พิงก์ฟลอยด์
พิงก์ ฟลอยด์ | |
---|---|
พิงก์ ฟลอยด์ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1968 ถือเป็นเพียงภาพเดียวที่มีรูปถ่ายของสมาชิกครบทั้ง 5 คน เรียงตามเข็มนาฬิกาจากคนนั่งข้างหน้า: กิลมอร์, เมสัน, แบร์เร็ตต์, วอเทอรส์ และ ไรท์ | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | กรุงลอนดอน, ประเทศอังกฤษ |
แนวเพลง | |
ช่วงปี |
|
ค่ายเพลง | |
อดีตสมาชิก | เดวิด กิลมอร์ นิค เมสัน ริคชาร์ท ไรต์ โรเจอร์ วอเทอร์ส ซิด บาร์เร็ตต์ |
เว็บไซต์ | pinkfloyd.com |
พิงก์ พลอยด์ (อังกฤษ: Pink Floyd) เป็นวงดนตรีร็อก ก่อตั้งขึ้นที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1965 พิงก์ ฟลอยด์ ได้เป็นหนึ่งในผู้ทำดนตรีโพรเกรสซีฟร็อค และไซคีเดลิกร็อก อย่างโดดเด่นจนประสบความสำเร็จในระดับสากล ทั้งการแต่งเนื้อเพลงที่อิงเรื่องปรัชญาและแนวความคิดในสังคม การแต่งเพลงที่บรรเลงยาวกว่าเพลงทั่วไป และเทคนิคเอ็ฟเฟกต์เสียงที่สอดแทรกในดนตรี รวมไปถึงการแสดงสดที่แสดงได้อย่างยอดเยี่ยม ฟิงก์ ฟลอยด์ ได้กลายเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่ทรงอิทธิพลและประสบความสำเร็จด้านยอดจำหน่ายมากที่สุดตลอดกาลวงหนึ่งในประวัติศาสตร์ดนตรียอดนิยม[2]
ฟิงก์ ฟลอยด์ได้กำเนิดขึ้นเมื่อนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม 3 คน จากมหาวิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์[3] ได้แก่ โรเจอร์ วอเทอรส์ (มือเบส), มิค เมสัน (มือกลอง) และริชาร์ท ไรท์ (มือคีย์บอร์ด) พิงก์ ฟลอยด์ ได้รวมวงกันชั่วคราว ต่อมาได้ซิด บาร์เร็ตต์ เข้ามาร่วมเป็นมือกีตาร์อีกคน จึงได้ตั้งวงฟิงก์ ฟลอยด์ ขึ้นในปี ค.ศ. 1965 พวกเขาไต่ชื่อเสียงขึ้นจากการเป็นวงดนตรีใต้ดินในกรุงลอนดอน ภายใต้การเป็นหัวหน้าวงของบาร์เร็ตต์ ทำให้อัลบั้มเปิดตัว The Piper at the Gates of Dawn ประสบผลสำเร็จด้วยการขึ้นชาร์ทอันดับ 6 ของอังกฤษ พร้อมกับซิงเกิลที่ได้ขึ้นชาร์ทถึง 2 ซิงเกิล เดวิด กิลมอร์ ได้เข้ามาร่วมวงในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1967 และบาร์เร็ตต์ ก็ได้ออกจากวงไปในเดือนเมษายน ค.ศ. 1968 จากปัญหาทางสุขภาพจิต วอเทอรส์ได้กลายเป็นหัวหน้าวงโดยเป็นผู้แต่งเพลงหลัก ทั้งคิดคอนเซปต์เบื้องหลังอัลบั้มต่างๆ จนประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น เดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูน (1973), วิชยูเวอร์เฮียร์ (1975), แอนิมัลส์ (1977), เดอะวอลล์ (1979) และ เดอะไฟนอลคัต (1983) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอัลบั้ม เดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูน ที่ได้ติดอันดับชาร์ทของบิลบอร์ด 200ต่อเนื่องยาวนานถึง 741 สัปดาห์ หรือเกือบ 14 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1973 - 1988[4][5] ทำให้อัลบั้มนี้ได้กลายเป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดอันดับ 2 ตลอดกาลอีกด้วย
