ป่าดิบชื้น

ป่าดิบชื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค

ป่าดิบชื้น หรือ ป่าฝนเขตร้อน (อังกฤษ: tropical rain forest) จัดเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี ต้นไม้จะไม่ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก ต้นไม้ไม่มีความจำเป็นต้องผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำ

ป่าชนิดนี้มักจะเรียกกันว่า ป่าดงดิบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่ราบเชิงเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 0-100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (บางครั้งอาจพบอยู่สูงถึงระดับ 250 เมตร) และมีปริมาณน้ำฝนที่ไม่น้อยกว่า 2,000 มม./ปี พบมากทางภาคใต้และแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด

ทรัพยากรสัตว์ป่า

สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในป่าดงดิบชื้น[1] ได้แก่

ทรัพยากรป่าไม้

ลักษณะทั่วไปเป็นป่ารกทึบ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้มากมายหลายร้อยชนิด ต้นไม้ชั้นบนส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ในวงศ์ยางนา (En:Dipterocarpaceae) ซึ่งมีลำต้นสูงใหญ่ตั้งตรง ตั้งแต่ 30-50 เมตร พืชสำคัญที่พบเห็นได้ตามป่าดิบชิ้นทั่วไป ได้แก่

ถัดมาไม้ชั้นกลาง เป็นไม้ต้นขนาดกลางและเล็ก ได้แก่ หลุมพอ สะตอ ยวน หยี สัตบรรณ ชันรูจี อินทนิล ปาล์มบังสูรย์ พุงทะลาย ท้ายเภาขาว พระเจ้าห้าองค์ ส่วนพืชชั้นล่างเป็นพืชล้มลุกต่างๆ เช่น ระกำ หวาย ไผ่ เถาวัลย์ นอกจากนี้มักพบ พืชอิงอาศัย จำพวกเฟิร์น และมอสส์ และอาจพบเห็ดรา ชนิดต่าง ๆ ด้วย

อ้างอิง

ตัวอย่างการอ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-02. สืบค้นเมื่อ 2016-02-03.