นกแขกเต้า

นกแขกเต้า
เพศเมีย (ซ้าย) เพศผู้ (ขวา)
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: นกแก้ว
Psittaciformes
วงศ์: Psittaculidae
สกุล: Psittacula

(Linnaeus, 1758)
สปีชีส์: Psittacula alexandri
ชื่อทวินาม
Psittacula alexandri
(Linnaeus, 1758)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ตามชนิดย่อยของ 'Psittacula alexandri
ชื่อพ้อง

Psittacus alexandri Linnaeus, 1758

นกแขกเต้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Psittacula alexandri, Red-breasted parakeet) เป็นนกแก้วพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่พบได้ทั่วไปในสกุลนี้ และเป็นสายพันธุ์ที่มีรูปแบบหลากหลายตามภูมิศาสตร์ที่สุด สามารถระบุได้ง่ายจากจุดสีแดงขนาดใหญ่ที่หน้าอก นกแขกเต้าสกุลย่อยส่วนใหญ่อยู่บนเกาะเล็ก ๆ หรือกลุ่มเกาะในอินโดนีเซีย ชนิดย่ยอหนึ่งปรากฏในหมู่เกาะอันดามัน และอีกชนิดย่อยหนึ่งพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีปและขยายถึงพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชียใต้ที่ตีนเขาหิมาลัย นกสายพันธุ์บนเกาะบางสายพันธุ์อาจตกอยู่ในอันตรายจากการค้าขายนกป่า นกสายพันธุ์ต้นแบบในเกาะชวาเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

ประชากรเร่ร่อนของนกชนิดนี้ปรากฏในนครอย่างมุมไบและสิงคโปร์ ส่วนจำนวนน้อยปรากฏในนครอื่นอย่างเจนไนและเบงคลูรูในประเทศอินเดีย

อนุกรมวิธาน

นกแขกเต้าตัวผู้

นกแขกเต้าได้รับการบรรจุอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1758 ผ่าน Systema Naturae ฉบับที่ 10 ของคาร์ล ลินเนียส นักธรรมชาตินิยมชาวสวีเดน เขาจัดให้นกแก้วชนิดนี้กับชนิดอื่น ๆ ทั้งหมดเข้าในสกุล Psittacus และตั้งชื่อทวินาม Psittacus alexandri.[2] ชนิดต้นแบบอยู่ในเกาะชวา[3] ปัจจุบันนกแขกเต้าจัดให้อยู่ในสกุล Psittacula ที่ประดิษฐ์ใน ค.ศ. 1800 โดยฌอร์ฌ กูวีเยร์ นักธรรมชาตินิยมชาวฝรั่งเศส[4][5] ชื่อสกุลเป็นศัพท์ภาษาละตินที่ใช้เรียกสิ่งเล็กว่า psittacus แปลว่า "นกแก้ว" ส่วนคำระบุชนิด alexandri มาจากอเล็กซานเดอร์มหาราชผู้ที่ทหารของเขานำนกแขกเต้ามาสู่กรีซ[6]

ปัจจุบัน นกแขกเต้ามีชนิดย่อยที่ได้รับการรับรองดังนี้:[5]

ลักษณะ

นกชนิดนี้มีลำตัวขนาด 35 เซนติเมตร หัวใหญ่ คอสั้น หางยาวแหลม ขนปกคลุมลำตัวสีสันสดใสตัวผู้ลำตัวด้านบนสีเขียว ลำตัวด้านล่างมีสีเขียวอ่อนอมฟ้า บริเวณอกสีชมพูแก้มส้ม หัวสีม่วงแกมเทาหน้าผากมีแถบสีดำคาดไปจรดตาทั้งสองข้าง และมีแถบสีดำลากจากโคนปากไปถึงแก้ม จะงอยปากบนสีแดงสด จะงอยปากล่างสีดำ ส่วนตัวเมียต่างจากตัวผู้ตรงที่หัวเป็นสีน้ำเงินแกมเทาจะงอยปากบนสีดำสนิท[7]

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

นกแขกเต้าพบได้ในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ที่พบน้อยมาก[8] อาศัยอยู่ในป่าโปร่ง ตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงระดับความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล[7]

พฤติกรรม

อาหารของนกแขกเต้าได้แก่ ลูกไม้ป่า ผลไม้ ยอดไม้ น้ำต้อย และ แมลงขนาดเล็กบางชนิด ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ หากินอยู่บนต้นไม้ นกแขกเต้าวางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง มีระยะฟักไข่นาน 28 วัน[8]

สถานะการอนุรักษ์

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[8]

อ้างอิง

  1. BirdLife International (2017). "Psittacula alexandri". IUCN Red List of Threatened Species. 2017: e.T22685505A111371703. doi:10.2305/IUCN.UK.2017-1.RLTS.T22685505A111371703.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  2. Linnaeus, Carl (1758). Systema Naturae per regna tria naturae, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis (ภาษาLatin). Vol. 1 (10th ed.). Holmiae (Stockholm): Laurentii Salvii. p. xxx.{cite book}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  3. Peters, James Lee, บ.ก. (1937). Check-List of Birds of the World. Vol. 3. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. p. 244.
  4. Cuvier, Georges (1800). Leçons d'Anatomie Comparée (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. 1. Paris: Baudouin. Table near end.
  5. 5.0 5.1 Gill, Frank; Donsker, David; Rasmussen, Pamela, บ.ก. (January 2022). "Parrots, cockatoos". IOC World Bird List Version 12.1. International Ornithologists' Union. สืบค้นเมื่อ 21 March 2022.
  6. Jobling, James A. (2010). The Helm Dictionary of Scientific Bird Names. London: Christopher Helm. pp. 321, 41. ISBN 978-1-4081-2501-4.
  7. 7.0 7.1 นกแขกเต้า เก็บถาวร 2009-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มูลนิธิป่าเขตร้อน
  8. 8.0 8.1 8.2 นกแขกเต้า องค์การสวนสัตว์

แหล่งข้อมูลอื่น