วงได้เกิดปัญหาที่ตรึงเคลียดจน ไรท์ ได้ออกจากฟิงก์ ฟลอยด์ ในปี ค.ศ. 1979 ตามมาด้วยวอเทอรส์ในปี ค.ศ. 1985 จนเหลือเพียงกิลมอร์และเมสัน ซึ่งยังคงวงต่อไป จนไรท์ ได้กลับมาร่วมเป็นครั้งๆ สมาชิกทั้ง 3 ได้ออกอัลบั้มเพิ่มเติมอีก 2 อัลบั้ม คือ อะโมเมนทารีลาฟส์ออฟรีซัน (1987) และ เดอะดิวิชันเบลล์ (1994) และได้ทำการทัวร์จนถึงปี ค.ศ. 1994 ในที่สุดวอเทอรส์ก็กลับมาร่วมวง ในปี ค.ศ. 2005 ในการแสดงสดคอนเสิร์ตไลฟ์เอท เพียงงานเดียว แต่เขาก็ไม่ได้คิดที่จะร่วมวงอีกต่อไป จนบาร์เร็ตต์ได้เสียชีวิตลงปี ค.ศ. 2006 และไรท์ในปี ค.ศ. 2008 ฟิงก์ ฟลอยด์ได้ออกสตูดิโออัลบั้มครั้งในชื่อ ดิเอนเลสส์ริเวอร์ (2014) ซึ่งอัลบั้มก็ไม่มีวอเทอรส์ร่วมบันทึกเสียง แต่ในส่วนอัลบั้มเป็นการนำดนตรีที่เคยร่วมทำไว้มาทำต่อ ซึ่งได้ทิ้งไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993-94
ฟิงก์ ฟลอยด์ ได้รับการบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรลของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1996 และหอเกียรติยศทางดนตรีประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 2005[6] อ้างข้อมูลจากปี ค.ศ. 2013 วงได้จำหน่ายอัลบั้มไปแล้วกว่า 250 ล้านชุด ทั่วโลก[7] โดยกว่า 75 ล้านชุด ในสหรัฐอเมริกาเพียงที่เดียว
ประวัติ
Pink Floyd วงดนตรีวงนี้ถือกำเนิดขึ้นจากประเทศอังกฤษ ณ มหาวิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์ สมาชิกรุ่นดั้งเดิมประกอบด้วย 4 นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม Syd Barrett ซึ่งทำหน้าที่เป็นมือกีตาร์ ร้องนำ และเขียนเพลง Roger Waters ทำหน้าที่เป็นมือเบส Nick Mason ทำหน้าที่เป็นมือกลอง และ Rick Wright ทำหน้าที่มือคีย์บอร์ด
Pink Floyd เป็นวงดนตรีที่มีวิวัฒนาการทางดนตรียาวนานถึง 30 กว่าปี แนวเพลง ซึ่งพัฒนาเรื่อยๆ ทั้ง Psychidelics ,Syphonic Rock , Progressive Rock , Art Rock จงไปถึง Serious Music และผู้นำของวงในแต่ละยุคซึ่งแตกต่างกันไป
ภายหลัง Syd Barrett ได้ออกจากวงไป โดยได้ David Gilmour มาทำหน้าที่เป็นมือกีตาร์แทน
Rick Wright ได้ถูกไล่ออกจากวงในช่วง ทำอัลบั้มชุด The Wall และได้กลับเข้าวงใหม่ในช่วงอัลบั้ม A Momentary Lapse Of Reason
และภายหลังทำอัลบั้ม The Final Cut ในปี ค.ศ. 1983 Roger Waters ก็ประกาศลาออกจากวง จึงทำให้วงเหลือสมาชิกเพียงแค่ 3 คน คือ David Gilmour,Nick Mason, Rick Wright
อิทธิพลของวง
พิงก์ฟลอยด์ได้กลายเป็นหนึ่งในวงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดและมีอิทธิพลที่สุดวงหนึ่งตลอดกาล[8] ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 250 ล้านชุดทั่วโลก[9] หรือกว่า 75 ล้านชุด ในสหรัฐอเมริกาเพียงที่เดียว และกว่า 37.9 ล้านชุดที่จำหน่ายในสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 เป็นต้นมา[10] จากการจัดอันดับของ ซันเดย์ไทมส์ริชลิสต์ (Sunday Times Rich List) ในหัวข้อ ดนตรีเงินล้าน 2013 ของประเทศอังกฤษ ได้จัดอันดับวอเทอรส์ไว้ที่ 12 ด้วยเงินสดประเมินไว้ราว 150 ล้านยูโร กิลมอร์อันดับที่ 27 ด้วยจำนวนเงินราว 85 ล้านยูโร และเมสันอันดับที่ 37 ด้วยสินทรัพย์รวม 50 ล้านยูโร[11]
