ปลากระเบนแอปเปิล
ปลากระเบนแอปเปิล | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Chondrichthyes |
ชั้นย่อย: | Elasmobranchii |
อันดับ: | Myliobatiformes |
วงศ์: | Potamotrygonidae |
สกุล: | Paratrygon Duméril, 1865 |
สปีชีส์: | P. aiereba |
ชื่อทวินาม | |
Paratrygon aiereba (Müller & Henle, 1841) | |
ชื่อพ้อง[1][2] | |
|
ปลากระเบนแอปเปิล (อังกฤษ: Discus ray, Manzana Ray, Ceja Ray[1]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Paratrygon aiereba; ในข้อมูลเก่านิยมสะกด ajereba[1]) ปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) จัดเป็นปลากระเบนเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Paratrygon[2]
ปลากระเบนแอปเปิล มีลักษณะส่วนใหญ่เหมือนกับปลากระเบนชนิดอื่นในวงศ์เดียวกันทั่วไป แต่มีลักษณะเด่น คือ มีลำตัวคล้ายผลแอปเปิลที่ผ่าครึ่ง ส่วนหางจะเหมือนกับก้านผลแอปเปิล จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ[3]
จัดเป็นปลากระเบนชนิดหนึ่งที่มีความใหญ่ในวงศ์นี้ เมื่อโตเต็มที่มีความกว้างของขอบจานข้างหนึ่งจรดข้างหนึ่งได้ถึง 80 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในลุ่มแม่น้ำสายใหญ่หลายสายในทวีปอเมริกาใต้ เช่น แอมะซอน, โอรีโนโก, รีโอเนโกร, โทคันตินส์[4]
หากินตามพื้นน้ำเหมือนปลากระเบนชนิดอื่นทั่วไป โดยกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น กุ้ง, ปู, หอย รวมทั้งปลาขนาดเล็ก นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามเหมือนปลากระเบนชนิดอื่น แต่ได้รับความนิยมน้อยกว่าเนื่องจากมีขนาดใหญ่ และมีราคาซื้อขายที่แพงในหลักหมื่นหรือหลักแสนบาท[3]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Góes de Araújo, M.L. & Rincón, G. (2009). Paratrygon ajereba. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 2004-05-05.
- ↑ 2.0 2.1 "Paratrygon Duméril, 1865". itis.gov. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
- ↑ 3.0 3.1 "มีเรื่องของปลากระเบนมาฝากกันครับ จากนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน". พันทิปดอตคอม. 23 September 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-06. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
{cite web}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Paratrygon aiereba (Müller & Henle, 1841)". fishbase.org. สืบค้นเมื่อ 7 June 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Paratrygon aiereba ที่วิกิสปีชีส์