พหุคูณ
ในวิชาคณิตศาสตร์ พหุคูณ (อังกฤษ: multiple) เป็นผลคูณของปริมาณใด ๆ กับจำนวนเต็มจำนวนหนึ่ง กล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า สำหรับปริมาณ a และ b, b เป็นพหุคูณของ a หาก b = na ถ้า n เป็นจำนวนเต็มจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียก ตัวคูณ หาก a ไม่เป็น 0 สมการนี้เทียบเท่ากับกล่าวว่า b/a เป็นจำนวนเต็มจำนวนหนึ่ง
ในวิชาคณิตศาสตร์ เมื่อ a และ b เป็นจำนวนเต็มทั้งคู่ และ b เป็นพหุคูณของ a แล้ว a จะถูกเรียกว่าเป็นตัวหารของ b อาจกล่าวได้ว่า a หาร b หาก a และ b ไม่เป็นจำนวนเต็ม นักคณิตศาสตร์โดยทั่วไปมักเลือกใช้พหุคูณจำนวนเต็มแทนพหุคูณเพื่อการชี้แจง อันที่จริง "พหคูณ" ใช้สำหรับผลคูณอีกชนิดอื่น เช่น พหุนาม p เป็นพหุคูณของพหุนาม q หากมีพหุนาม r ที่ทำให้ p = qr
ในบางตำรา "a เป็น พหุคูณย่อย (submultiple) ของ b" มีความหมายว่า "b เป็นพหุคูณจำนวนเต็มของ a"[1][2] ศัพท์นี้ยังใช้ในหน่วยวัด (เช่น โดย สำนักงานชั่ง ตวง วัดระหว่างประเทศ[3] และสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ[4]) ซึ่งพหุคูณย่อยของหน่วยเล็กเป็นหน่วย ซึ่งได้ชื่อตามการเติมคำหน้าหน่วยหลักที่นิยามว่าเป็นผลหารของหน่วยหลักกับจำนวนเต็มหนึ่ง ส่วนมากเป็นกำลัง 103 ตัวอย่างเช่น มิลลิเมตรเป็นพหุคูณย่อย 1000 เท่าของหนึ่งเมตร[3][4]
อ้างอิง
- ↑ "Submultiple". Merriam-Webster Online Dictionary. Merriam-Webster. 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-02-01.
- ↑ "Submultiple". Oxford Living Dictionaries. Oxford University Press. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2017-02-01.
- ↑ 3.0 3.1 International Bureau of Weights and Measures (2006), The International System of Units (SI) (PDF) (8th ed.), ISBN 92-822-2213-6
- ↑ 4.0 4.1 "NIST Guide to the SI". Section 4.3: Decimal multiples and submultiples of SI units: SI prefixes