พุธิตา สุภจิรกุล

พุธิตา สุภจิรกุล
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเล่นเอิร์ธ
ประเทศ ไทย
เกิด29 มีนาคม พ.ศ. 2539 (28 ปี)[1]
พิษณุโลก ประเทศไทย
ส่วนสูง1.83 m (6 ft 0 in)
อำลาวงการ30 พฤษภาคม 2566
มือที่ถนัดขวา
หญิงคู่และคู่ผสม
อันดับโลกสูงสุด9 (หญิงคู่ 22 มิถุนายน 2017)
34 (คู่ผสม 27 พฤศจิกายน 2014)
รายการเหรียญรางวัล
แบดมินตันหญิง
ตัวแทนของ  ไทย
แบดมินตันชิงแชมป์โลก
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 โตเกียว 2022 หญิงคู่
ซูดีร์มันคัพ
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 หนานหนิง 2019 ทีมผสม
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 โกลด์โคสต์ 2017 ทีมผสม
ยูเบอร์คัพ
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กรุงเทพ 2018 ทีมหญิง
เอเชียนเกมส์
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 จาการ์ตา-ปาเล็มบัง 2018 ทีมหญิง
Asia Mixed Team Championships
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2017 Ho Chi Minh ทีมผสม
Asia Team Championships
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2016 Hyderabad ทีมหญิง
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ สิงค์โปร์ 2015 ทีมหญิง
เหรียญทอง - ชนะเลิศ กัวลาลัมเปอร์ 2017 ทีมหญิง
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กัวลาลัมเปอร์ 2017 หญิงคู่
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 เนปยีดอ 2013 หญิงคู่
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 เนปยีดอ 2013 คู่ผสม
Asian Youth Games
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2013 Nanjing คู่ผสม
World Junior Championships
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2013 Bangkok หญิงคู่
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2014 Alor Setar ทีมผสม
Asian Junior Championships
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 2013 Kota Kinabalu หญิงคู่

พุธิตา สุภจิรกุล (เกิด 29 มีนาคม พ.ศ. 2539) เป็นอดีตนักแบดมินตันหญิงชาวไทย เธอขึ้นสู่จุดสูงสุดในอาชีพด้วยการเป็นอันดับ 9 ของโลกในประเภทหญิงคู่ พุธิตาเคยคว้าเหรียญทองแดงจากการแข่งขันแบดมินตันประเภทหญิงคู่ในการแข่งขันเยาวชนชิงแชมป์เอเชียและเยาวชนชิงแชมป์โลก รวมถึงการแข่งขันแบดมินตันชิงแชมป์โลก เธอสร้างสถิติร่วมกับทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ในการเป็นนักแบดมินตันหญิงคู่ชาวไทยคู่แรกที่คว้าเหรียญในรายการชิงแชมป์โลก[2] เคยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ที่รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล และได้เหรียญทองจากการแข่งขันกีฬาแบดมินตันในซีเกมส์ 2015 และกีฬาแบดมินตันในซีเกมส์ 2017[3]

พุธิตาประกาศอำลาวงการเลิกเล่นทีมชาติผ่านบัญชีโซเชียลมีเดียของเธอเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566[4]

ชีวิตส่วนตัว

พุธิตาคบหาดูใจกับ บาส เดชาพล พัววรานุเคราะห์ นักแบดมินตันทีมชาติไทยในประเภทคู่ผสมเป็นเวลา 2 ปี กระทั่งวันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2567 เดชาพลที่เสร็จสิ้นภารกิจจากการรับใช้ชาติในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และเดินทางกลับถึงประเทศไทยได้ทำเซอร์ไพรส์คุกเข่าขอพุธิตาแต่งงาน[5]

ผลงาน

บีดับเบิลยูเอฟ ชิงแชมป์โลก

หญิงคู่

ปี สถานที่ คู่นักกีฬา คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2022 ศูนย์กีฬาในร่มโตเกียว, โตเกียว, ญี่ปุ่น ประเทศไทย ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ประเทศเกาหลีใต้ Kim So-yeong
ประเทศเกาหลีใต้ Kong Hee-yong
16–21, 21–19, 23–25 Bronze เหรียญทองแดง

บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ (1 แชมป์, 1 รองแชมป์)

บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ ซึ่งถูกประกาศเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2017 และเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2018[6] เป็นรายการแข่งขันแบดมินตันระดับชั้นนำ รับรองโดย สหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF) ทัวร์นาเมนต์ถูกแบ่งออกเป็นหลายระดับ ได้แก่ เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์, ซูเปอร์ 1000, ซูเปอร์ 750, ซูเปอร์ 500, ซูเปอร์ 300 (ส่วนหนึ่งของ HSBC World Tour) และ ซูเปอร์ 100 [7]

หญิงคู่

ปี รายการ ระดับ คู่นักกีฬา คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2019 ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส ซูเปอร์ 300 ประเทศไทย ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ประเทศจีน Li Wenmei
ประเทศจีน Zheng Yu
15–21, 21–15, 21–10 1 ชนะเลิศ

คู่ผสม

ปี รายการ ระดับ คู่นักกีฬา คู่ต่อสู้ คะแนน ผลการแข่งขัน
2018 ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส ซูเปอร์ 300 ประเทศไทย เดชาพล พัววรานุเคราะห์ ประเทศมาเลเซีย Chan Peng Soon
ประเทศมาเลเซีย Goh Liu Ying
15–21, 21–14, 16–21 2 รองชนะเลิศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "Puttita SUPAJIRAKUL". bwfbadminton.com. สืบค้นเมื่อ 29 April 2016.
  2. "ขนไก่หญิงคู่ "ทรัพย์สิรี-พุธิตา" สร้างประวัติศาสตร์ศึกชิงแชมป์โลก". MGR Online. 26 August 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2 June 2023.
  3. "BWF Launches New Events Structure". Badminton World Federation. 29 November 2017.
  4. "ไม่มีอีกแล้ว "เอิร์ธ" ประกาศเลิกเล่น "แบดมินตัน" ย้อนความหลังตลอด 10 ปีในการเป็นนักกีฬาทีมชาติ". Thai Rath. 30 May 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2023. สืบค้นเมื่อ 1 June 2023.
  5. "คู่รักคนกีฬา! "บาส เดชาพล" ขอ "เอิร์ธ พุธิตา" แต่งงานหลังจบโอลิมปิกเกมส์ 2024". sanook.com.
  6. Alleyne, Gayle (19 March 2017). "BWF Launches New Events Structure". Badminton World Federation (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 29 November 2017.
  7. Sukumar, Dev (10 January 2018). "Action-Packed Season Ahead!". Badminton World Federation (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2018. สืบค้นเมื่อ 15 January 2018.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๔ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๒๔, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

แหล่งข้อมูลอื่น