ในปี ค.ศ. 2004 เอ็มเอสเอ็นบีซี ได้จัดอันดับ พิงก์ฟลอยด์ ไว้ที่ 8 บนหัวข้อ "10 อันดับวงที่ดีที่สุดตลอดกาล"[12] นิตยสารโรลลิงสโตน ก็จัดอันดับที่ 51 บนหัวข้อ "100 ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[13] นิตยสารคิว ก็ยกให้พิงก์ฟลอยด์เป็นวงที่ใหญ่ที่สุดตลอดกาล[14] วีเอชวัน จัดอันดับฟิงก์ ฟลอยด์ ไว้ที่อันดับ 18 บนหัวข้อ "100 ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[15] นักวิจารณ์เพลงอย่างโคลิน ลาร์คิน ก็จัดอันดับฟิงก์ ฟลอยด์ ไว้ที่ 3 ในหัวข้อ "50 อันดับศิลปินตลอดกาล" ซึ่งอ้างอิงจากผลโหวตรวมจากหนึ่งพันอัลบั้มตลอดกาล ซึ่งฟิงก์ ฟลอยด์ ได้รับโหวตเลือกอัลบั้มไว้มากเป็นอันดับ 3[16]
พิงก์ ฟลอยด์ ชนะรางวัลมากมาย ในปี ค.ศ. 1981 เจมส์ กูทรี วิศวะเครื่องเสียงให้กับวง ก็ได้รับรางวัลแกรมมี ในหัวข้อ "Best Engineered Non-Classical Album" จากอัลบั้มเดอะวอลล์ โรเจอร์ วอเทอรส์ ชนะรางวัลแบฟตา ในหัวข้อ "เพลงแต่งดั้งเดิมที่ดีที่สุดสำหรับภาพยนตร์" ในปี ค.ศ. 1983 สำหรับซิงเกิล "Another Brick in the Wall" จากภาพยนตร์เดอะวอลล์[17] ในปี ค.ศ. 1995 พิงก์ ฟลอยด์ ชนะรางวัลแกรมมี ในหัวข้อ "บรรเลงเพลงร็อกดีที่สุด" สำหรับเพลง "Marooned"[18] ในปี ค.ศ. 2008 สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน ก็ได้พระราชทานรางวัลโพลาร์มิวสิก ซึ่งถือเป็นหนึ่งในรางวัลสูงสุดทางดนตรีของประเทศสวีเดน สำหรับการอุทิศด้านงานดนตรีสมัยใหม่ของพิงก์ ฟลอยด์[19] โดยมีวอเทอรส์และเมสันเข้ารับรางวัลพระราชทานนี้ วงได้รับการบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล ในปี ค.ศ. 1996 หอเกียรติยศด้านดนตรีของสหราชอารณาจักรในปี ค.ศ. 2005 และหอเกียรติยศฮิตพาเรด ปี ค.ศ. 2010[20]
ดนตรีของพิงก์ ฟลอยด์ ได้ส่งอิทธิพลต่อศิลปินรุ่นต่อมามากมาย ทั้ง เดวิด โบอี ได้ยกให้บาร์เรตต์ เป็นผู้สร้างแรงบรรดาลใจคนสำคัญ ดิเอดจ์ แห่งยูทู[21] นอกจากนี้ก็ยังมีวงอื่นๆ อีก เช่น ควีน ทูล เรดิโอเฮด[22] ครัฟท์แวร์ค มาลิไลออน ดิออร์บ ควีนซไรเชอ ไนน์อินช์เนลส์ และ เดอะสแมชชิงพัมป์กินส์[23] พิงก์ ฟลอยด์ ยังมีอิทธิพลต่อวงการ นีโอ-โปรเกรสซีฟร็อก ซึ่งแยกตัวออกมาในทศวรรษที่ 1980 อีกด้วย[24]
ผลงาน
สตูดิโออัลบั้ม
- The Piper at the Gates of Dawn (5 สิงหาคม ค.ศ. 1967)
- A Saucerful of Secrets (29 มิถุนายน ค.ศ. 1968)
- Music from the Film More (27 กรกฎาคม ค.ศ. 1969)
- Ummagumma (25 ตุลาคม ค.ศ. 1969)
- Atom Heart Mother (10 ตุลาคม ค.ศ. 1970)
- Meddle (30 ตุลาคม ค.ศ. 1971)
- Obscured by Clouds (3 มิถุนายน ค.ศ. 1972)
