ผู้ครองราชรัฐลักเซมเบิร์ก
แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก | |
---|---|
อยู่ในราชสมบัติ | |
แกรนด์ดยุกอ็องรี ตั้งแต่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2000 | |
รายละเอียด | |
พระราชอิสริยยศ | รอยัลไฮเนส |
รัชทายาท | แกรนด์ดยุกกีโยม รัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก |
กษัตริย์องค์แรก |
|
สถาปนาเมื่อ | 15 มีนาคม ค.ศ. 1815 |
ที่ประทับ | พระราชวังหลวงลักเซมเบิร์ก |
แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก (อังกฤษ: Grand Duke of Luxembourg, ลักเซมเบิร์ก: Groussherzog vu Lëtzebuerg, ฝรั่งเศส: Grand-duc de Luxembourg, เยอรมัน: Großherzog von Luxemburg) เป็นประมุขแห่งรัฐแห่งราชรัฐลักเซมเบิร์ก เริ่มต้นจากการปรับฐานะของลักเซมเบิร์กเป็นแกรนด์ดัชชี เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1815 ในบริเวณของดัชชีลักเซมเบิร์กในอดีต โดยตอนแรกใช้ประมุขแห่งรัฐเป็นแบบรัฐร่วมประมุขกับสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์จนถึงปีค.ศ. 1890 ซึ่งปกครองโดยราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา ลักเซมเบิร์กในปัจจุบันเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีสถานะเป็นแกรนด์ดัชชี และตั้งแต่ปีค.ศ. 1815 มีประมุขปกครองรวมทั้งสิ้นเก้าพระองค์ โดยมีแกรนด์ดยุกอ็องรีเป็นองค์ปัจจุบัน
บทบาทตามรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งลักเซมเบิร์กได้ระบุถึงบทบาทของแกรนด์ดยุกไว้ดังนี้:
- แกรนด์ดยุกเป็นประมุขแห่งรัฐ สัญลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน และผู้รับรองความเป็นเอกราชของประเทศ แกรนด์ดยุกพึงใช้อำนาจบริหารตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายของลักเซมเบิร์ก[1]
หลังจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (มาตรา 34) เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 มีเหตุสืบเนื่องจากกรณีที่ทรงไม่รับรองพระราชบัญญัติการการุณยฆาต ทำให้ร่างพระราชบัญญัติมิจำเป็นจะต้องได้รับการเห็นชอบจากประมุขแห่งรัฐ (พระราชานุมัติ)[2] แต่อย่างไรก็ตามจะต้องมีการลงพระนามาภิไธยอย่างเป็นทางการถึงจะตราเป็นกฎหมายได้
อ้างอิง
- ↑ "Constitution de Luxembourg" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Service central de législation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 October 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-04-03.
- ↑ "Luxembourg strips monarch of legislative role". The Guardian. London. 12 December 2008. สืบค้นเมื่อ 4 May 2010.