลเลจ สุวรรณภูมิ (โลตัส, โฮมโปร)

สถานีขนส่งผู้โดยสาร

  • ท่ารถรุ่งเรือง บางนา

ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า

สถานพยาบาล

ฝั่งขาออก

  • โรงพยาบาลไทยนครินทร์
  • โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 11 อินเตอร์

ฝั่งขาเข้า

  • โรงพยาบาลบางนา 1
  • โรงพยาบาลพรินซ์ สุวรรณภูมิ
  • ซีพี เมดิคัล เซ็นเตอร์ แอท วันโอวัน เดอะฟลอเรสเทียส์

ศาสนสถาน

สถาบันการศึกษา

ฝั่งขาออก

ฝั่งขาเข้า

นิคมอุตสาหกรรม

  • นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์

สถานที่ราชการ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น