พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยาเมงูโระ
目黒寄生虫館 | |
![]() ตัวอย่างปรสิตที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2496 |
---|---|
ที่ตั้ง | เขตเมงูโระ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 35°37′54″N 139°42′24″E / 35.631667°N 139.706667°E |
ประเภท | พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ |
ขนาดผลงาน | 60,000 ตัวอย่าง, จัดแสดง 300 ตัวอย่าง |
จำนวนผู้เยี่ยมชม | 57300[1] |
ผู้ก่อตั้ง | ศาสตราจารย์ซาโตรุ คาเมไง |
ผู้อำนวยการ | ศาสตราจารย์โทชิอากิ คูราโมจิ |
ขนส่งมวลชน | สถานีเมงูโระ |
เว็บไซต์ | www |
พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยาเมงูโระ (ญี่ปุ่น: 目黒寄生虫館; โรมาจิ: Meguro kiseichūkan) เป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ขนาดเล็กในเขตเมงูโระ ใจกลางกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พิพิธภัณฑ์สร้างเพื่ออุทิศให้กับปรสิตและวิทยาศาสตร์สาขาปรสิตวิทยา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2496 โดยศาสตราจารย์ซาโตรุ คาเมไง[2]
ประวัติ
พิพิธภัณฑ์สร้างขึ้นใหม่ในตำแหน่งปัจจุบันในปี พ.ศ. 2536 ศาสตราจารย์คาเมไงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2545 ศาสตราจารย์อากิฮิโตะ อูจิดะจึงเข้ามาบริหารพิพิธภัณฑ์โดยเพิ่มร้านขายของที่ระลึกเพื่อช่วยดำเนินกองทุน[3]
พิพิธภัณฑ์

พื้นที่นิทรรศการสองชั้นแสดงภาพรวมของการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของปรสิตในธรรมชาติและวงชีพของปรสิตเหล่านั้น พื้นที่นิทรรศการชั้นสองเน้นเรื่องปรสิตในมนุษย์และผลกระทบจากปรสิต (ได้แก่ หนอนตัวกลม, หนอนตัวแบน และพยาธิตัวตืด) จัดแสดงตัวอย่างปรสิตที่เก็บรักษาไว้ 300 ตัวอย่าง รวมถึงพยาธิตืดปลาญี่ปุ่น (Diphyllobothrium nihonkaiense) ความยาว 8.8 เมตร (29 ฟุต)[4] ห้องสมุดวิจัยมีตัวอย่างปรสิต 60,000 ตัวอย่าง เอกสาร 50,000 แผ่น และหนังสือเกี่ยวกับปรสิตวิทยา 5,000 เล่ม[5]
พิพิธภัณฑ์มีร้านขายของที่ระลึกที่ชั้นสองซึ่งผู้เยี่ยมชมสามารถซื้อหนังสือนำเที่ยวพิพิธภัณฑ์, ไปรษณียบัตร, เสื้อยืด หรือที่ห้อยมือถือที่มีปรสิตตัวจริงฝังอยู่ในอะคริลิก (Nybelinia surmenicola หรือ Oncomelania nosophora)[6] พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมฟรีและต้องอาศัยการบริจาคเนื่องจากเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่ไม่ได้รับทุนจากรัฐบาล[7]
อ้างอิง
- ↑ 公益財団法人 目 黒 寄 生 虫 館 (2017). "平 成 29 年 度 事 業 報 告 書" (PDF). kiseichu.org/disclosure (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
- ↑ Uranaka, Taiga (11 March 2001). "Strange world of parasites on display" (ภาษาอังกฤษ). The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
- ↑ Belson, Ken (1 September 2002). "For Youth in Japan, Love Is a Many Segmented Thing". The New York Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
- ↑ Phro, Preston (1 March 2014). "From protozoa to tapeworms: Visiting the Meguro Parasitological Museum". SoraNews24 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
- ↑ "Meguro Parasitological Museum". japanvisitor.com (ภาษาอังกฤษ). 2018. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
- ↑ Irving, India (26 September 2018). "Tokyo's Museum of Parasites Will Make Your Skin Crawl". Culture Trip (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
- ↑ Tomo (5 October 2015). "The only one in the world! Meguro Parasitological Museum is slowly taking over..." Japanize (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-14. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาอังกฤษ)