ทาเกชิ คิตาโนะ

ทาเกชิ คิตาโนะ
ทาเกชิที่งานเปิดตัวภาพยนตร์ โกสต์ อิน เดอะ เชลล์ ในเดือนมีนาคม 2017
เกิด北野 武
(1947-01-18) 18 มกราคม ค.ศ. 1947 (78 ปี)
ญี่ปุ่น เขตอาดาจิ โตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น
ชื่ออื่นบีท ทาเกชิ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเมจิ (ลาออก)
อาชีพ
  • นักแสดงตลก
  • พิธีรายการโทรทัศน์
  • นักแสดง
  • ผู้ผลิตภาพยนตร์
  • นักเขียน
ปีปฏิบัติงานค.ศ. 1969–ปัจจุบัน
รางวัลรางวัลสิงโตทองคำ (1997)
ลายมือชื่อ

ทาเกชิ คิตาโนะ (ญี่ปุ่น: 北野 武โรมาจิKitano Takeshi) หรือชื่อในการแสดง บีท ทาเกชิ เป็นนักแสดงตลก พิธีรายการโทรทัศน์ นักแสดง ผู้ผลิตภาพยนตร์ และนักเขียนชาวญี่ปุ่น[1][2] ทาเกชิมีชื่อเสียงจากบทพูดของเขา "สุขสันต์วันคริสต์มาส คุณลอเรนซ์" ในภาพยนตร์เรื่อง เมอร์รี่คริสต์มาส มิสเตอร์ลอเรนซ์ เกมนรก โรงเรียนพันธุ์โหด และ โซนาไทน์[3][4] ทาเกชิได้กำกับภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในเรื่องไวโอเลนท์ คอป[5] ที่ได้รับรางวัลขวัญใจมหาชนจากเจแปน อะคาเดมี ไพรซ์ และผู้กำกับภาพยนตร์มาใหม่จากนิกกังสปอร์ตฟิล์มอวอร์ด[6] ในปี ค.ศ. 2021 เน็ตฟลิกซ์ได้เผยแพร่ภาพยนตร์อัตชีวิตประวัติเกี่ยวกับทาเกชิเรื่อง เด็กอาซากุสะ ตั้งแต่การเริ่มทำงานที่โรงละครและคลับเปลื้องผ้าอาซากูซะ โทโยกัง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอาชีพตลกของทาเกชิ[7]

ชีวิตและอาชีพ

ชีวิตช่วงแรก

ทาเกชิเกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1947 ที่โตเกียวซึ่งตรงกับช่วงการบูรณะเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[8][9] บิดาของเขาเป็นช่างทาสีบ้าน และมารดาทำงานในโรงงานผลิต[5] ที่มองการณ์ไกลจึงสามารถส่งทาเกชิให้เรียนหนังสือจนเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมเครื่องกล (ปัจจุบันคือคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยเมจิในปี 1965[10][11][12] ท่ามกลางฐานะทางการเงินของครอบครัวที่ขัดสนได้[3][13] แต่ถึงแม้ว่าทาเกชิสามารถเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้วก็ตาม เขายังคงทำงานพิเศษต่าง ๆ เช่น พนักงานชั่วคราวที่ร้านคาเฟ่แจ๊ส พนักงานขับรถแท๊กซี่ และผู้รื้อถอนอาคาร เป็นต้น ทาเกชิไม่สามารถทำงานพิเศษไปด้วยและเรียนไปด้วยได้จึงออกจากมหาวิทยาลัย[10] แต่ต่อมาเขาได้รับใบปริญญาบัตรพิเศษและรางวัลกิตติคุณพิเศษในวันที่ 7 กันยายน 2004 จากการประสบความสำเร็จในอาชีพผู้กำกับภาพยนตร์ที่สามารถคว้ารางวัลสิงโตทองคำมาได้[14] ในปี 1972 เขาได้ทำงานให้กับโรงละครและคลับเปลื้องผ้า "อาซากูซะ โทโยกัง" (มักเรียก แฟรนซ่า) ในอาซากูซะ[2][8] เขาได้พบกับอาจารย์ของเขา เซ็นซาบูโระ ฟูกามิที่นั่นซึ่งทำให้ทาเกชิได้เป็นทาเกชิจนถึงปัจจุบัน[15]

