พลาสเตอร์อินโทนาโค
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e1/R%C3%B6mischer_Meister_um_50_001.jpg/280px-R%C3%B6mischer_Meister_um_50_001.jpg)
พลาสเตอร์อินโทนาโค (อังกฤษ: Intonaco) “อินโทนาโค” เป็นศัพท์ภาษาอิตาลีที่ใช้เรียกปูนปลาสเตอร์ที่ฉาบชั้นบางชั้นสุดท้ายก่อนที่จะลงมือเขียนจิตรกรรมฝาผนัง การเขียนภาพจะทำขณะที่ปูนยังอมความชื้นอยู่เพื่อที่จะให้สีซึมลงไปในตัวปูน ชั้นที่ฉาบก่อนหน้าเรียกว่า “arriccio” จะหยาบกว่าอินโทนาโคเล็กน้อยเพื่อให้อินโทนาโคเกาะตัวเมื่อฉาบทับ และชั้นนี้จะต้องแห้งก่อนที่จะฉาบอินโทนาโคได้ ซึ่งมักจะใช้เวลาสองสามวันก่อนที่จะฉาบอินโทนาโคทับได้[1] คำว่าอินโทนาโคนอกจากจะใช้ดังว่าแล้วก็ยังมีความหมายกว้างๆ ถึงปูนฉาบปกติ หรือ การฉาบกำแพงหรือผนังโดยทั่วไปด้วย
ส่วนผสมของอินโทนาโคตามปกติแล้วจะประกอบด้วยทราย (ที่มีความละเอียดของเม็ดทรายน้อยกว่าสองมิลลิเมตร) และสารที่เป็นตัวเชื่อม
ประเภทของอินโทนาโค
อินโทนาโคแบ่งตามลักษณะของสารที่ใช้เป็นตัวเชื่อม:
- อินโทนาโคปูนขาว (Lime) คือส่วนผสมที่ใช้แต่ hydrated lime หรือ แคลเซียมไฮดร็อกไซด์เป็นส่วนผสมเท่านั้น
- อินโทนาโคปูนขาว/ซีเมนต์ คือส่วนผสมที่ตัวเชื่อมเป็นส่วนผสมระหว่าง hydrated lime กับ ซีเมนต์พอร์ตแลนด์ที่ส่วนใหญ่จะเป็นปูนขาว
- อินโทนาโคซีเมนต์/ปูนขาว คือส่วนผสมที่ตัวเชื่อมเป็นส่วนผสมระหว่าง hydrated lime กับ ซีเมนต์พอร์ตแลนด์ที่ส่วนใหญ่จะเป็นซีเมนต์พอร์ตแลนด์
- อินโทนาโคปูนปลาสเตอร์ คือส่วนผสมที่ตัวเชื่อมเป็นปูนปลาสเตอร์เท่านั้น
ทรายที่ใช้ทำอินโทนาโคอาจจะเป็นหินปูน หรือ ซิลิเคทที่มาจากธรรมชาติเช่นจากแม่น้ำหรือจากทรายที่นำมาปั่นให้เม็ดเล็กลง
ประเภทของสารที่ทำให้คงตัว
อินโทนาโคทำให้คงตัวได้โดยการใช้:
- ปูนขาว
- ปูนปลาสเตอร์
- ปูนปลาสเตอร์ที่มีแคลเซียมซัลเฟต
- ซีเมนต์ที่มี Terracotta
อ้างอิง
- ↑ Ugo Procacci, in Frescoes from Florence,pp. 15-25 1969, Arts Council, London, gives a full account of the process.