บุญพระธาตุหลวง
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/6c/That_Luang_Festival_Vientiane_Laos.jpg/220px-That_Luang_Festival_Vientiane_Laos.jpg)
พระธาตุหลวงเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติและเป็นอนุสรณ์สถานทางศาสนาที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว[1] เทศกาลทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทที่สำคัญที่สุดในกรุงเวียงจันทน์คือ บุญพระธาตุหลวง (ลาว: ບຸນພຣະທາດຫລວງ) จัดขึ้นที่พระธาตุหลวงเป็นเวลา 3 วันในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติ (อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน)[2]
พระธาตุหลวง
พระธาตุหลวงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2109 ถูกทำลาย รื้อถอน และบูรณะหลายครั้ง พระธาตุหลวงถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เนื่องจากชาวลาวเชื่อว่าสถูปนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
เทศกาล
พระสงฆ์และฆราวาสจากทั่วประเทศลาวจะมาร่วมเทศกาลบุญพระธาตุหลวงด้วยพิธีกรรมทางศาสนาเป็นเวลา 3 วัน ตามด้วยการจัดเทศกาลเป็นเวลา 1 สัปดาห์ทั้งกลางวันและกลางคืน ขบวนแห่ของฆราวาสเริ่มเดินจากวัดสีเมืองในตัวเมืองและมุ่งไปยังพระธาตุหลวงเพื่อทำบุญตักบาตรแก่พระสงค์เพื่อสะสมบุญสำหรับการกลับชาติมาเกิดในชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ส่วนพิธีกรรมทางศาสนาสิ้นสุดด้วยการที่ฆราวาสถือธูปเทียนเป็นเครื่องบูชา เดินเวียนรอบพระธาตุหลวง 3 รอบเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า มีวงดนตรีพื้นบ้านและวงดนตรียอดนิยม รวมถึงการแสดงละครให้ความบันเทิงในงานเทศกาล
อ่านเพิ่มเติม
- The Politics of Ritual and Remembrance : Laos Since 1975, by Grant Evans, University of Hawai'i Press (1998)ISBN 0-8248-2054-1
- Ladwig, Patrice (2015). Worshipping relics and animating statues. Transformations of Buddhist statecraft in contemporary Laos. Modern Asian Studies Vol.49/6, 2015, pp. 1875–1902.
อ้างอิง
- ↑ Tagwerker, Edeltraud (2009). Siho and Naga--Lao Textiles: Reflecting a People's Tradition and Change (ภาษาอังกฤษ). Peter Lang. pp. 157–158. ISBN 978-3-631-58689-1.
- ↑ Evans, Grant (1998-01-01). The Politics of Ritual and Remembrance: Laos Since 1975 (ภาษาอังกฤษ). University of Hawaii Press. p. 42. ISBN 978-0-8248-2054-1.