- The Dark Side of the Moon (24 มีนาคม ค.ศ. 1973)
- Wish You Were Here (15 กันยายน ค.ศ. 1975)
- Animals (23 มกราคม ค.ศ. 1977)
- The Wall (30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979)
- The Final Cut (23 มีนาคม ค.ศ. 1983)
- A Momentary Lapse of Reason (7 กันยายน ค.ศ. 1987)
- The Division Bell (30 มีนาคม ค.ศ. 1994)
- The Endless River (7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014)
ไลฟ์ อัลบั้ม
- 1969 Ummagumma (ครึ่งสตูดิโออัลบั้ม ครึ่งแสดงสด)
- 1988 Delicate Sound of Thunder
- 1995 P•U•L•S•E
- 2000 Is There Anybody Out There?
วิดีโอ
- 1972 Live at Pompeii
- 1982 The Wall
- 1989 Delicate Sound of Thunder
- 1992 La Carrera Panamericana
- 2003 The Making of The Dark Side of the Moon
- 2006 P•U•L•S•E DVD
ชุดรวมเพลง
- 1971 Relics
- 1973 A Nice Pair
- 1981 A Collection of Great Dance Songs
- 1983 Works 68
- 1992 Shine On
- 2001 Echoes: The Best of Pink Floyd
- 2007 Oh, By The Way
อ้างอิง
- ↑ "Pink Floyd". RYM.
- ↑ "Rock & Roll Hall of Fame: Pink Floyd biography". Rock and Roll Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ Blake 2008, pp. 37–38 : Mason meeting Waters while studying architecture at the London Polytechnic; Fitch 2005, p. 335 : Waters meeting Mason while studying architecture at the London Polytechnic.
- ↑ For Billboard chart history see: Titus, Christa; Waddell, Ray (2005). "Floyd's 'Dark Side' Celebrates Chart Milestone". Billboard. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012.; for sales figures see: Smirke, Richard (March 16, 2013). "Pink Floyd, 'The Dark Side of the Moon' At 40: Classic Track-By-Track Review". Billboard. สืบค้นเมื่อ June 22, 2016.; Povey 2008, p. 345 : A US number 1.
- ↑ Schaffner, p. 183
- ↑ Povey 2008, p. 286 : Rock and Roll Hall of Fame induction; Povey 2008, p. 287 : The UK Hall of Fame induction; For the Hit Parade Hall of Fame induction see: "Pink Floyd – 2010 Inductee". Hit Parade Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2012. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ For 250 million records sold see: "Pink Floyd Reunion Tops Fans' Wish List in Music Choice Survey". Bloomberg Television. 26 September 2007. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.; For 75 million RIAA certified units sold see: "Top Selling Artists". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.; For 37.9 million albums sold since 1993 see: "The Nielsen Company & Billboard's 2012 Music Industry Report". Business Wire. 4 January 2013. สืบค้นเมื่อ 10 May 2014.
