ประเทศพัฒนาแล้ว

  ประเทศพัฒนาแล้ว
  Data unavailable

The latest classifications sorted by the IMF[1] and the UN[2]
แผนที่โลกแสดงประเทศแบ่งตาม GDP per capita (2008)

ประเทศพัฒนาแล้ว (อังกฤษ: developed country) หมายถึงประเทศที่มีการพัฒนาในระดับที่สูงเมื่อวัดตามมาตรฐานบางประการ แต่การยึดเอามาตรฐานใดเป็นหลัก หรือการจัดกลุ่มให้ประเทศใดอยู่ในกลุ่มพัฒนาแล้วนั้นยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ โดยทั่วไปมาตรวัดทางเศรษฐกิจมักเป็นที่ยอมรับ เช่นการใช้รายได้ต่อหัวเป็นหลัก และให้ประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวสูงอยู่ในกลุ่มพัฒนาแล้ว ในระยะหลังมีการใช้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ ซึ่งเป็นการรวมเอามาตรวัดทางเศรษฐกิจรวมกับมาตรวัดอื่น ๆ เช่นดัชนีอายุขัย และการศึกษา เพื่อเป็นตัววัดการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ มากขึ้น จึงมีการจัดกลุ่มประเทศที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

ดัชนีการพัฒนามนุษย์

แผนที่โลกแสดงดัชนีการพัฒนามนุษย์ ในปี พ.ศ. 2557
  สูงมาก
  สูง
  ปานกลาง
  ต่ำ
  ไม่มีข้อมูล

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ เป็นดัชนีการวัดและเปรียบเทียบ ความยากจน การรู้หนังสือ การศึกษา อายุขัย การคลอดบุตร และปัจจัยอื่น ๆ ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นวิธีการวัดความอยู่ดีกินดีตามมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชน หลายคนใช้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาตินี้ในการระบุว่าประเทศใดประเทศหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา หรือประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ดัชนีดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) โดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถานชื่อ มาฮฺบับ อุล ฮาค และองค์การสหประชาชาติได้ในดัชนีดังกล่าวมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) เป็นต้นมา

ดัชนีการพัฒนามนุษย์วัดความสำเร็จโดยเฉลี่ยของแต่ละประเทศในการพัฒนามนุษย์สามด้านหลัก ๆ ได้แก่

  • การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดี ซึ่งวัดได้จากอายุขัย
  • ความรู้ ซึ่งวัดได้จากการรู้หนังสือ (มีน้ำหนักเป็นสองในสามส่วน) และอัตราส่วนการเข้าเรียนสุทธิที่รวมกันทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา (มีน้ำหนักเป็นหนึ่งในสามส่วน)
  • มาตรฐานคุณภาพชีวิต ซึ่งวัดได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product - GDP) ต่อหัวและภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (purchasing power parity - PPP)

ค่าเฉลี่ยรายได้หลังหักภาษีของสมาชิก OECD

อันดับ ประเทศ รายได้หลังหักภาษี $
2011[4]
การเปลี่ยนแปลง[5] การหักภาษี[6][7] รายได้รวม $
2011[8]
1  สหรัฐอเมริกา 42,035 242 เพิ่มขึ้น 26.0% 54,450
2  ไอร์แลนด์ 41,170 531 เพิ่มขึ้น 18.9% 50,764
3  ลักเซมเบิร์ก 37,997 -1,477 ลดลง 28.1% 52,847
4  สวิตเซอร์แลนด์ 35,471 -57 ลดลง 29.4% 50,242
5  ออสเตรเลีย 34,952 835 เพิ่มขึ้น 22.3% 44,983
6  บริเตนใหญ่ 33,513 -1,272 ลดลง 25.1% 44,743
7  แคนาดา 32,662 -648 ลดลง 22.7% 42,253
8  นอร์เวย์ 31,101 913 เพิ่มขึ้น 29.3% 43,990
9  เกาหลีใต้ 31,051 1,341 เพิ่มขึ้น 12.3% 35,406
10  เนเธอร์แลนด์ 29,269 -544 ลดลง 37.8% 47,056
11  ออสเตรีย 29,008 -177 ลดลง 33.4% 43,555
12  สวีเดน 28,301 480 เพิ่มขึ้น 25.0% 37,734
13  เดนมาร์ก 27,974 -335 ลดลง 38.6% 45,560
14  ญี่ปุ่น 27,763 724 เพิ่มขึ้น 21.0% 35,143
15  ฝรั่งเศส 27,452 93 เพิ่มขึ้น 28.0% 38,128
16  สเปน 26,856 -466 ลดลง 21.9% 34,387
17  ฟินแลนด์ 25,747 146 เพิ่มขึ้น 29.8% 36,676
18  เบลเยียม 25,642 25 เพิ่มขึ้น 42.2% 44,364
19  เยอรมนี 24,174 379 เพิ่มขึ้น 39.9% 40,223
20  อิตาลี 23,194 -562 ลดลง 30.8% 33,517
21  กรีซ 21,352 -2,039 ลดลง 18.8% 26,295
22  โปรตุเกส 17,170 -2,044 ลดลง 24.5% 22,742
23  เช็กเกีย 15,115 -191 ลดลง 23.0% 19,630
24  สโลวาเกีย 14,701 -328 ลดลง 22.9% 19,068
25  โปแลนด์ 14,389 189 เพิ่มขึ้น 28.3% 20,069
26  ฮังการี 12,843 52 เพิ่มขึ้น 35.0% 19,437

