นาพรอกเซน

นาพรอกเซน
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง/nəˈprɒksən/
ชื่อทางการค้าAleve, Naprosyn, others[2][3]
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa681029
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
ช่องทางการรับยาโดยการรับประทาน
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • AU: S2 (ในร้านยาเท่านั้น) / เมื่อจัดยาสำหรับการใช้ไม่เกิน 15 วัน มิฉะนั้นจะเป็น Schedule 4 (ตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น)[4]
  • CA: OTC
  • UK: POM (Prescription only) / P[5]
  • US: OTC / Rx-only
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล95% (โดยการรับประทาน)
การจับกับโปรตีน99%
การเปลี่ยนแปลงยาตับ (เป็น 6-desmethylnaproxen)
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ12–17 ชั่วโมง (ผู้ใหญ่)[6]
การขับออกไต
ตัวบ่งชี้
  • (+)-(S)-2-(6-Methoxynaphthalen-2-yl)propanoic acid
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
PDB ligand
ECHA InfoCard100.040.747
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC14H14O3
มวลต่อโมล230.263 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
จุดหลอมเหลว152–154 องศาเซลเซียส (306–309 องศาฟาเรนไฮต์)
SMILES
  • COc1cc2ccc(cc2cc1)[C@H](C)C(=O)O
InChI
  • InChI=1S/C14H14O3/c1-9(14(15)16)10-3-4-12-8-13(17-2)6-5-11(12)7-10/h3-9H,1-2H3,(H,15,16)/t9-/m0/s1 checkY
  • Key:CMWTZPSULFXXJA-VIFPVBQESA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

นาพรอกเซน (อังกฤษ: Naproxen มีชื่อทางการค้าดังนี้: Aleve, Anaprox, Naprosyn, Naprelan) เป็นยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) ที่ใช้ลดอาการปวดระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ลดไข้ การอักเสบ อาการตัวแข็งอันเนื่องจากข้อต่ออักเสบ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน โรคเกาต์ โรคข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง ตะคริวระดู เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ ถุงน้ำเลี้ยงภายในข้อต่ออักเสบ และใช้รักษาอาการปวดระดู[7] ให้ทางปากโดยการกิน[7] ซึ่งมีในรูปแบบยาปลดปล่อยทันทีและรูปแบบยาปลดปล่อยแบบชะลอ[7] ออกฤทธิ์ภายในหนึ่งชั่วโมงและช่วงเวลาออกฤทธิ์นานถึงสิบสองชั่วโมง[7]

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ฟกช้ำ อาการแพ้ แสบร้อนกลางอก และปวดท้อง[7] ผลข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่ ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เลือดออกในทางเดินอาหาร และแผลในกระเพาะอาหาร[7] ความเสี่ยงของโรคหัวใจอาจต่ำกว่ายากลุ่มเอ็นเสดอื่น ๆ[7] ไม่แนะนำในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต[7] และไม่แนะนำให้ใช้ในระยะตอนปลายของการตั้งครรภ์[7]

นาพรอกเซนเป็นสารยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไซโคลออกซิจีเนส (COX) อย่างไม่จำเพาะ[7] นาพรอกเซนเป็นยากลุ่มเอ็นเสดที่จะออกฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยลดการผลิตพรอสตาแกลนดินซึ่งเป็นสารสื่อกลางการอักเสบ[8] ยาถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับไปเป็นสารมัธยันตร์ที่ไม่ออกฤทธิ์[7]

นาพรอกเซนได้รับการจดสิทธิบัตรในปี พ.ศ. 2510 และได้รับการอนุมัติให้ใช้ทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2519[7][9][10] ในสหรัฐมีจำหน่ายโดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งยา (OTC) และเป็นยาสามัญ[7][11] เป็นยาที่สั่งจ่ายมากที่สุดลำดับที่ 91 ในสหรัฐในปี พ.ศ. 2563 โดยมีใบสั่งยามากกว่า 8 ล้านรายการ[12][13]

อ้างอิง

  1. "Naproxen Use During Pregnancy". Drugs.com. 13 สิงหาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2019.
  2. "Naproxen". Drugs.com. 2017. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2017.
  3. "Naproxen international". Drugs.com. 7 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2021.
  4. Gill, A, บ.ก. (กรกฎาคม 2013). Standard for the Uniform Scheduling of Medicines and Poisons No. 4 (PDF). The Poisons Standard 2013. Therapeutic Goods Administration. ISBN 978-1-74241-895-7.
  5. "Boots Period Pain Relief 250 mg Gastro-Resistant Tablets - Summary of Product Characteristics (SmPC)". emc. 4 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2023.
  6. Angiolillo DJ, Weisman SM (เมษายน 2017). "Clinical Pharmacology and Cardiovascular Safety of Naproxen". American Journal of Cardiovascular Drugs. 17 (2): 97–107. doi:10.1007/s40256-016-0200-5. PMC 5340840. PMID 27826802.
  7. 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 7.11 7.12 "Naproxen Monograph for Professionals". Drugs.com. AHFS. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2018.
  8. McEvoy GK (2000). AHFS Drug Information, 2000. American Society of Health-System Pharmacists. p. 1854. ISBN 978-1-58528-004-9.
  9. "Naprosyn- naproxen tablet EC-Naprosyn- naproxen tablet, delayed release Anaprox DS- naproxen sodium tablet". DailyMed. 1 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2019.
  10. Fischer J, Ganellin CR (2006). Analogue-based Drug Discovery. John Wiley & Sons. p. 520. ISBN 978-3-527-60749-5.
  11. "Medicines A to Z – Naproxen". NHS. National Health Service. 24 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2020.
  12. "The Top 300 of 2020". ClinCalc. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2022.
  13. "Naproxen - Drug Usage Statistics". ClinCalc. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น