- ↑ "Rock & Roll Hall of Fame: Pink Floyd biography". Rock and Roll Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ For 250 million records sold see: "Pink Floyd Reunion Tops Fans' Wish List in Music Choice Survey". Bloomberg Television. 26 September 2007. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ For 250 million records sold see: "Pink Floyd Reunion Tops Fans' Wish List in Music Choice Survey". Bloomberg Television. 26 September 2007. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.; For 75 million RIAA-certified units sold see: "Top Selling Artists". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.; For 37.9 million albums sold since 1993 see: "The Nielsen Company & Billboard's 2012 Music Industry Report". Business Wire. 4 January 2013. สืบค้นเมื่อ 10 May 2014.
- ↑ "Sunday Times Rich List 2013: Music Millionaires". 2013. สืบค้นเมื่อ 23 November 2013.
- ↑ Olsen, Eric (3 March 2004). "The 10 best rock bands ever: A purely subjective list of the groups that changed music forever". today.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ "100 Greatest Artists: 51) Pink Floyd". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-10. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ Barnes, Anthony (3 October 2004). "Q: Which is biggest band of all time? A: And readers say..." The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-16. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ For VH1's "100 Greatest Artists of All Time" see: Juzwiak, Rich (10 August 2010). "Who Will Come Out On Top Of VH1's 100 Greatest Artists Of All Time?". VH1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-01. สืบค้นเมื่อ 23 August 2012.
- ↑ Larkin, Colin (1998). All Time Top 1000 Albums: The World's Most Authoritative Guide to the Perfect Record Collection. Virgin. p. 281. ISBN 978-0-7535-0258-7.
- ↑ Povey 2008, p. 348 : Grammy award for The Wall; For the 1982 BAFTA awards see: "BAFTA: Awards Database". BAFTA. 1982. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ "And the Winners Are ..." The New York Times. 2 March 1995. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ Nordstrom, Louise (21 May 2008). "Pink Floyd wins Polar Music Prize". USA Today. สืบค้นเมื่อ 7 October 2010.
- ↑ Povey 2008, p. 286 : Rock and Roll Hall of Fame induction; Povey 2008, p. 287 : The UK Hall of Fame induction; For the Hit Parade Hall of Fame induction see: "Pink Floyd – 2010 Inductee". Hit Parade Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2012. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ For Bowie naming Barrett an inspiration see: Bychawski, Adam (11 July 2006). "David Bowie pays tribute to Syd Barrett". NME. สืบค้นเมื่อ 13 October 2009.; For Edge buying his first delay pedal see: McCormick, Neil (editor) (2006). U2 by U2. HarperCollins. p. 102. ISBN 978-0-00-719668-5.
{cite book}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Kitts & Tolinski 2002, p. 126
- ↑ For Queen citing Pink Floyd as an influence see: Sutcillfe, Phil (2009). Queen: The Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock. Voyageur Press. p. 17. ISBN 978-0-7603-3719-6.; For Kraftwerk see: Queenan, Joe (22 February 2008). "Vorsprung durch Techno". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 31 August 2012.; For Marillion see: Thore, Kim (27 August 2009). "Steve Rothery Interview". All Access Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.; For Tool see: The 50 Greatest Bands. Spin. February 2002. p. 78. สืบค้นเมื่อ 31 August 2012.; Manning 2006, p. 288
- ↑ "Pop/Rock » Art-Rock/Experimental » Neo-Prog". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 28 July 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์ทางการ
- Pink Floyd's UK site เก็บถาวร 2009-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Pink Floyd's U.S. site
- อื่น ๆ
- Roger Waters official site
- David Gilmour official site
- Brain Damage - Pink Floyd News Resource.
- Another Link on the Wall - A large collection of fan sites, news resources and other external links, updated regularly.