รายชื่อประเทศพัฒนาแล้วในรายการอื่น

ประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าของ IMF

  ประเทศที่ IMF ยกย่องว่ามีสภาพเศรษฐกิจก้าวหน้า

35 ประเทศที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศยกย่องว่ามี "สภาพเศรษฐกิจก้าวหน้า" ได้แก่:[9]

สมาชิก Development Assistance Committee

ประเทศสมาชิก Development Assistance Committee

ประเทศสมาชิก OECD ที่เป็นสมาชิก DAC มีดังต่อไปนี้:

17 ประเทศในทวีปยุโรป:

2 ประเทศในทวีปเอเชีย:

2 ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ:

2 ประเทศในโอเชียเนีย:

1 เข้าร่วม DAC ในปี 1961 ถอนตัวในปี 1974 และกลับมาเข้าร่วมอีกครั้งในปี 1991

สมาชิก Paris Club

ประเทศสมาชิก Paris Club

15 ประเทศในทวีปยุโรป:

3 ประเทศในทวีปเอเชีย:

3 ประเทศในทวีปอเมริกา:

1 ประเทศในโอเชียเนีย:

สมาชิกที่มีรายได้สูงของธนาคารโลก

สมาชิกที่มีรายได้สูงของธนาคารโลกในปี 2023

37 ประเทศและดินแดนในทวีปยุโรป:

19 ประเทศและดินแดนในทวีปอเมริกาเหนือ:

14 ประเทศและดินแดนในทวีปเอเชีย:

7 ประเทศและดินแดนในโอเชียเนีย:

3 ประเทศในทวีปอเมริกาใต้:

1 ประเทศในทวีปแอฟริกา:

สมาชิก OECD ที่มีรายได้สูง

สมาชิก OECD ที่มีรายได้สูง ได้แก่:

24 ประเทศในทวีปยุโรป:

3 ประเทศในทวีปเอเชีย:

2 ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ:

2 ประเทศในโอเชียเนีย:

ดัชนีคุณภาพชีวิตในปี 2005

ผลวิจัยเกี่ยวกับมาตรฐานการดำรงชีพและคุณภาพชีวิตโดย Economist Intelligence Unit ในรูปแบบดัชนีคุณภาพชีวิตครอบคลุม 111 ประเทศ โดยในปี 2005 ประเทศที่ติด 30 อันดับแรกได้แก่:[10]

ดัชนีประเทศที่ดีที่สุดในโลกของ Newsweek ในปี 2010

ในปี 2010 Newsweek ได้เผยแพร่ดัชนีแสดง "ประเทศที่ดีที่สุดในโลก" โดยใช้เกณฑ์ "การศึกษา, สุขภาพ, คุณภาพชีวิต, เศรษฐกิจพลังงาน, และสภาพแวดล้อมทางการเมือง" ใน 100 ประเทศ โดยในปีนั้น 30 อันดับแรกคือ:[11]

30 อันดับแรกในหัวข้อ คุณภาพชีวิต ได้แก่:

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "World Economic and Financial Surveys World Economic Outlook Database—WEO Groups and Aggregates Information". IMF.org. International Monetary Fund. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2019. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
  2. Least Developed Countries เก็บถาวร 17 พฤษภาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (2018 list เก็บถาวร 21 ธันวาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name UNDP2020 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  4. Gross wage - Compulsory deduction.
  5. Disposable income in 2011 - Disposable income in 2010.
  6. OECD Tax Database - Table S.2 - Average net personal compulsory payment rate (single, no children, 100% AW)
  7. Figure for Greece was not available in 2011, hence the figure for 2010 has been used instead.
  8. OECD Statistics -> Data by theme -> Labour -> Earnings -> Average annual wages
  9. IMF Advanced Economies List. World Economic Outlook, October 2012, p. 180
  10. The world in 2005: The Economist Intelligence Unit's quality-of-life index, The Economist. Accessed on line January 8, 2007.
  11. The world's best countries: 2010 index เก็บถาวร 2011-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Newsweek. Accessed on line August, 15 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น