มุมไบ
มุมไบ บอมเบย์ | |
---|---|
(บนลงล่างและซ้ายไปขวา) ย่านโวรลี, ประตูสู่อินเดีย, โรงแรมทัชมาฮาลปาเลส, สถานีรถไฟฉัตรปตี ศิวาจี มหาราช, สะพานบานดรา-วารลี ซีลิงก์ | |
ที่ตั้งของมุมไบในรัฐมหาราษฏระ และประเทศอินเดีย | |
พิกัด: 18°58′30″N 72°49′33″E / 18.97500°N 72.82583°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | มหาราษฏระ |
อำเภอ | มุมไบซิตี มุมไบซับเออร์บัน |
แผนก | Konkan |
ตั้งถิ่นฐานครั้งแรก | 1507 |
การปกครอง | |
• ประเภท | นายกเทศมนตรี–สภา |
• องค์กร | BMC |
• นายกเทศมนตรี | Sunil Prabhu (SS) |
• เทศมนตรี | Sitaram Kunte[1] |
พื้นที่ | |
• มหานคร | 603 ตร.กม. (233 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 14 เมตร (46 ฟุต) |
ประชากร | |
• มหานคร | 12,478,447 คน |
• อันดับ | 1st |
• ความหนาแน่น | 20,694 คน/ตร.กม. (53,600 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล[4] | 18,414,288 คน |
• Metro rank | 1st |
• Metropolitan | 20,748,395 (2nd) |
เดมะนิม | Mumbaikar |
เขตเวลา | UTC+5:30 (IST) |
รหัสไปรษณีย์ | 400001 to 400107 [5] |
รหัสพื้นที่ | +91-22 |
ทะเบียนพาหนะ | MH-01 Mumbai(S/C), MH-02 Mumbai(W), MH-03 Mumbai(E), MH-47 Borivali [6] |
ภาษาพูด | ภาษามราฐี[7] |
เชื้อชาติ | ชาวมราฐี และอื่น ๆ |
เว็บไซต์ | www |
มุมไบ (มราฐี: मुंबई, ออกเสียง [ˈmumbəi]) หรือรู้จักในชื่อ บอมเบย์ (อังกฤษ: Bombay, /bɒmˈbeɪ/, ชื่อทางการจนถึงปี 1995) เป็นเมืองหลวงของรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย สหประชาชาติระบุไว้ในปี 2018 ว่ามุมไบเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศอินเดียเป็นอันดับสองรองจากเดลี และเป็นอันดับที่เจ็ดของโลก ด้วยประชากรราว 20 ล้านคน[8] ข้อมูลจากสำมะโนประชากรปี 2011 มุมไบเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศอินเดีย ด้วยประชากรจำนวน 12.5 ล้านคนที่อาศัยภายในเขตมุมไบและปริมณฑล[9] มุมไบเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเขตเมืองมุมไบ เขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับหกของโลก ด้วยประชากรมากกว่า 23 ล้านคน[10] มุมไบตั้งอยู่บนชายฝั่งโกนกานทางตะวันตกของอินเดีย และมีอ่าวธรรมชาติที่ลึกลงไป ในปี 2008 มุมไบได้รับการตั้งชื่อว่าเป็นเมืองอัลฟาโลก[11][12] มุมไบเป็นเมืองที่มีจำนวนของเศรษฐีและ มหาเศรษฐี มากที่สุดในประเทศอินเดีย[13][14] ในเมืองมุมไบมีแหล่งมรดกโลกอยู่สามแห่ง คือ ถ้ำเอลิฟันตา, สถานีฉัตรปตีศิวาจี และ กลุ่มอาคารสถาปัตยกรรมอาร์ตเดโคและวิคตอเรียน[15][16]
มุมไบดั้งเดิมนั้นประกอบขึ้นมาจากเกาะเจ็ดเกาะซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวโกลีที่พูดภาษามราฐี[17][18][19] และอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิพื้นถิ่นต่าง ๆ เป็นเวลานับศตวรรษก่อนจะถูกยึดครองโดยจักรวรรดิโปรตุเกส ซึ่งต่อมาได้ถูกขายให้กับบริษัทอินเดียตะวันออก ต่อมาในปี 1661 เมื่อกษัตริย์ชาลส์ที่สองแห่งอังกฤษอภิเษกสมรสกับพระนางกาตารีนาแห่งบรากังซา เกาะทั้งเจ็ดของบอมเบย์รวมถึงท่าเรือตันเกียร์ได้ถูกยกให้ในฐานะสินสอด[20] ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 บอมเบย์ได้ถูกเปลี่ยนแปลงรูปร่างโดยโครงการ ฮอร์นบี เวลเลิร์ด[21] ที่ซึ่งมีการถมผืนดินขึ้นมาระหว่างเกาะทั้งเจ็ด[22] ซึ่งมีการก่อสร้างถนนและทางรถไฟสายสำคัญ, โครงการสร้างแผ่นดินข้นบนผืนน้ำ จนเสร็จสมบูรณ์ในปี 1845 ได้ทำให้บอมเบย์กลายเป็นเมืองท่าสำคัญบนทะเลอาหรับ บอมเบย์ในศตวรรษที่ 19 เต็มไปด้วยการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการศึกษา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ยังเป็นฐานที่แข็งแรงให้กับขบวนการเอกราชอินเดีย หลังอินเดียได้รับเอกราชในปี 1947 บอมเบย์ได้ถูกรวมเข้าเป็นรัฐบอมเบย์ ต่อมาในปี 1960 ภายหลังการเคลื่อนไหวของขบวนการสามยุกต์มหาราษฏร จึงได้ตั้งรัฐใหม่ในชื่อรัฐมหาราษฏระ และมีบอมเบย์เป็นเมืองหลวง[23]
อ้างอิง
- ↑ "Sitaram Kunte new commissioner of Mumbai civic body". DNA India. Mumbai, India. Press Trust of India. 30 April 2012. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
- ↑ "Cities having population 1 lakh and above" (PDF). censusindia. The Registrar General & Census Commissioner, India. สืบค้นเมื่อ 17 October 2011.