อาชีพตลกและความสำเร็จ

ในปี 1974 ทาเกชิได้ตั้งคู่หูตลกมันไซชื่อ "ทู บีท" ที่มาจากจังหวะ (beat) ในดนตรีแจ๊ส[16] ชื่อของสมาชิกทั้งสอง บีท ทาเกชิ และ บีท คิโยชิ ผู้ที่เป็นคนเชิญทาเกชิมาร่วมตั้งวงตลกด้วยกัน[15][17] และการมาถึงของ "มันไซบูม" ในยุค 1980 ที่รายการโทรทัศน์ "THE MANZAI" และ "Rival Daibakushō! (ญี่ปุ่น: ライバル大爆笑!)" เป็นที่นิยมและได้รับเสียงตอบรับที่ดีมาก จากรายการโทรทัศน์ดังกล่าวทำให้ ทู บีท เป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วยวิธีและรูปแบบการแสดงมันไซที่ตอบโต้กันด้วยความเร็วสูงและลักษณะเฉพาะของผู้แสดงทั้งสอง[16][17][18] แต่ในขณะเดียวกันการแสดงมันไซของพวกเขาก็ถูกวิพากย์วิจารณ์จากมุกตลกร้าย (ญี่ปุ่น: 残酷ギャグโรมาจิZankoku Gyagu) ของพวกเขา เช่น "คนบ้าที่โกรธเพราะคำพูดของนักแสดงมันไซ (ญี่ปุ่น: たかが漫才師の言う事に腹を立てるバカ)" หรือ "ระวังคนขี้เหร่กำลังรอคนบ้ากามอยู่ (ญี่ปุ่น: 気をつけよう、ブスが痴漢を待っている)" เป็นต้น[18][19]

อาชีพการแสดงและชีวิตภายหลัง

ทาเกชิที่งานรางวัลสิงโตทองคำในปี 1997

ภาพยนตร์เรื่องยาวที่โดดเด่นของเขาคือเรื่อง เมอร์รี่คริสต์มาส มิสเตอร์ลอเรนซ์ (อังกฤษ: Merry Christmas, Mr. Lawrence) กำกับโดย นางิซะ โอชิมะ ในปี 1983[20] ในช่วงระยะเวลาที่ทาเกชิได้รับบทเป็นจ่าเก็งโงะ ฮาระ ของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[21] จากคำชวนของผู้กำกับนางิซะ เป็นช่วงที่ ทู บีท กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทาเกชิให้สัมภาษณ์ว่าเขาคิดว่าการแสดงครั้งแรกของเขานั้นไม่ได้ดูแย่ขนาดนั้น แต่ผู้ชมกลับหัวเราะเขาทั้ง ๆ ที่ตัวละครของเขามีความเคร่งขรึมและลึกลับ ภายหลังทาเกชิจึงรับแต่บทภาพยนตร์ที่ได้แสดงเป็นตัวละครร้ายที่มืดมัวและน่าเกรงขามจนทำให้เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นนักแสดงที่เล่นบทจริงจังได้[12][21][9]

ในปี 1994 ทาเกชิได้ประสบอุบัติเหตุทางถนนในระหว่างที่เขากำลังขี่จักรยานยนต์ เหล่าแพทย์ต่างบอกว่าเขาอาจจะไม่สามารถแสดงภาพยนตร์ได้อีกแต่อาการของเขากลับดีขึ้น[22] จนในปี 1989 ทาเกชิได้กำกับภาพยนตร์ไตรภาคของตนเป็นครั้งแรกในชื่อ ไวโอเลนท์ คอป (ญี่ปุ่น: その男、凶暴につきโรมาจิSono Otoko, Kyōbō ni Tsuki; อังกฤษ: Violent Cop) บอยลิงพอยท์ (ญี่ปุ่น: 3-4X10月โรมาจิSan-yon Ekkusu Jūkatsu; อังกฤษ: Boiling Point)[23] และโซนาไทน์ (ญี่ปุ่น: ソナチネโรมาจิSonachine; อังกฤษ: Sonatine)[24] ตามลำดับ โดยทาเกชิเองก็เป็นผู้แสดงเองในภาพยนตร์ทั้งสามเรื่องที่ตนเป็นผู้กำกับ[21] ในปี 1997 ทาเกชิได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติหลังเขาสามารถคว้ารางวัลสิงโตทองคำและรางวัลอื่น ๆ อีก 17 รางวัล[25] มาได้จากผลงานการผลิตและการแสดงภาพยนตร์เรื่อง ดอกไม้ไฟแห่งความหวัง (ญี่ปุ่น: 花火โรมาจิHanabi) โดยรอตเทนโทเมโทส์ได้ระบุว่าเป็นภาพยนตร์ที่มีรีวิวส่วนใหญ่เป็นบวกจาก 96% ของ 24 รีวิวของนักวิจารณ์ภาพยนตร์[26]

ผลงาน

ภาพยนตร์

กำกับภาพยนตร์

  • ไวโอเลนท์ คอป (1989)
  • บอยลิงพอยท์ (1990)
  • A Scene at the Sea (1991)
  • โซนาไทน์ (1993)
  • Getting Any? (1995)
  • Kids Return (1996)
  • ดอกไม้ไฟแห่งความหวัง (1997)
  • Kikujiro (1999)
  • จอมคนยากูซ่า (2000)
  • Dolls (2002)
  • ซาโตอิจิ ไอ้บอดซามูไร (2003)
  • ทาเคชิบ้า 500% (2005)
  • Glory to the Filmmaker! (2007)
  • Achilles and the Tortoise (2008)
  • เส้นทางยากูซ่า 1 (2010)
  • เส้นทางยากูซ่า 2 (2012)
  • Ryuzo and the Seven Henchmen (2015)
  • เส้นทางยากูซ่า 3 (2017)

แสดงนำ

  • เมอร์รี่คริสต์มาส มิสเตอร์ลอเรนซ์ (1983)
  • Kanashii kibun de joke (1985)
  • Anego (1988)
  • ไวโอเลนท์ คอป (1989)
  • บอยลิงพอยท์ (1990)
  • โซนาไทน์ (1993)
  • Getting Any? (1995)
  • เร็วผ่านรก (1995)
  • โกนิน (1995)
  • ดอกไม้ไฟแห่งความหวัง (1997)
  • คิกูจิโระ (1999)
  • ทาบู (ภาพยนตร์) (1999)
  • เกมนรก โรงเรียนพันธุ์โหด (2000)
  • ซาโตอิจิ (2003)
  • เกมนรก สถาบันพันธุ์โหด (2003)
  • โคตรคนกำปั้นสั่งตาย (2004)
  • ทาเคชิบ้า 500% (2005)
  • The Monster X Strikes Back/Attack the G8 Summit (2008)
  • Achilles and the Tortoise (2008)
  • เส้นทางยากูซ่า 1 (2010)
  • เส้นทางยากูซ่า 2 (2012)
  • Mozu (2015)
  • While the Women are Sleeping (2016)
  • โกสต์ อิน เดอะ เชลล์ (2017)
  • เส้นทางยากูซ่า 3 (2017)

หนังสือ

วิดีโอเกม

รางวัล

ทาเกชิได้รับรางวัลสิงโตทองคำในปี 1997 จากผลงานการกำกับภาพยนตร์ของเขา ดอกไม้ไฟแห่งความหวัง (ญี่ปุ่น: 花火โรมาจิHanabi) และรางวัลอื่น ๆ อีก 5 สาขาในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสสำหรับภาพยนตร์เรื่อง ซาโตอิจิ (ญี่ปุ่น: 座頭市โรมาจิZatōichi) ในปี 2003

เครื่องอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "Interviewing Takeshi Kitano". FILMS ON WAX (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.
  2. 2.0 2.1 "北野武(ビートたけし)の学歴". yumeijinhensachi.com (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 "ทาเคชิ บีต คิตาโนะ: ชายผู้มี "จังหวะ" ชีวิต จากดาวตลก สู่ ผู้กำกับหนังยากูซ่าชั้นครู". The People. 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "Where to begin with Takeshi Kitano". British Film Institute (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.
  5. 5.0 5.1 "ビートたけし | プロフィール | ビクターエンタテインメント". ビクターエンタテインメント | Victor Entertainment (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. Sono otoko, kyôbô ni tsuki - IMDb, สืบค้นเมื่อ 2021-12-13
  7. "The famous Toyokan, even the name of the historic French quarter". The Asakusa Tourism Federation. สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 "昔のビートたけしの経歴が凄すぎる!生還した男の半生を見てみた!|エントピ[Entertainment Topics]". エントピ[Entertainment Topics]. สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 "Interview with Takeshi Beat Kitano". www.filmfestivals.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 "北野武の学歴と偏差値:出身校(小学校、中学校、高校、大学)". トレンドニュースどっと東京 (ภาษาญี่ปุ่น). 2020-04-04. สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. 株式会社ローソンエンタテインメント. "北野武 (キタノタケシ)|プロフィール|HMV&BOOKS online". HMV&BOOKS online (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 ""Beat" Takeshi: The Hollywood Flashback Interview" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "Takeshi Kitano: one original gangster". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2010-03-15. สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "北野武氏へ明治大学特別卒業認定証ならびに特別功労賞を贈呈". www.meiji.ac.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. 15.0 15.1 "ビートたけしの生い立ちから現在まで(2ページ目)". タレント辞書. สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. 16.0 16.1 "昭和の漫才ブームで好きだった漫才コンビは?". showa-love (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.
  17. 17.0 17.1 "ビートたけしとは (ビートタケシとは) [単語記事]". ニコニコ大百科 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. 18.0 18.1 "ビートたけしのツービート時代は放送禁止用語連発の暴走危険ネタで人気に!". こいもうさぎのブログ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "未完成 ビートたけし". owarainitsuite.blog134.fc2.com. สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. "北野武". 映画.com (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. 21.0 21.1 21.2 "The man is violent: Takeshi Kitano's reinvention on screen". BFI (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. "Takeshi Kitano: Silent superstar - CNN.com". edition.cnn.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.
  23. Boiling Point (1990) (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2021-12-13
  24. Sonatine (1993) (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2021-12-13
  25. Hana-bi - IMDb, สืบค้นเมื่อ 2021-12-13
  26. Fireworks (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2021-12-13
  27. "Kitano awarded French arts honor". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2010-03-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.
  28. "Meiji University alumnus Takeshi Kitano awarded the Legion of Honor by the French government". www.meiji.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). 2016-11-04. สืบค้นเมื่อ 2021-12-13.{cite web}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)