สารชูรส

สารชูรส (อังกฤษ: flavour enhancers) หรือ ผงชูรส เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่ใส่เพื่อเพิ่มรสชาติของอาหาร ในวัฒนธรรมตะวันตกรสชาติที่ห้าหรืออุมะมิ ไม่ได้รับการยอมรับมาเป็นเวลานาน กล่าวกันว่าผงชูรสไม่มีรสชาติของตัวเอง แต่กระตุ้นการทำงานของต่อมรับรสอุมะมิ และทำให้ผู้ทานผงชูรสรู้สึกถึงรสชาติอาหารที่ดีขึ้น[1]

สารชูรสที่ใช้กันมานานได้แก่กรดกลูตามิกและเกลือของมัน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่พบได้ในอาหารหลายชนิดในธรรมชาติ มีรายงานว่าการรับประทานสารชูรสในกลุ่มกรดกลูตามิกอาจก่อให้เกิดอาการภัตตาคารจีน (Chinese Restaurant Syndrome; CRS)[2]ในผู้บริโภคบางกลุ่มได้ ซึ่งปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันในทางการแพทย์ ทั้งนี้สารชูรสกลุ่มกรดกลูตามิกเป็นวัตถุเจือปนอาหารควบคุมในหลายประเทศ ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปต้องระบุไว้บนฉลากให้ชัดเจนเพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้บริโภค

นอกจากกรดกลูตามิกแล้วกรดอะมิโนชนิดอื่นๆ เช่น ไกลซีนและลิวซีน ก็ทำหน้าที่เป็นสารชูรสได้ รวมไปถึงเกลือของนิวคลีโอไทด์ เช่น GMP และ IMP

สารชูรสในระบบ E-number

กรดกลูตามิกเป็นกรดอะมิโนที่พบได้ในธรรมชาติ
GMP เป็นนิวคลีโอไทด์
IMP เป็นนิวคลีโอไทด์
Malthol เป็นสารสกัดได้จากเปลือก larch

วัตถุเจือปนอาหารต่อไปนี้ใช้เป็นผงชูรส (เรียงตามลำดับ E number ซึ่งใช้ในEurope รวมถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์)

  • กรดกลูตามิกและเกลือของมัน
    • E620 Glutamic acid
    • E621 Monosodium glutamate หรือ MSG
    • E622 Monopotassium glutamate
    • E623 Calcium diglutamate
    • E624 Monoammonium glutamate
    • E625 Magnesium diglutamate
  • กรด Guanylic และเกลือของมัน
    • E626 Guanylic acid
    • E627 Disodium guanylate หรือ sodium guanylate
    • E628 Dipotassium guanylate
    • E629 Calcium guanylate
  • กรด Inosinic และเกลือของมัน
    • E630 Inosinic acid
    • E631 Disodium inosinate
    • E632 Dipotassium inosinate
    • E633 Calcium inosinate
  • ของผสมระหว่าง guanylate และ inosinate
    • E634 Calcium 5'-ribonucleotides
    • E635 Disodium 5'-ribonucleotides
  • Maltol และ ethyl maltol
    • E636 Maltol
    • E637 Ethyl maltol
  • กรดอะมิโนและเกลือของมัน
    • E640 Glycine และเกลือโซเดียมของมัน
    • E641 Leucine

อ้างอิง

  1. Chaudhari N, Landin AM, Roper SD (2000). "A metabotropic glutamate receptor variant functions as a taste receptor". Nature Neuroscience. 3 (2): 113–119. doi:10.1038/72053. PMID 10649565.{cite journal}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Kwok RH M. Chinese restaurant syndrome. N Engl J Med 1968;278-96.