- ↑ "Ranking of districts of Maharashtra by population size 2011". CensusIndia.gov.in. สืบค้นเมื่อ 25 April 2011.
- ↑ "Urban Agglomerations/Cities having population 1 lakh and above" (PDF). Censusindia. The Registrar General & Census Commissioner, India. สืบค้นเมื่อ 17 October 2011.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ 2020-06-21.
- ↑ https://en.wikipedia.org/wiki/Mumbai#cite_note-11
- ↑ "Only Marathi for official work, corporators tell devp body". The Indian Express. Mumbai, India. Express News Service. 26 February 2010. p. 2. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
- ↑ "The World's Cities in 2018" (PDF). United Nations. October 2018. p. 4. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2018. สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.
- ↑ "Provisional Population Totals, Census of India 2011; Cities having population 1 lakh and above" (PDF). Office of the Registrar General & Census Commissioner, India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 May 2012. สืบค้นเมื่อ 26 March 2012.
- ↑ "World Urban Areas" (PDF). Demographia. 2018. สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.
- ↑ คำเตือนการอ้างอิง:
<ref>
tag with namelboro2008
cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all. - ↑ "Mumbai | ISAC". Indiastudyabroad.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2015. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.
- ↑ Bharucha, Nauzer (9 March 2015). "Thirty of India's 68 billionaires live in Mumbai". The Times of India. Mumbai. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2015. สืบค้นเมื่อ 10 March 2015.
- ↑ "With 68 billionaires, India ranks 7th globally; Mumbai leads in India with 30". Daily News and Analysis. New Delhi. 10 March 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2015. สืบค้นเมื่อ 10 March 2015.
- ↑ Curzon, G.N. Complete book online – British Government in India: The Story of Viceroys and Government Houses. สืบค้นเมื่อ 22 March 2019.
- ↑ Douglas, James. Complete book online – Bombay and western India – a series of stray papers, with photos of Ajmer. London: Samson Low Marston & Co. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-25. สืบค้นเมื่อ 22 March 2019.
- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2013. สืบค้นเมื่อ 23 November 2013.
{cite web}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Munshi, Kanaiyalal M. (1954). Gujarāt and its literature, from early times to 1852. Bharatiya Vidya Bhavan. p. xix.
The next immigrants into the islands of Bombay were the Kolis, who on all authorities continued to be their original inhabitants till Aungier founded the city of Bombay. Kathiawad and Central Gujarāt was the home of the Kolis in pre-historic times.
- ↑ Mehta, R. N. (1983). "Bombay – An analysis of the toponym". Journal of the Oriental Institute: 138–140.
The kolis who succeeded the stone-age men on the island brought with them from Gujarat their patron goddess Mummai whom their descendants still worship in Kathiawar. The name of Bombay is derived from this koli goddess.
- ↑ Wynne, S. M. (2004). "Catherine (1638–1705)". Oxford Dictionary of National Biography. Vol. 1 (online ed.). Oxford University Press. doi:10.1093/ref:odnb/4894. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2015. สืบค้นเมื่อ 21 February 2015. (ต้องรับบริการหรือเป็นสมาชิกหอสมุดสาธารณะสหราชอาณาจักร)
- ↑ Dwivedi & Mehrotra 2001, p. 28
- ↑ "Once Upon a Time in Bombay". Foreign Policy. 24 June 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2015. สืบค้นเมื่อ 22 February 2012.
- ↑ "Bombay: History of a City". British Library. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2009. สืบค้นเมื่อ 8 November 2008.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Official website of the Municipal Corporation of Greater Mumbai
- Official City Report เก็บถาวร 2009-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน